แมกนีเซียม (Magnesium) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

แมกนีเซียม (Magnesium) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

01.09
1244
0

Magnesium คืออะไร

Magnesium (แมกนีเซียม) มีสัญลักษณ์ Mg เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่มากในร่างกายรองมาจากจากโปแตสเซียม โดยมีประมาณ 25 กรัม กระจายอยู่ระหว่างกระดูก เลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆ  แมกนีเซียมมีความสำคัญต่อโครงสร้างกระดูกในร่างกาย การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การทำงานของเอนไซม์ในการเผาพลาญ รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสาร DNA, RNA, โปรตีน กระบวนการย่อยสลายของกลูโคส การสร้างและเก็บเซลล์พลังงาน และสามารถช่วยรักษาระดับของสารอิเล็กโตรไลท์ภายในเซลล์ หากร่างกายมีระดับของแมกนีเซียมต่ำเกินไป อาจทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดโรคกระดูกพรุน และโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคเบาหวาน โดยร่างกายสามารถรับแมกนีเซียมจากอาหารหรืออาหารเสริม

Manesium Sulfate คืออะไร

Manesium Sulfate (แมกนีเซียมซัลเฟต) เป็นสารประกอบเคมีของแมกนีเซียม มีสูตรเคมีคือ MgSO4 ได้มาจากการตกผลึกปนมากับดีเกลือไทยในการทำนาเกลือ มีคุณสมบัติเป็นยาถ่าย ยาขับน้ำดี และใช้แก้พิษตะกั่ว และใช้สำหรับแก้ไขดินที่ขาดธาตุแมกนีเซียมในการเกษตร เพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูกกุหลาบ มันฝรั่ง และมะเขือเทศ

ความสำคัญของ Magnesium

แมกนีเซียมช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยช่วยป้องกันระบบกล้ามเนื้อและระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างปกติ ป้องกันระบบประสาทบางส่วนไม่ให้ถูกทำลาย ป้องกันกระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว ช่วยในการสร้างเกราะป้องกันผิวที่ดี ช่วยทำให้ผ่อนคลายความเครียด ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ช่วยในการพัฒนาเซลล์ให้เปลี่ยนเป็นเซลล์ชั้นขี้ไคล ช่วยลดการหลั่งของฮีสตามีน ช่วยเผาผลาญไขมันให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน รักษาอาการซึมเศร้าทำให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล 

อาหารที่มี Magnesium

Magnesium มีมากในผักใบเขียว เช่น บล็อกโคลี่ ผักโขมฝรั่ง กล้วย พวกถั่วฟักต่างๆ ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี งา ข้าวบาร์เล่ย์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนต์ ข้าวโพด เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง ฝรั่ง แอปเปิ้ล อะโวคาโด มะเดื่อ เนื้อสัตว์  อาหารทะเลและปลาน้ำจืด โดยนมจะมีแมกนีเซียมค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอาหารข้างต้น

ประโยชน์ของ Magnesium

Magnesium ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหารและอื่นๆ บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยให้แคลเซียมซึมเข้าสู่กระดูกและป้องกันไม่ให้แคลเซียมซึมเข้าสู่เนื้อเยื่ออ่อนของเซลล์กล้ามเนื้อมากเกินความจำเป็น และยังช่วยในการทำงานของระบบประสาททำให้จิตใจสงบ ไม่เครียด มีความสมดุลของระบบประสาท และสามารถใช้แมกนีเซียมทาผิว เพื่อช่วยเพิ่มพลังและความอึดในนักกีฬา แผลน้ำร้อนลวกและฝีฝักบัว ใช้ประคบเย็นเพื่อรักษาแผลติดเชื้อที่ผิวหนังขั้นรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียอักเสบ หรือโรคไฟลามทุ่ง ใช้ประคบร้อนเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ฝังลึกในผิวหนัง

Magnesium

ประโยชน์ของอาหารเสริม Magnesium 

นอกจากอาหารเสริม Magnesium จะช่วยป้องกันการขาดแมกนีเซียมแล้วยังสามารถใช้เป็นยาระบายแก้อาการท้องผูก หรือเตรียมลำไส้ให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด ใช้เป็นยาลดกรด แล้วยังช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆ อีกมากมาย เช่น บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมาธิสั้น ความกังวลใจ อาการอ่อนล้าเรื้อรัง โรคพิษสุราเรื้อรัง ฟื้นฟูจากการผ่าตัด โรคเบาหวาน

ปวดศีรษะ ไมเกรน กระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายขาด Magnesium

การขาด Magnesium นั้นจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นตะคริว ความทรงจำแย่ลง ความจำเสื่อม จะพบได้มากในผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ โรคตับแข็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไตพิการ ผู้ที่มีอาการพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีครรภ์เป็นพิษ แม้กระทั่งผู้ที่มีการดูดซึมของร่างกายที่ผิดปกติ หรือทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงมากเกินไป ซึ่งปกติการขาด Magnesium นั้นมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลลกอฮอล์เป็นประจำ การขาดสารอาหาร การทานยาบางชนิดเป็นประจำ หรืออาจเป็นเพราะพันธุกรรมก็ได้ และข้อควรระวังคือหากร่างกายเกิดภาวะไตชำรุดก็จะทำให้เกิดการเป็นพิษของแมกนีเซียมได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับแมกนีเซียมออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม และการขาดแมกนีเซียมจะทำให้ผิวแพ้ง่าย เพราะทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่ไม่ดี การสร้างเกราะป้องกันผิวก็ไม่มีประสิทธิภาพ

คำแนะนำในการรับประทาน Magnesium

ในการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมให้เพียงพอต่อร่างกายควรรับประทานวันละ 300 – 800 มิลลิกรัม และการรับประทานแมกนีเซียมในรูปแบบอาหารเสริม ควรรับประทานวันละ 4 เวลา และไม่ควรรับประทานหลังอาหารทันที เพราะจะไปลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารแนะนำให้ทานแมกนีเซียมและแคลเซียมในปริมาณที่เท่ากันได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด แต่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้หากรับประทานแมกนีเซียมในปริมาณมากและเป็นระยะเวลายาวนาน หากไตทำงานได้ไม่ดีไม่ควรรับประทานในปริมาณสูง โดยผู้ใหญ่ให้รับประทานวันละ 350 – 500 มิลลิกรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตรควรรับประทานวันละ 450 – 600 มิลลิกรัม และเหมาะแก่ผู้ที่ออกกำลังอย่างหนักหรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำและสำหรับผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเอสโทรเจนอย่างมาก

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *