ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) เกิดขึ้นเมื่อมีระดับโซเดียมในเลือดต่ำเกินไป ซึ่งทำให้มีอาการได้แก่ ง่วงซึม สับสนและอ่อนล้าหมดแรง โดยภาวะนี้เกิดจากภาวะไตล้มเหลวหรือปัจจัยอื่นๆเช่นการดื่มน้ำมากเกินไปหรือใช้ยาบางชนิด
โซเดียมเป็นสารอิเล็กโทรไลต์เป็นสารที่มีทำหน้าที่สำคัญในน้ำและสารต่างๆในร่างกาย สำหรับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำหมายถึงระดับโซเดียมที่ต่ำกว่า 135 mEq/L
หากเกิดโรคอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- อาเจียน
- กล้ามเนื้อกระตุก
- ภาวะลมชัก
สำหรับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรงสามารถเกิดขึ้นเมื่อระดับโซเดียมในเลือดลดลงต่ำถึง 125 mEq/L หากร่างกายขาดโซเดียมอย่างรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้
โดยส่วนใหญ่ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเกิดขึ้นจากความผิดปกติสารอิเล็กโทรไลต์ แพทย์และนักวิจัยพบว่าโดยประมาณ 1.7 เปอร์เซนต์ของประชากรในสหรัฐอเมริกาและเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน
อาการโซเดียมในเลือดต่ำ
อาการของระดับโซเดียมต่ำที่ไม่รุนแรงอาจไม่มีอาการใดเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่มักมีอาการเหล่านี้
สำหรับอาการโซเดียมต่ำแบบรุนแรง ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวหรือมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก
ซึ่งภาวะโซเดียมต่ำอย่างรุนแรงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
สาเหตุเกิดจากอะไร
โรคและปัจจัยอื่นๆที่สามารถทำให้เกิดภาวะโซเดียมต่ำได้แก่
- ท้องเสียหรืออาเจียน
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- โรคไต
- โรคตับ
- การใช้ยา
- โรคที่เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน (ADH) มากผิดปกติ (SIADH)
สาเหตุอื่นๆได้แก่
- ดื่มน้ำมากเกินไป
- ยาที่ใช้เช่นการทานยาเพื่อความบันเทิงหรือสารเสพติดทำให้เกิดภาวะโซเดียมต่ำได้สูงและอาจทำให้เสียชีวิตได้โดยเฉพาะในผู้หญิง
- ความผิดปกติของฮอร์โมน ได้แก่โรคแอนดิสัน ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลและแอลโดสเตอโรนลดลง รวมถึงภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์เช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยง
การทานยาบางชนิดก่อให้เกิดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้มากขึ้น
ปัจจัยบางประการที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้แก่
- อายุ
- โรคบางประเภทเช่น โรค (SIADH) หรือโรคที่เกี่ยวกับตับ หัวใจ หรือไต
- การใช้ยาบางประเภทเช่นยาขับปัสสาวะ ยาต้านโรคซึมเศร้าหรือยาแก้ปวด
- การใช้สารเสพติดเช่นยาอี
- การดื่มน้ำมากเกินไป
- การออกกำลังกายอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้ต้องการดื่มน้ำมากเกินไปอย่างรวดเร็ว
การวินิจฉัยโรคและเมื่อใดควรไปพบแพทย์
ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำหรือมีสัญญาณของโรคดังกล่าวควรไปพบแพทย์ทันที เมื่อจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์
ผู้ที่มีอาการได้แก่อาเจียน ลมชักหรือหมดสติจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เกิดอาการดังกล่าวจำเป็นต้องโทรเรียกรถพยาบาลที่อยู่ใกล้โดยเร็วที่สุด
การวินิจฉัยภาวะโซเดียมต่ำ แพทย์จะต้องทราบประวัติการใช้ยาและโรคที่คนไข้เคยเป็นด้วยการตรวจร่างกายและการตรวจเลือด
ถ้าหากผมเลือดแสดงให้เห็นว่าเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ โดยปกติแพทย์ต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมเพื่อค้นหาสาเหตุ
การรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
วิธีการรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้แก่
ฟื้นฟูระดับโซเดียมในเลือด
สำหรับผู้ที่มีภาวะโซเดียมต่ำชนิดที่ไม่รุนแรงที่เกิดจากการใช้ชีวิตหรือการใช้ยาบางชนิดจำเป็นต้องเพิ่มระดับโซเดียมให้อยู่ในระดับปกติด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ดื่มน้ำให้น้อยลง (โดยปกติควรดื่มให้น้อยลง 1 แก้วต่อวัน)
- ควรปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้ยาหรือเปลี่ยนประเภทของยาที่ใช้เป็นประจำ
ผู้ป่วยที่มีอาการขาดแคลนโซเดียมในเลือดอย่างรุนแรงควรต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลและเติมน้ำเกลือ เพื่อทำให้ระดับโซเดียมในเลือดเป็นปกติ นอกจากนี้ยังต้องใช้ยาเพื่อรักษาภาวะลมชักหรืออาการอื่นๆที่เกิดจากภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเช่นกัน
การรักษาตามสาเหตุของความผผิดปกติ
สำหรับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของฮอร์โมน โดยปกติผู้ที่มีอาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
เช่น ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ ไตหรือมีปัญหาหัวใจอาจได้รับการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด ปัญหาเกี่ยวกับไตต้องได้รับการฟอกไตและผู้ที่ตับหรือหัวใจมีปัญหาต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายเป็นต้น
ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โดยปกติสามารถจัดการกับอาการและป้องกันการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้ โดยสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ด้วยการเปลี่ยนยาหรือปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต
โดยปกติผู้ที่เป็นโรค (SIADH) จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะโซเดียมในเลือดต่ำและผู้ที่เป็นโรคนี้ควรจำกัดการดื่มน้ำ เกลือแร่หรือการใช้ยา
การป้องกัน
เครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับการออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้หลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก
- ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับการออกกำลังกาย
- ไม่ควรใช้สารเสพติด
- ไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรค
- ปรึกษาเรื่องการใช้ยากับแพทย์
- หากมีอาการอาเจียนหรือท้องเสียอย่างรุนแรงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
บทสรุป
ผู้ที่มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำมีอาการเกิดขึ้นแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นและสาเหตุ
ภาวะโซเดียมต่ำเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีอาการรุนแรงกว่าในกรณีที่เกิดภาวะโซเดียมต่ำชนิดเรื้อรัง ทั้งนี้ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากภาวะโซเดียมในเลือดต่ำให้ดีขึ้น ควรมั่นสังเกตุอาการและไปพบแพทย์ทันที หากเคยมีอาการใดอาการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระดับโซเดียมในเลือด เนื่องจากผู้ที่มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำจำเป็นต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyponatremia/symptoms-causes/syc-20373711
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-hyponatremia#1
- https://www.healthline.com/health/hyponatremia
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4192979/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก