เบื่ออาหาร (Loss appetite) คือมีอาการความอยากอาหารลดลงและสนใจในการทานอาหารน้อยลงหรือรู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย
ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารอาจเคยมีอาการอ่อนล้าหมดแรงและน้ำหนักลดลงเนื่องจากพวกเขาไม่สามารถทานอาหารให้เพียงพอต่อร่างกายได้
ในบทความนี้เราจะพูดคุยเกี่ยวกับสาเหตุของอาการเบื่ออาหาร ความหมาย ภาวะแทรกซ้อนและวิธีการรักษาอาการดังกล่าว
สาเหตุและอาการของการเบื่ออาหาร
อาการเบื่ออาหารเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับร่างกายและจิตใจ โดยปกติมักเกิดขึ้นชั่วคราวจากปัจจัยต่างๆได้แก่การติดเชื้อหรือปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารซ้ำได้อีกครั้งหลังจากรักษาหายเเล้ว
ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการเบื่ออาหารเป็นระยะเวลายาวนานซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากโรคร้ายที่เกิดขึ้นมานานจนกระทั่งถึงระยะสุดท้ายอย่างเช่นโรคมะเร็ง ซึ่งหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นแพทย์เรียกว่าภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก
คำศัพท์ทางการเเพทย์ที่ใช้เรียกภาวะเบื่ออาหารเป็นเวลานานมากขึ้นเรื่อยๆว่าโรคคลั่งผอม (anorexia) อาการของโรคนี้แตกต่างจากพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติที่เรียกว่าโรคกลัวอ้วน (anorexia nervosa) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต อาการกินข้าวไม่ลง หรือเมื่อกินแล้วต้องล้วงคอออกมาให้อาเจียน
ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร
สาเหตุทั่วไป
การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียทั่วไปเช่นโรคไข้หวัดหรือโรคกระเพาะอาหารเเละลำไส้อักเสบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร โดยปกติผู้ป่วยสามารถกลับมาทานอาหารได้ตามปกติเมื่อพวกเขาเริ่มหายป่วย
สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหารในระยะสั้นได้แก่
- ไข้หวัด
- การติดเชื้อในทางเดินหายใจ
- การติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือไวรัส
- อาการท้องผูก
- อาการปวดท้อง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
- กรดไหลย้อน
- อาหารเป็นพิษ
- อาการแพ้
- อาการภูมิแพ้อาหารแบบแฝง
- อาการท้องเสียหรือตืดเชื้อในทางเดินอาหาร
- ตั้งครรภ์
- ฮอร์โมนไม่สมดุล
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- การดื่มแอลกอฮอลหรือการใช้ยา
ผู้ที่มีอาการเจ็บปวดในปากอาจมีอาการเบื่ออาหารได้เช่นกันเนื่องจากการทานอาหารลำบาก
โรคประจำตัว
โรคประจำตัวที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารเนื่องจากมีสาเหตุหลายอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค โดยภาวะเบื่ออาหารอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง รู้สึกไม่สบายและมีอาการปวดท้องเป็นต้น
โรคประจำตัวที่สามารถทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหารได้แก่
- โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเช่นโรคลำไส้แปรปรวนและโรคโครห์น
- ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเช่นโรคแอดดิสัน
- โรคหอบหืด
- โรคเบาหวาน
- โรคตับเเละไตเรื้อรัง
- ระดับแคลเซียมในเลือดสูง
- ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
- ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
- โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- มะเร็งกระเพาะอาหารหรือลำไส้
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
ภาวะเบื่ออาหารเป็นผลข้างเคียงปกติที่เกิดขึ้นจากการใช้ยามากเกิดไปซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารร่วมด้วยเช่นอาการท้องผูกหรือท้องเสีย เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเมื่อยาเข้าไปในกระเพาะอาหารหรือระบบย่อยอาหาร
การใช้ยาหรือการรักษาบางวิธีสามารถทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหารได้แก่
- ยาระงับประสาท
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด
- การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน
- การรักษาด้วยเคมีบำบัด
- การฉายเเสงบำบัดที่กระเพาะอาหารบางส่วน
ผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ อาจมีภาวะเบื่ออาหารหลังจากการผ่าตัดซึ่งอาการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาสลบ
การใช้ยาบางชนิดเช่นยาโคเคน กัญชา และยาแอมเฟตามีนสามารถทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหารได้
สุขภาพจิต
- อาการซึมเศร้า
- อาการวิตกกังวล
- ภาวะหวาดกลัว
- ความเครียด
- ความโศกเศร้า
- ภาวะการกินอาหารผิดปกติเช่นโรคอยากอาหารมากผิดปกติหรือโรคกลัวอ้วน
อายุ
นอกจากนี้ภาวะเบื่ออาหารสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ เนื่องจากการใช้ยาปริมาณมากและร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของระบบของร่างกายดังต่อไปนี้
- ระบบย่อยอาหาร
- ฮอร์โมน
- ความสามารถในการรับรู้รสเเละกลิ่น
โรคมะเร็งบางชนิด
ภาวะเบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดลงอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งบางชนิดเช่นโรคมะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่หรือโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
:โดยผู้ป่วยอาจมีภาวะเบื่ออาหารร่วมกับอาการดังต่อไปนี้
- อาการปวดท้อง
- อาการจุกเสียดเเน่นท้อง
- รู้สึกอิ่มเร็ว ไม่อยากอาหาร
- ผิวและตาเหลือง
- มีเลือดในอุจจาระ
ถ้าหากผู้ใดมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคจากอาการที่เกิดขึ้น
การรักษาโรคเบื่ออาหาร
แพทย์อาจให้ยาบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มความอยากอาหารและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเช่นอาการคลื่นไส้และอาเจียนเป็นต้น
ถ้าหากอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการซึ่งยาต้านเศร้าบางชนิดสามารช่วยได้
ถ้าหากแพทย์พบว่าการใช้ยาบางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร พวกเขาสามารถเปลี่ยนชนิดของยาหรือขนาดยาที่ใช้ได้
การรักษาที่บ้าน
หลายคนอาจหาวิธีที่ง่ายกว่าอย่างเช่นการทานอาหารปริมาณน้อยหลายมื้อต่อวันแทนการทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ
เป้าหมายของการทานอาหารคือการทานอาหารที่มีแคลลอรี่สูงและอุดมไปด้วยโปรตีนเพื่อทำให้มั่นใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถทานอาหารเหลวเช่นสมูตตี้และเครื่องดื่มโปรตีนที่ทานง่าย
รวมไปถึงการเพิ่มรสชาติของสมุนไพร ความเผ็ดหรือรสชาติอื่นๆในมื้ออาหารสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น การทานอาหารอย่างผ่อนคลายหรือการเข้าสังคมยังทำให้สามารถทานอาหารและมีความสนุกสนานมากขึ้น
นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหารจำเป็นต้องดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การออกกำลังกายเบาๆอย่างเช่นการเดินในระยะสั้นสามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้เช่นกัน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/fatigue-and-loss-of-appetite
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/324011
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/ss/slideshow-reasons-not-hungry
- https://www.buoyhealth.com/learn/loss-of-appetite/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก