วิตามินบีรวมปกติจะมีวิตามินบีทั้งหมด 8 ชนิด คือ บี1 (ไทแอมีน), บี2 (ไรโบเฟลวิน), บี3 (ไนอาซิน), บี5 (กรดแพนโทเทนิก), บี6 (ไพริดอกซีน), บี7 (ไบโอติน), บี9 (โฟเลต) และ บี12 (โคบาลามิน) ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารตามธรรมชาติในเนื้อ ผักใบเขียว นม ถั่วและธัญพืช วิตามินบีรวมสามารถละลายได้ในน้ำและมีบทบาทหน้าที่ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายบางอย่าง รวมไปถึงช่วยสร้างพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไปและยังช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
ประโยชน์เพื่อสุขภาพ
วิตามินทั้งแปดชนิดที่อยู่ในวิตามินบีรวมแต่ละตัวต่างก็มีประโยชน์เพื่อสุขภาพเฉพาะตัวของแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น วิตามินบี 1 จะช่วยเรื่องสำคัญๆในการเจริญเติบโต การพัฒนาการและการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ส่วนวิตามินอื่นๆเช่นบี 2 จะทำงานด้านการประสานงานในร่างกายร่วมกับวิตามินบีอื่นๆเพื่อเปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นพลังงาน วิตามินบี 2 จะเปลี่ยนวิตามินบี 6 เป็นสิ่งที่นำไปใช้ได้และกรดเพื่อสร้างไนอาซิน
วิตามินบี 5 จะย่อยสลายไขมันและคาร์โบไฮเดรตเพื่อเป็นพลังงานและช่วยให้ร่างกายใช้วิตามินอื่นๆเช่น ไรโบฟลาวิน (พบในวิตามินบี 2) วิตามินบี 6 จะรวมอยู่ในการทำงานของภูมิคุ้มกันและเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อนำไปใช้และเก็บโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากอาหารไว้ในรูปของไกลโคเจน
วิตามินบี 7 จะช่วยร่างกายเปลี่ยนไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน และยังจำเป็นในการสร้างกรดไขมันและช่วยรักษาสุขภาพกระดูกและเส้นผม วิตามินบี 9 มความต้องการเพื่อช่วยการสร้างเซลล์และรักษาดีเอ็นเอ (สารพันธุกรรมที่พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย) ในขณะที่วิตามินบี 12 มีความสำคัญในการเผาผลาญโปรตีน
ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการอาหารเสริมวิตามินบีรวม ความต้องการขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะคนและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ สามารถรับประทานวิตามินแยกเป็นชนิดเฉพาะตัวได้
1. การเปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นพลังงาน
วิตามินบีส่วนใหญ่เป็นกระบวนการการเปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นพลังงาน บางตัวอาจช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ในขณะที่บางตัวช่วยสลายไขมันและ/หรือโปรตีน
ในขณะที่วิตามินบีมีความจำเป็นต่อกระบวนการดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานวิตามินบีรวมเพื่อทำให้รู้สึกว่ามีพลังงานมากขึ้น ถึงแม้ร่างกายจะต้องการวิตามินบีเพื่อสร้างพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปก็ตาม แต่ผลที่ได้จากอาหารเสริมก็แตกต่างกันกับการได้จากอาหารจริงๆ
วิตามินบีรวมถึง: บี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี7 และบี12
2. ช่วยสุขภาพของสมอง
จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าวิตามินบีช่วยเรื่องสุขภาพของสมองได้ทุกๆส่วนๆช่วยเสริมการทำงานสมอง วิตามินบี6 บี9 และบี12 มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญโฮโมซีสทีน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องความสามารถในการคิดและเข้าใจลดลงและโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี12 ยังช่วยสนับสนุนโครงสร้างดีเอ็นเอให้แข็งแรงซึ่งมีความสำคัญในระหว่างการพัฒนาของทารกและยังช่วยป้องกันโรคเรื้อรังและมะเร็ง
วิตามินบี6 ช่วยดุแลการพัฒนาและการทำงานของสมอง ในขณะที่วิตามินบี 9 จะช่วยลดความผิดปกติแต่กำเนิดในสมองและกระดูกสันหลังเช่น ภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
วิตามินบีรวมถึง: บี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี7 บี9 บี12
3. สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
วิตามินบีบางตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิตามินบี 12 มีบทบาทที่จำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงมีความจำเป็นในการลำเลียงออกซิเจนไปสู่ทุกๆส่วนของร่างกาย หากเกิดภาวะพร่องวิตามินบี 12 ร่างกายจะไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้เพียงพอและอาจเกิดภาวะสมองเสื่อม
วิตามินบี 2 เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการสร้างและการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดง เหมือนกับวิตามินบี 9 ในขณะที่วิตามินบี 5 มีบทบาทสำคัญในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดอีกทั้งยังช่วยลดจำนวนคอเรสเตอรอลที่สร้างขึ้นโดยร่างกาย และวิตามินบี 6 เป็นที่ต้องการสำหรับการเกิดปฏิกิริยาเอนไซม์ที่แตกต่างกันมากกว่า 100 ชนิดในร่างกาย ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นตัวช่วยเม็ดเลือดแดงในการลำเลียงออกซิเขนไปทั่วร่างกาย
วิตามินบี รวมถึง: บี2 บี5 บี6 บี9 บี12
4. ช่วยสุขภาพของระบบสมอง
วิตามินบี 2 จะข่วยบำรุงรักษาดวงตา ระบบประสาทและสุขภาพผิว ช่วยเปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นพลังงานและช่วยให้เอนไซม์ในร่างกายทำงานอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยสร้างและซ่อมแซมดีเอ็นเอ ช่วยการทำงานของระบบย่อยและระบบประสาท รวมถึงสุขภาพผิว วิตามินบี1ช 12 ยังมีบทบาทในการรักษาสุขภาพของระบบประสาทอีกด้วย
วิตามินบี รวมไปถึง: บี1 บี2 บี3 บี6 บี12
5. ช่วยในการสร้างฮอร์โมน
วิตามินบี 3 และบี 5 เป็นวิตามินที่มีความจำเป็นสำหรับผลิตฮอร์โมนในต่อมหมวกไต เช่นฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนความเครียด วิตามินบี 6 จะกระตุ้นสารสื่อประสาทและฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และควบคุมนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย
วิตามินบี รวมไปถึง: บี3 บี5 บี6
6. ลดความเครียด
จากการวิจัยพบว่าวิตามินบางชนิดอาจช่วยบรรเทาความเครียดได้ จากการศึกษาพบว่าอาหารเสริมวิตามินบีมีประโยชน์ต่อเรื่องของอารมณ์ได้
วิตามินบี รวมไปถึง: บี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี7 บี9 บี12
7. ช่วยป้องกันไมเกรน
อาหารเสริมวิตามินบีอาจช่วยป้องกันการเกิดไมเกรนในบางคน การลดระดับโฮโมซีสทีนด้วยกรดโฟลิค (สารสังเคราะห์จากโฟเลต) และวิตามินบี 6 และบี 12 อาจช่วยลดอาการที่เกิดจากไมเกรนได้เช่น การเห็นแสงออร่า ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำเมื่อปวดศีรษะพร้อมกับความผิดปกติในการรับรู้
วิตามินบี รวมไปถึง: บี2 บี6 บี9 บี12
ปริมาณโดส
ในขณะท่คนส่วนใหญ่ที่มีการรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายมักจะได้รับวิตามินบีจากอาหารอยู่แล้ว แต่ในบางคนอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะพร่องได้ โดยเฉพาะในคนที่มีอายุเกิดน 50 ปีขึ้นไป คนที่รับประทานยาลดกรดหรือมีภาวะโรคซีลีแอค โรคโครห์น โรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือโรคระบบย่อยอื่นๆ
หากมีการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก ดื่มแอลกอฮอล์เป็ยประจำหรือรับประทานอาหารมังสวิรัติ อาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะพร้องได้มากกว่าคนอื่น หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรอาจมีความจำเป็นต้องได้รับวิตามินบี 6 บี 12และโฟเลตเพิ่มขึ้น
ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับวิตามินบี(RDIs) | ||
ผู้ชาย | ผู้หญิง | |
บี1 (ไทแอมีน) | 1.2 มก. | 1.1 มก. |
บี2 (ไรโบลฟลาวิน) | 1.3 มก. | 1.1 มก. |
บี3 (ไนอาซิน) | 16มก. | 14 มก. |
บี5 (กรดแพนโทเทนิก) | 5 มก. | 5 มก. |
บี6 (ไพริดอกซีน) | 1.3 มก. | 1.3 มก. |
บี7 (ไบโอติน) | 30 ไมโครกรัม | 30 ไมโครกรัม |
บี9 (โฟเลต) | 400 ไมโครกรัม | 400ไมโครกรัม |
บี12 (โคบาลามิน) | 2.4 ไมโครกรัม | 2.4 ไมโครกรัม |
ปริมาณที่แนะนำดังกล่าวสำหรับวิตามินบีจะสามารถช่วยป้องกันภาวะพร่องวิตามิน ขึ้นอยู่กับชนิดของวิตามินที่พร่อง อาการโดยรวมอาจมีดังต่อไปนี้:
- โลหิตจาง
- เส้นผมหรือเล็บเปราะบาง
- อาการหัวใจและหลอดเลือด
- ภาวะซึมเศร้า
- ไม่มีสมาธิ
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- ผมร่วง
- หงุดกงิด
- ประสับกระส่าย
- สูญเสียความจำระยะสั้น
- ผิวหนังผิดปกติ
- ปวดท้อง
- น้ำหนักลด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ถึงแม้ว่าอาหารเสริมวิตามินบีรวมจะสามารถละลายได้ในน้ำ แต่จะไม่สามารถอยูในร่างกายได้นาน การได้รับปริมาณโดสจำนวนมากของวิตามินในรูปแบบของอาหารเสริมก็สามารถเป็นสาเหตุของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้
ก่อนเริ่มบริโภคอาหารเสริมทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
การได้รับมากเกินไปอาจเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดผลข้างเคียงเช่น:
- วิตามินบี3 (ไนแอซิน): การได้รับวิตามินบี 3 มากเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังแดงหรือเจ็บ ระดับน้ำตาลในเลือกสูงและภาวะตับเป็นพิษ2
- วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน): วิตามินบี 6 อาตเป็นสาเหตุทำให้เส้นประสาทเสียหาย เกิดรอยโรค การทำงานของไตแย่ลงและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดและสมองแลัเสียชีวิตในคนที่เป็นโณคเบาหวานและโรคไตขั้นรุนแรง จากการศึกษาพบว่าการได้รับวิตามินบี 6 ในปริมาณสูงเพิ่มความเสี่ยงการแตกหักของสะโพกและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอด (เมื่อรับประทานร่วมกับวิตามินบี 12)
- วิตามินบี 9 (โฟเลต): วิตามินบี 6 ส่งผลให้ไตเสียหาย เพิ่มการต้านอินซูลินในลูกหลาน ลดการทำงานของเซลล์นักฆ่าตามธรรมชาติในผู้หญิงสูงอายุ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
- วิตามินบี 12 (โคบาลามิน): วิตามินบี 12 พบว่าไปเป็นตัวเร่งการทำงานของไตที่ลดลง และเพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจในคนที่การทำงานของไตบกพร่อง การรับประทานวิตามินบี 12 ร่วมกับกรดโฟลิคส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคมะเร็งและเสียชีวิต
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี คือ
วิตามินบีสามารถพบได้หลักๆในอหารจำพวกเนื้อสัตว์และซีเรียลที่มีการเติมสารเสริม แต่ในผักผลไม้ ถั่วและเลมกูมก็เป็นแหล่งของวิตามินบีที่ดีเช่นกัน ต่อไปนี้คือแหล่งอาหารที่มีวิตามินบีที่สามารถพบได้ทั่วไปเช่น
- วิตามินบี 1 (ไทแอมีน): ซีเรียลอาหารเช้าที่เติมสารเสริม ผลิตภัณฑ์โฮลเกรน (ขนมปัง ซีเรียล ข้าว ก๋วยเตี๋ยวและแป้งสาลี) จมูกข้าวสาลี เนื้อหมู ปลาเทราท์ ถั่วดำ หอยแมลงภู่และปลาทูน่า
- วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน): นมและผลิตภัณฑ์นม ซีเรียล ตับวัว หอยกาบ เห็ดพอตโตเบลโล อัลมอนด์และไก่
- วิตามินบี 3 (ไนอาซิน): ไข่ ปลา ขนมปังเสริมสารอาหารและซีเรียล ข้าว ถั่ว นมและผลิตภัณฑ์นม ไก่ เนื้อวัว ไก่งวง เนื้อแกะ พีนัท
- วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก): เนื้อ อะโวคาโด บล็อคโคลี่ เคล ไข่ นม เห็ด ซีเรียลเสริมสารอาหาร เครื่องในสัตว์ เนื้อไก่ มันฝรั่งและเลมกูม
- วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน): ถั่วลูกไก่ ตับวัว ปลาทูน่า แซลมอน อกไก่ ซีเรียล มันฝรั่ง ไก่งวง ผลไม้ (ยกเว้นผลไม้รสเปรี้ยว) และเนื้อวัว
- วิตามินบี 7 (ไบโอติน): ตับวัว ไข่แดง จมูกข้าวสาลี เนื้อหมู เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน มันหวาน อัลมอนด์ อาการจำพวกโฮลเกรน ซาร์ดีน ผักโขมและบล็อคโคลี่
- วิตามินบี 9 (โฟเลต): ผักโขม ตับวัว บล็อคโคลี่ กระหล่ำดาว ถั่วและเลมกูม หน่อไม้ฝรั่ง น้ำส้มคั้น พีนัท อะโวคาโด ผักใบเขียวเข้ม ซีเรียลเสริมสารอาหารและแซลมอน
- วิตามินบี 12 (โคบาลามิน): ตับวัว (และเครื่องในวัวอื่นๆ) หอยกาบและหอยอื่นๆ เนื้อวัว เนื้อไก่ ปลา ไข่ นมและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ และซีเรียบเสริมสารอาหารอื่นๆ
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก