ปัญหาคันหู (Itchy Ears) เป็นอาการที่เป็นที่สร้างรำคาญใจ แต่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
การรักษาอาการคันหูขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ซึ่งอาจทำโดยการใช้ยาหยอดหู กินยาปฏิชีวนะ หรือฉีดยา
ในบทความนี้จะได้กล่าวถึง สาเหตุ การรักษา และการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน
สาเหตุของอาการคันหู
สาเหตุของอาการคันหูสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น :
หูติดเชื้อ
การคันหูบางครั้งอาจเนื่องมาจากการติดเชื้อ สัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าอาจจะเกิดการติดเชื้อ มีดังนี้
แบคทีเรียและไวรัสอาจจะทำให้เกิดอาการติดเชื้อในหู การเป็นไข้ ไข้หวัด การที่มีน้ำขังในรูหู หรือการสะสมของขี้หูล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อได้
การติดเชื้อในหูเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นอาการที่ควรต้องได้รับการรักษา
หูแห้ง
ปกติแล้วหูจะผลิตน้ำมันหรือขี้หูเพื่อทำให้หูสะอาดและมีสุขอนามัยที่ดี หากเราทำความสะอาดในรูหูมากเกินไป อาจจะทำให้รูหูขาดขี้หูและแห้ง เป็นสาเหตุที่ทำให้หูเกิดการระคายเคืองและเกิดอาการคันได้
บางคนอาจจะไม่ค่อยมีขึ้หู ซึ่งทำให้เกิดอาการหูแห้ง หากเกิดอาการหูแห้งจะสังเกตได้จากการมีขุย หรือสะเก็ดรอบๆ ใบหู
แพ้อาหาร
การแพ้อาหารเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการคันหู อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ มีดังนี้:
-
ถั่ว
-
นม
-
ปลาหรืออาหารทะเล
-
ข้าวสาลี
-
ถั่วเหลือง
บางคนอาจเกิดลมพิษ หรือมีอาการคันลามไปจนถึงบางส่วนของใบหน้า
บางคนอาจมีกลุ่มอาการภูมิแพ้ในช่องปาก ซึ่งเป็นอาการภูมิแพ้ประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับละอองเกสรดอกไม้ มักจะมีอาการคันรอบๆ ปาก แต่บางคนอาจจะมีอาการคันหูร่วมอยู่ด้วย
อาหารทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ในช่องปาก มีดังนี้:
-
ผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล เมลอน เชอรี่ กีวี่ และกล้วย
-
เมล็ดทานตะวัน
-
เมล็ดอัลมอลด์
-
เฮเซลนัท
ในผู้ที่เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หลังจากที่รับประทานหรือสัมผัสอาหารดังกล่าวข้างต้นนี้ ต้องได้รับการดูแลรักษาโดยทันที เพราะอาการเหล่านี้เป็นเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
ขึ้หูอุดตัน
ขึ้หูอุดตัน เป็นสาเหตุหนึ่งของการคันหูและยังมีผลต่อการได้ยินอีกด้วย
หูของเราจะผลิตขี้หูออกมาเพื่อทำให้หูมีความสะอาดตามธรรมชาติและป้องกันหูส่วนในจากการติดเชื้อ ปกติแล้วขี้หูจะหลุดออกมาเองโดยธรรมชาติ และเมื่อเวลาผ่านไปจะนำเศษเซลล์ที่ตายแล้วหรือเศษเล็กเศษน้อยออกมาด้วย
การสะสมของขี้หูเกิดขึ้นโดยการที่เราเอาก้านสำลีสอดเข้าไปในรูหู ซึ่งรูหูจะเป็นช่องโพรงเล็กๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน การที่เราเอาสำลีดันขึี้หูเข้าไปด้านในมากๆ จะทำให้เกิดขี้หูอุดตันได้
การมีขี้หูอุดตันจะทำให้มีการดักจับแบคทีเรียที่ผ่านเข้าไปในช่องหู และทำให้เกิดการติดเชื้อในหู
เครื่องช่วยฟัง
บางครั้งพลาสติกที่เคลือบอยู่กับเครื่องช่วยฟังก็เป็นสาเหตุของการคันหู บางคนอาจมีผิวที่บอบบางและไวต่อการเกิดอาการแพ้ เมื่อได้รับการระคายเคืองเพียงเล็กน้อย
บางคนจะเกิดอาการคันหูมากเนื่องจากมีน้ำขังอยู่ด้านหลังเครื่องช่วยฟัง
หากมีอาการคันเนื่องจากถูกกดจากเครื่องช่วยฟัง แพทย์สามารถช่วยได้โดยการปรับเครื่องช่วยฟังให้พอดีและเหมาะสม ซึ่งจะแก้อาการเหล่านั้นให้หายไปได้
หูชั้นนอกอักเสบ (Swimmer’s Ear)
หากมีน้ำขังในหู จะทำให้เกิดอาการหูอักเสบที่เรียกว่า “หูน้ำหนวกเฉียบพลัน” อาการนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หูนักกีฬาว่ายน้ำ” (swimmer’s ear) เนื่องจากส่วนมากจะเกิดขึ้นกับนักว่ายน้ำ น้ำที่ขังในรูหูจะทำให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการติดเชื้อ
หูชั้นนอกอักเสบ หรือ Swimmer’s ear จะทำให้มีอาการคันมาก คนที่เป็นโรคหูชั้นนอกอักเสบ จะมีอาการที่สังเกตได้ดังนี้:
-
ปวดในหู
-
ปวดที่คอ ใบหน้า และศีรษะ
-
อักเสบรอบๆ หูข้างที่มีอาการ
-
หูอื้อ
-
มีของเหลวไหลออกมาจากหู
-
ฟังไม่ชัด
จมูกอักเสบจากภูมิแพ้
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่รู้จักในชื่อทั่วไปว่า “ไข้ละอองฟาง” โดยทั่วไปจะเกิดจากปฏิกิริยาของการแพ้ละอองเล็กๆ ในอากาศ เช่น เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น หรือขนสัตว์
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะทำให้เกิดการคันที่หู ตา และคอ ร่วมกับอาการดังนี้:
เราอาจจะมีอาการคันเนื่องจากการคัดจมูก ซึ่งเกิดจากการเป็นหวัด ซึ่งอาการนี้จะหายไปเมื่อเราหายจากการเป็นหวัดแล้ว
การรักษาและการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน
การคันหูบางกรณีสามารถรักษาได้เองที่บ้าน
หากอาการคันหูเกิดจากรูหูแห้ง สามารถรักษาได้ด้วยการหยอดน้ำยาหยอดหูหรือ เบบี้ออยล์ซึ่งช่วยรักษาได้
การหยอดน้ำมันจะช่วยได้ในกรณีอาการคันหูเกิดจากการใช้เครื่องช่วยฟัง แต่ไม่ควรหยอดน้ำมันใส่เครื่องช่วยฟัง อย่างไรก็ตามเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการหยอดน้ำมันคือก่อนเข้านอน
ควรปรับหรือจัดหาเครื่องช่วยฟังที่พอดีและเหมาะกับหู เพื่อป้องกันการระคายเคือง หากมีอาการแพ้เครื่องช่วยฟังให้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะหาวิธีช่วยแก้ไขที่เหมาะสมได้
เราสามารถทำความสะอาดหูชั้นนอกได้ด้วยสำลี แต่ไม่ควรสอดอะไรเข้าไปในช่องหู หากมีชี้หูอุดตันเราสามารถหยอดเบบี้ออยล์ หรือหาซื้อยาหยอดหูตามร้านขายยาทั่วไปมาหยอดได้
หากวิธีข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจะใช้วิธีการฉีดสารละลายน้ำเกลือเข้าไปในรูหู เพื่อล้างขี้หูส่วนเกินออกมา ซึ่งเราก็สามารถทำตามวิธีนี้ด้วยตัวเองได้ที่บ้าน
สำหรับผู้ที่มีอาการคันหูจากหูชั้นนอกอักเสบ (swimmer’s ear) อาจจะบรรเทาอาการนี้ด้วยการหยอดสารละลายที่เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งประกอบด้วยน้ำส้มสายชูและเอทิลแอลกอฮอล์ อย่างละครึ่ง ซึ่งสารชนิดนี้จะช่วยทำให้น้ำส่วนเกินในหูแห้งลงได้
หากรักษาด้วยวิธีการข้างต้นไม่ได้ผล หรือมีอาการหูติดเชื้ออย่างอื่น แพทย์จะทำการสั่งยาหยอดหูหรือยาปฏิชีวนะให้ ซึ่งวิธีนี้จะสามารถช่วยได้
ผู้ที่มีอาการคันหูเนื่องจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาจต้องใช้ยาแก้แพ้เพื่อรักษาอาการ หากอาการคันเกิดจากการแพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้นั้น
หากการรักษาที่บ้านไม่สามารถช่วยแก้อาการคันหูได้ หรือหากผู้ป่วยมีอาการเจ็บ หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้นควรไปพบแพทย์ทันที
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/cold-and-flu/ear-infection/why-do-my-ears-itch
-
https://health.clevelandclinic.org/the-sticky-truth-about-itchy-ears-you-may-be-causing-the-problem/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก