โรคเซ็บเดิร็ม(Seborrheic dermatitis) คือ โรคผิวหนังที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยมีลักษณะเป็นผื่นคันที่มีเกล็ด และเป็นขุย ทำให้เกิดรอยแดงบนผิวหนัง
โดยโรคนี้มีลักษณะคล้ายกับโรคสะเก็ดเงิน โรคกลากหรืออาการแพ้ที่ผิวหนัง ส่วนมากพบบริเวณหนังศีรษะ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในร่างกาย
อาการของผิวหนังอักเสบ หรือเซ็บเดิร์ม
ทารกอายุ 3 เดือนขึ้นไป เราจะพบเกล็ดสีเหลือง หรือสีน้ำตาลบนหนังศีรษะ และเกล็ดเหล่านี้จะหายไปก่อนที่ทารกจะเติบโตจนอายุ 1 ปี แต่ อาการนี้ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้งในช่วงวัยรุ่น
เซ็บเดริ์มมักพบที่หนังศีรษะ ใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณจมูก คิ้วลอกเป็นขุย เปลือกตา หรือหลังหู แต่ก็สามารถพบในส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น
-
ตรงกลางหน้าอก
-
รอบๆ สะดือ
-
บั้นท้าย
-
ข้อใต้แขนและขา
-
ขาหนีบ
-
หน้าอก
ผิวหนังที่ได้รับผลกระทบจะมีอาการไหม้ และคัน เกล็ดที่หลุดออกอาจเป็นสีขาว หรือเหลืองซึ่งจะมีลักษณะชุ่มชื้น
อาการขอต่อมไขมันอักเสบนั้นใกล้เคียงกับโรคผิวหนังอื่นๆ ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
สาเหตุขอโรคต่อมไขมันอักเสบ
สาเหตุของต่อมไขมันอักเสบมีหลายประการ และส่วนมากจะเกิดจากหลายๆ สาเหตุร่วมกัน
- ความเครียด
- พันธุกรรม
- ยีสต์ที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง
- ยารักษา หรือการรักษาบางอย่าง
- ผิวแห้ง
- การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย
แต่ไม่ได้เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งสกปรก
การรักษาเซ็บเดริ์ม
เซ็บเดิร์มหนังศีรษะสามารถหายเองได้ แต่หากได้รับการรักษาที่ไม่ดีนัก จะทำให้กลายเป็นปัญหาไปตลอดชีวิต และอาจจะลุกลามได้
บางกรณีสามารถรักษาให้หายได้ เช่น หากเกิดปัญหาที่หนังศีรษะสามารถใช้แชมพูสูตรยาขจัดรังแค เพื่อบรรเทาและรักษาอาการ หากไม่สามารถรักษาได้ หรือเป็นต่อมไขมันอักเสบบริเวณอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
โรคต่อมไขมันอักเสบเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจึงเป็นการควรคุมโรคไม่ให้มีอาการสาหัสมากกว่าที่เป็นอยู่ สำหรับผู้ที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณหนังศีรษะ แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของซิงค์ไพริธีโอน (zinc pyrithione), เซเลเนี่ยม ซัลไฟท์ (selenium sulfide), อิมิดาโซล (imidazoles), แชมพูคีโตโคนาโซล (ketoconazole) รวมถึงครีม โลชั่น หรือโฟมที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิค (salicylic acid) และ coal tar
ในกรณีที่มีผื่นหนาบริเวณหนังศีรษะแนะนำให้หมักผมด้วย Baby Oil แล้วสวมหมวกคลุมทิ้งไว้ข้ามคืน เมื่อสระผมในตอนเช้าจะช่วยให้สะเก็ดหลุดออกได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณใบหน้าให้ใช้แชมพู 2% ketoconazole ล้างหน้าแทนการใช้สบู่ในช่วงที่โรคกำเริบ และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของของแอลกอฮอลล์เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ เช่น ครีมโกนหนวด, ครีมหลังโกนหนวด (After shave) โทนเนอร์ (Toner) เป็นต้น
เมื่อเกิดผื่นแดง ขุย ตกสะเก็ด ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อรา 2% ketoconazole ทาเช้าเย็นบริเวณรอยโรค ประมาณ 4 สัปดาห์จนกว่าอาการจะดีขึ้น อาจเพิ่มการทาสเตียรอยด์ แต่แนะนำให้ใช้สเตียรอยด์ในช่วงสั้นๆ เท่านั้นเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยเลือกที่เป็นชนิด 1% Hydrocortisone ทาบางๆ บริเวณที่เป็นรอยโรค นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาด้วยการฉายแสงแดด Narrow band ultraviolet B โดยฉายแสงแดดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จนกว่ารอยโรคจะหมด
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/seborrheic-dermatitis-medref
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352710
-
https://www.healthline.com/health/skin/seborrheic-dermatitis
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก