แมงมุมกัด (Spider Bites) ไม่ได้เกิดขึ้นได้ทั่วไป นอกจากจะทำให้ปวดแล้วบางครั้งยังเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม แมงมุมบางสายพันธุ์เท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
แมงมุมจะกัดเหยื่อเพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้น เช่น ตอนที่มันติดอยู่ในภาชนะใดภาชนะหนึ่งหรือเมื่อมันกำลังตกอยู่ในอันตราย เช่น เวลาที่เราเอามือล้วงลงไปในกล่องที่มีแมงมุงอยู่หรือตอนเราสวมแจ็คเก็ตแล้วมีแมงมุมซ่อนตัวอยู่ข้างใน เป็นต้น
แมงมุมหลายชนิดฆ่าเหยื่อด้วยพิษของมันเอง ดังนั้น แมงมุมจึงเป็นสัตว์มีพิษ
อย่างไรก็ตาม แมงมุมเกือบทุกชนิดมีพิษน้อยเกินไปที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ นอกจากนี้ เขี้ยวของแมงมุมหลายชนิดยังไม่สามารถเจาะเข้าไปในผิวหนังมนุษย์ได้ เลยอาจจะไม่เห็นรอยแมงมุมกัด หากมีแมงมุมกัดก็มักจะไม่เป็นอันตรายต่อคนที่ถูกกัด และเป็นอันตรายน้อยกว่าการถูกแมลงกัดต่อยทั่วไปด้วยซ้ำ
แมงมุมมีพิษที่มีฤทธิ์แรงพอที่จะทำอันตรายต่อเหยื่อของมันได้ มีเพียงไม่กี่สายพันธ์ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) เผยข้อมูลว่า มีแมงมุม 2 สายพันธุ์ที่เป็นพิษ ซึ่งได้แก่แมงมุมแม่ม่ายดําและแมงมุมสันโดษสีน้ำตาล
แพทย์ทราบได้อย่างไรว่าเป็นแมงมุมกัด
การวินิจฉัยแมงมุมกัดมักเป็นเรื่องยาก เพราะการที่แมงมุมกัดไม่ได้ทำให้เกิดร่องรอยใด ๆ ชัดเจนที่ทำให้รู้ได้ชัดว่าเป็นรอยแมงมุนกัด ซึ่งรอยแมงมุมกัดก็คล้ายกับแมลงกัดอื่น ๆ ทั่วไป จากการศึกษาในปี 2011 ในตัวแมงมุมเองก็มีเชื้อแบคทีเรียบางอย่างอยู่และหากโดนกัดก็จะทำให้เกิดการติดเชื้ออื่น ๆ ได้อีกด้วย
และด้วยเหตุนี้ แมงมุมกัดจึงวินิจฉัยยาก เว้นเสียแต่ว่า ผู้ที่ถูกกัดจะเอาแมงมุมที่กัดไปให้แพทย์ดูด้วย
อาการทั่วไปของแมงมุมกัด ได้แก่:
- มีอาการบวมช้ำรอบกัด
- มีอาการคันหรือเกิดผื่น
- รู้สึกปวดแผ่ออกจากรอยกัด
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือตะคริว
- เกิดแผลพุพองที่ผิวหนังและเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง
- รู้สึกปวดหัว
- รู้สึกคลื่นไส้และอาเจียน
- มีไข้ หนาวสั่น และเหงื่อออก
- หายใจลําบาก
- ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
- รู้สึกวิตกกังวลหรือกระสับกระส่าย
ผู้ที่พบอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ รอยกัดของแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลอาจทำให้เกิดแผลและเนื้อเยื่อตายได้ แมงมุมชนิดนี้อาจกัดและทำให้ถึงตายได้ แต่ก็ไม่เกิดกรณีบ่อยนัก
หากเชื่อว่าถูกกัดโดยแมงมุมมีพิษ ให้พบแพทย์ทันที โดยเฉพาะหากมีอาการดังต่อไปนี้:
-
เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง
-
เกิดตะคริวในช่องท้อง
-
หายใจลำบาก
หากไม่แน่ใจว่าแมงมุมที่กัดนั้นอันตรายหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ทันที การวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้แพทย์รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและหายเร็วขึ้น หากเป็นไปได้ ให้จับแมงมุมหรือถ่ายรูปแมงมุมที่กัดมาพบแพทย์ด้วย
ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน
หากโดนแมงมุมพิษกัดแล้วเกิดอาการแพ้ คนที่โดนกัดอาจเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันได้
ทั้งนี้ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันจะมีอาการดังต่อไปนี้:
-
มีอาการคันบวมหรือบวมแดงอย่างรุนแรง
-
มีผื่นหรือเกิดลมพิษ
-
หายใจลําบากหรือไอหายใจมีเสียงดังฮืด ๆ
-
มีอาการปวดท้อง
-
เกิดอาการลิ้น ริมฝีปาก ตาหรือลําคอบวมเฉียบพลัน
-
มีอาการหมดสติ
หากมีอาการเหล่านี้ ให้พบแพทย์เพื่อรักษาทันที
สำหรับใครที่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ให้พกยาแก้แพ้ติดตัวเสมอ นอกจากนี้ คนที่อยู่ใกล้ตัวของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ก็ยังต้องช่วยเตรียมอุปกรณ์หรือสําหรับโรคภูมิแพ้พร้อมให้คนที่แพ้ได้พร้อมใช้ตลอดเวลา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแมงมุมมีพิษหรือเป็นอันตราย
แมงมุม 5 ชนิดที่อันตรายในไทย
- แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน
- แมงมุมมีพิษสีน้ำตาล
- แมงมุมแม่ม่ายดำ
- แมงมุมแม่ม่ายหลังแดง
- แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล
แมงมุมสันโดษสีน้ําตาลชอบซ่อนตัวอยู่ในมุมแห้งและมืด เช่น กองหิน กองไม้และตู้เสื้อผ้า โดยมีแหล่งกำเนิดในรัฐต่าง ๆ แถบภาคตะวันตกตอนกลางและภาคใต้ โดยมีลำตัวของแมงมุมชนิดนี้มีสีน้ำตาลและมีลายรูปไวโอลินบนหลัง
แมงมุมสันโดษสีน้ำตาลจะกัดเหงื่อเมื่อมันตกอยู่ในภาวะกดดัน เช่น มันกำลังติดอยู่ในภาชนะใด ๆ โดยที่เราเอาผิวไปใกล้มันด้วย
เมื่อถูกแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัด ผู้ที่ถูกกัดอาจ:
-
เมื่อโดนกัดครั้งแรกจะยังไม่รู้สึกเจ็บปวดทันที แต่จะเจ็บปวดมากขึ้นในอีก 2-8 ชั่วโมงหลังกัด
-
โดยอาจมีรอยเขี้ยวเล็ก ๆ สองรอยฝังตามผิวและมีอาการบวมรอบ ๆ รอยนั้น
-
นอกจากนี้ ยังเกิดเป็นวงสีแดงรอบ ๆ รอยกัดและภายในวงจะซีดขาว
-
ต่อมาจะเกิดแผลพุพองสีขาว แผลรอยกัดหรือแผลช้ำได้ จากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมฟ้าและตรงกลางแผลจะแข็งและเป็นหลุม ผิวหนังบางพื้นที่อาจเกิดหนองได้
-
หลังจากนี้ แผลมักจะหายเอง แต่อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์
-
หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดเนื้อเยื่อตายขึ้น
อาการอื่น ๆ อาจเกิดร่วมด้วย ได้แก่ :
-
มีอาการปวดหัว
-
มีอาการคลื่นไส้
-
มีอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดเข้ากระดูก
-
รู้สึกไม่สบาย คลั่นเนื้อคลั่นตัว
เด็ก ๆ ที่ถูกแมงมุมกัดอาจมีปฏิกิริยารุนแรงมากขึ้นทั่วร่างกาย ได้แก่:
-
รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
-
มีไข้
-
ปวดข้อ
-
เกิดภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแตกซึ่งเซลล์เม็ดเลือดตายเร็วกว่าที่ร่างกายผลิต
-
ระดับเกล็ดเลือดต่ำลง
-
อวัยวะล้มเหลว
-
เกิดลิ่มเลือดทั่วร่างกาย
-
มีอาการชัก
-
หากโดนแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัดอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษของแมงมุมชนิดนี้ ยังไม่มียารักษาแมงมุมชนิดนี้กัด แต่แผลที่เกิดจากการกัดจะต้องได้รับการรักษา ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึง:
-
ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
-
การผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออก
ปฏิกิริยาที่รุนแรงจากการโดนแมงมุมชนิดกัดจะยังไม่เกิดขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไร โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อจะน้อยลง ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีแมงมุมมีพิษหรืออันตรายควรระมัดระวังไม่ให้ถูกกัด
นอกจากนี้ ข้อควรระวังยังรวมถึง:
-
รูดซิบเต็นท์ให้สนิทเมื่อกางเต้นท์ในป่าและสวมกางเกงเมื่อเดินป่าที่มีแมงมุม
-
สำรวจรองเท้าโดยคว่ำรองเท้าและเคาะลงกับพื้นเพื่อให้สิ่งที่อยู่ข้างในรองเท้าออกมาก่อน ก่อนสวมใส่
-
หากจะเปิดกล่องหรือภาชนะใดเพื่อนำมาใช้ให้สำรวจก่อนเสมอว่ามีแมงมุมหลบอยู่หรือไม่
-
ทำความสะอาดชั้นใต้ดินและพื้นสนามภายในบ้านไม่ให้รกรุงรัง
-
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อทําสวนหรือเก็บฟืนและท่อนไม้จากป่า
-
ศึกษาและทำความรู้จักกับแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลเพิ่มเติม
รอยอื่น ๆ ที่อาจดูเหมือนแมงมุมกัด แพทย์อาจวินิจฉัยแมงมุมกัดผิดได้ หากผู้ที่ถูกแมงมุมกัดไม่ทราบว่าเป็นแมงมุมชนิดใด บางครั้ง ภาวะของโรคบางอย่างอาจคล้ายกับแมงมุมกัด
อาการเหมือนแมงมุมกัดแต่ไม่ใช่แมงมุมกัด ได้แก่:
-
รอยกัดเกิดติดเชื้อจากแมลงอื่น ๆ เช่น เห็บ ไรและหมัด
-
เป็นโรคงูสวัด
-
ได้รับพิษจากเครือเถาวัลย์และไม้โอ๊คพิษ
-
เป็นโรคไลม์
-
การติดเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส ออเรียส ที่ดื้อยาเมธิซิลิน
สรุป
แมงมุมส่วนใหญ่จะไม่กัดคนและมีน้อยมากที่เป็นอันตราย แมงมุมบางชนิดชอบอยู่ในที่มืดหรือที่อับ เช่น รองเท้า หากเอามือล้วงหรือเอาเท้าแหย่เข้าไปในพื้นที่ที่มีแมงมุมอาศัยอยู่ แมงมุมบางชนิดก็จะกัดได้
คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลหรือแมงมุมแม่ม่ายดําต้องควรรู้จักแมงมุมเหล่านี้
นอกจากนี้ ควรตรวจดูสิ่งของต่าง ๆ เช่น กล่องและรองเท้าบู๊ตที่ปล่อยวางหรือทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ ว่ามีแมงมุมเข้าไปหลบอยู่หรือไม่ การป้องกันรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ สวมถุงมือตอนทําสวนหรือทํางานรอบกองไม้หรือหิน
หากกังวลเมื่อมีรอยกัดหรืออาการผิวหนังอื่น ๆ ควรพบแพทย์ให้ช่วยตรวจวินิจฉัย
นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก