ไข้หวัดหมู (Swine Flu) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไข้หวัดหมู (Swine Flu) : อาการ สาเหตุ การรักษา

23.03
1004
0

ไข้หวัดใหญ่หมู (swine flu) สามารถส่งผลกระทบทั้งต่อหมูและมนุษย์ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เป็นเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เอ (influenza A virus)

เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H1N1 มักเป็นต้นเหตุของไข้หวัดหมูในคน มีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ย่อย H1N1 ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ในหมู

สายพันธุ์ย่อยหลักๆ ชนิดอื่น ที่เป็นที่รู้จักและทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ในหมู ได้แก่ H1N2 และ H3N2 ซึ่งพบว่าในมนุษย์มีการติดเชื้อด้วยสายพันธุ์ย่อยทั้งสองชนิดนี้ด้วย

ในปี 2009 เชื้อไวรัสสายพันธุ์ H1N1 ได้เปลี่ยนมาแพร่กระจายในคนเป็นครั้งแรก

ตั้งแต่ปี 2009 ไวรัส H1N1 กลายเป็นหนึ่งในไวรัสธรรมดาทั่วไป ที่ก่อให้เกิดโรคและหมุนเวียนในแต่ละฤดูของไข้หวัดใหญ่ ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้แล้ว ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญจึงคลายความกังวลเกี่ยวกับไข้หวัดหมูชนิดนี้น้อยกว่าในปี 2009

อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่ไวรัสส่งผลกระทบต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเกิดจากแหล่งใด ก็ยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวล นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ตลอดว่า  ไวรัสชนิดใหม่จะส่งผล กระทบต่อผู้คนอย่างไร หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป

อาการของไข้หวัดหมู

อาการของโรคไข้หวัดหมูจะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา

ซึ่งมีอาการดังนี้

ในกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจมีภาวะการหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต แต่พบได้น้อยมาก อาการของคนไข้ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง

อย่างไรก็ตามเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

วัคซีน

นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันมนุษย์จากไวรัสสายพันธุ์ H1N1 หลังจากการระบาดในปี 2009 นับแต่นั้นมา การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน H1N1

ทุกๆ ปีผู้เชี่ยวชาญพยายามคาดการณ์ว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใดมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ซึ่งมักจะมาถึงจุดสูงสุดในฤดูหนาว เพื่อการจัดเตรียมวัคซีนให้ถูกต้องตามประเภทของเชื้อที่จะมีมาในช่วงเวลานั้นๆ

หากผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันในสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด รวมทั้งวัคซีนสำหรับไข้หวัดใหญ่ประจำปีด้วย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีสำหรับผู้ที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปทุกคน แต่อาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับบางคน ซึ่งกรณีเช่นนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้น โดยแพทย์จะให้คำแนะเป็นรายบุคคลในกรณีที่จำเป็นเช่นนี้

การรักษาไข้อีดำอีแดง

คนส่วนใหญ่จะหายจากอาการของเชื้อ H1N1 โดยไม่ต้องมีการรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์

อย่างไรก็ตามในบางกรณีแพทย์อาจสั่งจ่ายยาต้านไวรัสให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งยาเหล่านี้สามารถลดความรุนแรงของอาการและทำให้หายได้เร็วขึ้น

ผู้ป่วยอาจต้องการยาเหล่านี้เป็นการเร่งด่วน หากมีภาวะดังนี้

  • มีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อน

  • รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ขั้นตอนในการดูแลอาการไข้หวัดหมูและป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติม ได้แก่

  • ซื้อยามากินเองที่บ้าน

  • ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่และน้ำ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

  • ออกกำลังกายบ่อยๆ

  • ไม่เครียด

  • ดื่มน้ำมากๆ

  • การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่มีอาการไข้หวัด

  • ไม่สัมผัสพื้นผิวที่อาจมีเชื้อไวรัส

เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัดควรจะอยู่แต่ในบ้าน ไม่ควรไปทำงานหรือไปโรงเรียนในขณะที่ยังมีอาการอยู่

Swine Flu

สาเหตุของไข้อีดำอีแดง

ปัจจุบันนี้แพทย์พิจารณาว่า H1N1 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถก่อให้เกิดอาการไข้หวัดขึ้นในคนและแพร่กระจายควบคู่ไปกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งทุกคนใครๆ ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มี H1N1 จะสามารถติดเชื้อได้       .

ผู้ที่ทำงานกับหมู อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (ไข้หวัดหมู) หรือโรคอื่น ๆ จากสัตว์ได้  โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคที่เกิดจากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยง

บางคนมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นไข้หวัดใหญ่ รวมทั้ง H1N1 มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะอาการแทรกซ้อน

บุคคลที่กล่าวถึงนั้น ได้แก่กลุ่มคนต่อไปดังนี้

  • มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี

  • ผู้ที่มีภาวะโรคเบาหวาน HIV หรือเป็นมะเร็ง

  • ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

  • ผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเรื้อรัง เช่น หัวใจล้มเหลว

  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

  • เด็กที่มีภาวะทางระบบประสาท

การวินิจฉัย

หากแพทย์สงสัยว่าใครที่อาจจะเป็นโรคหวัดเนื่องจาก H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่ชนิดอื่นๆ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยโรค

การตรวจวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็ว จะช่วยยืนยันได้ว่าเป็นไข้หวัดหมูหรือไม่ อย่างไรก็ตามการตรวจนี้อาจมีประสิทธิผลแตกต่างกันไป และอาจจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ถึงแม้ว่าจะในขณะนั้นจะมีเชื้อนั้นอยู่ในร่างกายก็ตาม

การตรวจจะแม่นยำยิ่งขึ้น หากทำการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในห้องปฏิบัติการ

คนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจไข้หวัดใหญ่ด้วยวิธีตรวจอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหากไม่ได้คำนึงถึงผลการทดสอบ จะให้การรักษาจะเหมือนกันทั้งหมด

การป้องกัน

หากเป็นไข้หวัด สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ด้วยการทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • งดการติดต่อสัมผัสกับคนอื่น

  • หยุดไปทำงานหรือไม่ไปโรงเรียนในขณะที่มียังอาการไข้หวัด

  • ใช้กระดาษทิชชูปิดปากเมื่อไอหรือจาม หากไม่มีทิชชูอยู่ในมือให้ใช้มือหรือข้อศอกปิดปากและจมูก

  • ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะ

  • ล้างมือ ล้างหน้าเป็นประจำ

  • รักษาพื้นผิวทั้งหมดที่คุณสัมผัสให้สะอาด

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทุกอย่าง

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีสามารถช่วยในการป้องกันจากไข้หวัดชนิดต่างๆ ได้

สำหรับผู้ที่ต้องทำงาน หรือมีวิถีชีวิตที่ต้องสัมผัสกับหมูและสัตว์อื่น ๆ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • ปฏิบัติตามข้อควรระวังด้านสุขภาพและความปลอดภัยทั้งหมดเมื่อจัดการกับสัตว์

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมูได้รับการฉีดวัคซีนที่เกี่ยวข้อง

  • โทรหาสัตวแพทย์หากพบว่ามีสัตว์ป่วย

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส หากพบว่าหมูหรือสัตว์อื่น ๆ กำลังป่วย

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *