โรคเมเนียคืออะไร  (What is a Mania Episode)

โรคเมเนียคืออะไร  (What is a Mania Episode)

03.09
1567
0

ระยะอาการเมเนียคืออะไร 

ระยะอาการเมเนีย Mania คือ ลักษณะช่วงอาการการควบคุมอารมณ์ผิดปกติหรือหงุดหงิดหรือมีพลังงานล้น ความคิดแล่นเร็วและมีพฤติกรรมสุดโต่งและเกินความจริง มีภาวะทางจิต ซึ่งรวมถึงการเห็นภาพหลอนและมีอาการหลงผิด ซึ่งทำให้ทำตัวแปลกแยกจากความเป็นจริง

อาการของเมเนียอาจเกิดขึ้นเป็นสัปดาห์หรือมากกว่านั้นได้ ระยะอาการเมเนียอาจกระจายอยู่ภายในช่วงระหว่างภาวะซึมเศร้าซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเหนื่อนล้า เศร้าและสิ้นหวัง ในขณะที่ระยะอาการเมเนียคือสิ่งที่เกิดขึ้นส่วนใใหญ่ในคนที่เป็นโรคอารมรณ์สองขั้ว เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมอย่างสุดขีด

อาการเมเนีย

ระยะอาการของเมเนียสามารถเกิดขึ้นได้กระทันหัน ด้วยการหายใจสั้น เจ็บหน้าอกหรือเลือดออก

เมื่อมองหาระยะอาการเมเนียสิ่งที่สำคัญคือการพิจารณารูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนตัวเราหรือคนที่เรารักไปจากพฤติกรรมปกติ

ต่อไปนี้คือพฤติกรรมทั่วๆผที่เกิดขึ้นร่วมกับระยะอาการเมเนีย – พฤติกรรมที่สามารถสังเกตุเห็นได้ง่าย เป็นพฤติกรรมที่ควาจำไว้เพื่อการช่วยเหลือ

หากเพื่อนของคุณหรือคนที่คุณักได้ยินเสียงหรือเห็นภาพหลอน (การได้เห็นหรือได้ยินในบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีจริง) หรือแสดงอาการหวาดกลัวหรืออาการหลงผิดอื่นๆ (เชื่อว่ามีบางสิ่งที่ไม่มีจริง) ให้ติดต่อแพทย์ในทันทีเพราะสิ่งนี้อาจเป็นอาการเมเนีบที่รุนแรงได้

ความต้องการในการนอนลดลง

คุณหรือคนที่คุณรักไม่ยอมนอนจนตี 4 และจากนั้นก็ตื่นตอน 8 โมงเช้าหรือไม่ การต้องการในการนอนที่ลดน้อยลงคือสิ่งที่เกิดขึ้นทั่ไปในระหว่างเกิดอาการเมเนีย น่าเสียดายที่ปัญหาการนอนและโรคอารมณ์สองชั้วสามารถทำให้อาการทั้งสองอาการเพิ่มขึ้นได้ ระยะอาการเมเนียจะนำไปสู่ปัญหาการนอน

ยุ่งอยู่กับหลายๆกิจกรรมในเวลาเดียวกัน

ในระหว่างเกิดระยะอาการเมเนีย อาจเกิดอาการกระสับกระส่ายในการหาทางกำจัดพลังงานที่มีมากเกินไป อาการนี้คืออาการที่อธิบายได้ถึง “ภาวะ Multitasking on Steroids” 

พูดมากหรือพูดเสียงดัง พูดเร็วหรือภาวะพูดเร็วพูดมาก

การพูดเสียงดังและเร็วคืออาการทั่วไปที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของอาการเมเนียหรือช่วงระยะอารมณ์คึกคัก สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือการพูดเร็ว พูดด้วยความเร็วต่างจากคนปกติ 

ความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น

ความต้องการทางเพศสูงคืออาการปกติของอาการเมเนียและอาการไฮโปเมเนีย ซึ่งรวมถึงลักษณะที่ไม่ใช่เรื่่องปกติหรือมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงเช่นการใช้บริการทางเพศ เข้าเว็บไซต์ลามกอนาจาร และอื่นๆ

มีพฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยง

ในบางรายเมื่อมีระยะอาการเมเนียจะมีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น บางคนอาจมีส่วนในเรื่องของเงินเช่นการใช้เงินเกินความจำเป็น ใช้เงินฟุ่มเฟือยและใช้ในการพนัน

คิดเร็ว

หากสังเกตเห็นเพื่อนหรือคนในครอบครัวบ่นและคิดเร็วที่ไม่สามารถควบคุมได้ จากภายนอกคนที่มีภาวะอารมณ์สองขั้วอาจมีอาการพูดไม่หยุดและโรคร่าเริง ในขณะที่ภายในใจกลับมีความคิดฟุ้งซ่านและวนไปวนมา

ขัดแย้งทางความคิด

บางรายเมื่อเข้าสู่ช่วงระยะเมเนียของโรคไบโพล่าร์ จะเกิดการขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรง เป็นภาวะที่ยากจะเข้าใจเรื่องเหตุและผลในการคิด

มีอาการคุยโว้โออวด

ควรเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังหากพบว่าเพื่อนหรือคนที่เรารักเริ่มมีอาการหลงผิด ยกตัวอย่างเช่นคิดว่ามีดารานักร้องชื่อดังส่งจดหมายรักมาหาตัวเองหรือจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศในสัปดาห์นี็ ภาวะโอ้อวดคืออาการเกินจริงในเรื่องของความรู้ความคิด อำนาจหรือตัวตน เช่นฉันจะลาออกจากงานและมาแต่งนิยาย ซึ่งสำคัญมากหากสิ่งนี้เกิดขึ้นกับคนที่ชอบการเขียนจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่คำพูดเดียวกันพูดจากคนที่ไม่เคยเขียนหรือสนใจใส่ใจมาก่อนให้เราสงสัยอาการเหล่านี้ไว้ก่อน

ต่อต้านและหรือหงุดหงิดเพิ่มขึ้น

ระวังอาการหงุดหงิดหรือต่อต้านที่ไม่มีเหตุผล เฝ้าระมัดระวังและให้ความช่วยเหลือหากเห็นพฤติกรรมดังกล่าวนี้ อย่าพยายามรับมือกับสถานการณ์นี้ด้วยตัวคุณเอง

มีความคิดฆ่าตัวตาย

ในบางรายเมื่ออยู่ในระยะเมเนียอาจเกิดความรู้สึกสิ้นหวังหรือไร้ค่าหรือคิดเกี่ยวกับความตายหรือฆ่าตัวตาย

สวมใส่เสื้อผ้าสีสดใส

ในระหว่างระยะอาการเมเนียหรือไฮโปรเมเนีย บางคนอาจชอบสวมใส่เสื้อผ้าสีสรรสดใสหรือฉูดฉาด แน่นอนที่คนส่วนใหญ่ก็มักชอบสวมใส่เสื้อผ้าสีสดใสอยู่แล้วและไม่ต้องมีอาการเมเนียหรือไฮโปรเมเนีย

แต่การเลือกเสื้อผ้าก็อาจเป็นเบาะแสหนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันกับการเกิดระยะอาการเมเนียหรือไฮโปรเมเนีย การเปลี่ยนการแต่งกายเช่นความอยากในการแต่งตัวอาจเป็นผลสะท้อนของอาการอื่นๆเช่นความต้องการทางเพศสูง

What is a Mania Episode

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคระยะอาการเมเนียในภาวะอารมณ์สองขั้ว จะต้องมีอาการนานและผิดปกติมาก ร่าเริงหรือมีอารมณ์หงุดหงิดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าหนึ่งสัปดาห์ หรือมีอาการอย่างน้อยสามอาการจากอาการดังต่อไปนี้

  • -วอกแวกได้ง่าย
  • -หมกมุ่นกับการทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน มากเกินกว่าที่จะเป็นได้จริงในหนึ่งวัน
  • -มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นเล่นการพนันหือมีเพศสัมพันธ์ไม่มีการป้องกัน
  • -รู้สึกพูดมากพูดเร็ว พูดเสียงดังและรัว
  • -โอ้อวดหรือลำพองตน
  • -มีความต้องการในการนอนน้อย
  • -คิดรวดเร็ว

สาเหตุ

ระยะอาการเมเนียคืออาการที่พบได้ทั่วไปในคนที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วชนิดที่ 1 แต่ก็มีที่มาจากสาเหตุอื่นและโรคประจำตัว รวมถึง:

  • การคลอดบุตร (ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด)
  • การบาดเจ็บที่สมอง
  • เนื้องอกในสมอง
  • สมองเสื่อม
  • ไข้สมองอักเสบ
  • ระดับความเครียดสูง
  • โรคลูปัส
  • ผลข้างเคียงจากยา
  • การใช้สารเสพติดหรืแแอลกอฮอล์
  • ภาวะขาดการนอนหลับ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • การบาดเจ็บหรือการถูกละเมิด

การรักษา

ในขณะที่ยังไม่มีการรักษาสำหรับระยะอาการเมเนีย การใช้ยาผสมผสานกัน การบำบัดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตสามารถช่วยจัดการกับอาการและช่วยหลีกเลี่ยงการกระตุ้นได้

ยา

ระยะอาการเมเนียฉับพลันมักรักษาด้วยยาต้านอาการทางจิต ในขณะที่รักษาระยะยาวอาจต้องยาควบคุมอารมณ์เพื่อป้องกันอาการในอนาคต หากคุณหรือคนที่คุณนักมีรูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป (มีช่วงตื่นเป็นเวลานาน) การใช้ยานอนหลับอาจช่วยได้ในระยะสั้น

ยาต้านอาการทางจิตรวมถึง:

  • อะบิลิฟาย (อะริพิพราโซล)
  • ลาตูดา(ลูราซิโดน)
  • ไรสเปอร์ดัล (ริสเพอริโดน)
  • เซโรเควล (ควิไทอะปีน)
  • Vraylar (คาริพราซีน)
  • Zyprexa (โอแลนซาปีน)

ยาควบคุมอารมณ์รวมถึง:

  • เดพาคอต (ไดวาลโปรเอ๊กซ์ โซเดียม)
  • เทเกรทอล (คาร์บามาเซพีน)

การบำบัด

การบำบัดทางจิตร่วมกับการได้รับการฝึกจากผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยแยกแยะเมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงรวมถึงการถูกกระตุ้นที่นำไปสู่ระยะอาการเมเนีย อาจมีการเพิ่มยาร่วมกับการฝึกทักษะรับมือกับอาการเหล่านี้และช่วยทำให้ชีวิตมีคุณภาพมากขึ้น แนวทางการบำบัดโรคคือ:

  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) 
  • พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (DBT)
  • ครอบครัวบำบัดFamily Therapy

การช่วยเหลือคือส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการจัดการระยะอาการเมเนีย ดังนั้นการเข้ากลุ่มช่วยเหลือสำหระบคนมีภาวะโรคสองอารมณ์จึงเป็นเรื่องควรนำมาพิจารณษหากไม่มีเพื่อนหรือครอบครัวคอยช่วยเหลือ

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต

จากการใช้ยาและการบำบัด การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตไม่กี่อย่างก็สามารถช่วยจัดการกับระยะอาการเมเนียได้

  • -หาเวลาในการออกกำลังกาย ทางที่ดีที่สุดคือหากิจกรรมทางร่างกายทำเป็นประจำทุกวัน
  • -รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการข้ามมื้ออาหาร
  • -นอนให้เพียงพอ รวมถึงการเข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา (แม้แต่ในช่วงวันหยุด)
  • -เขียนบันทึก จดบันทึกอาการเมเนียและซึมเศร้าของตัวเอง ใส่ใจสิ่งกระตุ้น เหตุการณ์ในชีวิตเช่นการเปลี่ยนงาน การเลิกกันหรือย้านสถานที่ การฟังดนตรีดังๆ การเริ่มต้นโครงการใหม่ๆ การเคลื่อนย้ายหรือออกไปเที่ยวพักผ่อน
  • -พบแพทย์ตามนัด พบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *