ลดความเสี่ยงโรคขี้ลืม/สมองเสื่อม (Reducing Risk of Dementia)

ลดความเสี่ยงโรคขี้ลืม/สมองเสื่อม (Reducing Risk of Dementia)

18.08
476
0

อาการขี้ลืม หรือภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ยังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ แต่สิ่งที่คุณเลือกทำในวัยกลางคนสามารถช่วยให้สมองของคุณแข็งแรง เมื่ออายุมากขึ้น การวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตแบบ “สมองดี” มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมลดลงเมื่อเข้าสู่วัยชรา

การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี สมองเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเข้าสู่วัยกลางคน เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพของสมองตามคำแนะนำสถาบัน Dementia Australia บอกว่า การดูแลสมอง ร่างกาย และหัวใจของคุณ สามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

การเปลี่ยนแปลงในสมองที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม อาจจะค่อยๆ เริ่มต้น และพัฒนาภายในเวลาสิบปี ซึ่งหมายความว่า การดูแลสมองตลอดชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เคยสายเกินไป – หรือเร็วเกินไป – ที่จะใช้ชีวิตที่มีสุขภาพสมองที่ดี เนื่องจากเราสามารถดูแล และฟื้นฟูร่างกายได้ในทุกช่วงวัย

ความเสี่ยงของโรคขี้ลืม หรือภาวะสมองเสื่อม

ปัจจัยเสี่ยงบางประการที่สามารถพัฒนาภาวะสมองเสื่อม เช่น การมีอายุมากขึ้น และยีนที่สืบทอดมาของคุณ ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ สิ่งที่สามารถควบคุมได้ นั่นก็คือพฤติกรรมนั่นเอง

การทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงในการพัฒนาภาวะสมองเสื่อมสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจเกี่ยวกับการรับมือ และลดความเสี่ยงของการมีภาวะสมองเสื่อม

ปัจจัยเสี่ยงต่อการขี้ลืม หรือภาวะสมองเสื่อมที่ควบคุมไม่ได้

ความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมที่ควบคุมไม่ได้ได้แก่

  • อายุ – การเกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นตามอายุ โดยพบมากตั้งแต่ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป
  • พันธุกรรม – ภาวะสมองเสื่อม สามารถเกิดได้จากการถ่ายทอดได้จากพันธุกรรม

ปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมที่สามารถควบคุมได้

ความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมที่ควบคุมได้ ได้แก่

  • กิจกรรมทางจิต – ท้าทายสมองของคุณเป็นประจำด้วยกิจกรรมด้านสมอง การประกอบอาชีพ หรือการพักผ่อนที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะไม่ทำให้ขี้ลืม เช่น ทักษะความจำ และการคิด เป็นต้น
  • กิจกรรมทางสังคม – การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และการเชื่อมต่อกับชุมชน ครอบครัว และเพื่อนๆ สามารถทำให้ความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมลดลง

ปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมที่ควบคุมได้ทางร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงทางร่างกายได้แก่

  • แอลกอฮอล์ – การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำลายสมอง และนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น
  • อาหาร – มีงานวิจัยที่พบว่า อาหารเพื่อสุขภาพสามารถส่งเสริมสุขภาพสมองได้
  • การออกกำลังกาย – การออกกำลังกายเป็นประจำนั้นสัมพันธ์กับการทำงานของสมองที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการลดความรู้ความเข้าใจ และภาวะสมองเสื่อม

ปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมที่ควบคุมได้ เกี่ยวกับหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับหัวใจ

  • ความดันโลหิต – ความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดภาวะสมองเสื่อม การรักษาที่มีประสิทธิภาพสามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้
  • น้ำหนักตัว – คนวัยกลางคนที่เป็นโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะสมองเสื่อม
  • คอเลสเตอรอล –หากมีคอเลสเตอรอลสูงมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาภาวะสมองเสื่อม
  • โรคเบาหวาน – โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในวัยกลางคน และหลังจากนั้น มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาภาวะสมองเสื่อม
  • การสูบบุหรี่ – การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะสมองเสื่อม โดยมีการศึกษาที่พบว่า การสูบบุหรี่ในอดีต (แม้ว่าจะเลิกแล้ว) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน

Reducing Risk of Dementia

เคล็ดลับการใช้ชีวิตอย่างสมองสุขภาพดี

พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีสามารถลดความเสี่ยงของการพัฒนาภาวะสมองเสื่อมได้

ทำกิจกรรมลับสมอง

การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคิด และการเรียนรู้ สามารถปรับปรุงสุขภาพสมอง และช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้มีงานวิจัยที่พบว่า การทำกิจกรรมลับสมองมีประโยชน์กับสมองมากขึ้น โดยกิจกรรมทางจิตที่ซับซ้อน และท้าทายมากขึ้นทำให้ความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมลดลง

เชื่อมโยงกับชุมชน

การมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และสนุกสนานกับเพื่อน ครอบครัว และคนอื่นๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • การเต้น – สนุกกับผู้อื่น ออกกำลังกาย และใช้สมอง ไปพร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวใหม่ๆ
  • การเดินทาง – สนุกสนานกับผู้อื่น ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย
  • ร่วมเป็นอาสาสมัครกับกลุ่มท้องถิ่นหรือองค์กรการกุศลที่ชื่นชอบ
  • เดินเล่นกับเพื่อนหรือครอบครัว
  • เข้าร่วมชมรมที่ชอบ เช่น ชมรมหนังสือ หรือชมรมไทเก๊ก
  • พบปะเพื่อนฝูง และพูดคุยกับเพื่อนบ้านของคุณ

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป สามารถทำลายสมอง และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปในระยะยาวทำให้สมองถูกทำลาย และเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมในที่สุด

รับประทานอาหารที่ดีต่อสมอง

การวิจัยพบว่า อาหารที่ดีต่อร่างกาย หัวใจ และสมอง สามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้ โดยโภชนาการที่แนะนำได้แก่

  • รับประทานอาหารที่หลากหลาย รวมทั้งผัก และผลไม้ เพื่อให้ได้รับอาหารครบ 5 หมู่
  • ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว ด้วยการเลือกรับประทานปลา เนื้อแดงไม่ติดมัน ไก่ไม่มีหนัง และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ ควบคุมการบริโภคเนย อาหารทอด ขนมอบ เค้ก และบิสกิต
  • เลือกรับประทานไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก คาโนลา น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันดอกคำฝอย
  • เลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 ไว้ในอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา และเมล็ดแฟลกซ์ และปลา

ทำร่างกายให้กระตือรือร้นเสมอ

ผู้ที่กระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดลดลง โดยเงื่อนไขเหล่านี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงลดลงของสภาวะสมองเสื่อม

มีงานวิจัยที่พบว่า การออกกำลังกาย แม้ว่าจะเล็กน้อย ก็ดีต่อสุขภาพสมอ งและป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ โดยควรเพิ่มการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน

ดูแลหัวใจให้แข็งแรง

มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง เบาหวาน หรือเป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากขึ้น การไม่รักษาสภาพเหล่านี้อาจนำไปสู่ความเสียหายของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งจะทำลายเซลล์สมองและทำให้การทำงานของการคิดบกพร่อง

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า การรักษาหัวใจให้แข็งแรงจะป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ แต่นี่ก็เป็นโอกาสดีที่สุดในการหลีกเลี่ยง หรือชะลอภาวะสมองเสื่อม

ป้องกันสมองจากการได้รับบาดเจ็บ

การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยเฉพาะการบาดเจ็บรุนแรง (การบาดเจ็บที่ทำให้หมดสติเป็นเวลานาน) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ ควรหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้วยการใช้ชีวิตในการปลอดภัย เช่น การข้ามถนนด้วยความระมัดระวัง การคาดเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ และใช้อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ เมื่อขี่จักรยานหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เป็นต้น

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *