โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa)

โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa)

23.04
8621
0

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา (Anorexia Nervosa) หรือโรคคลั่งผอม เป็นภาวะสุขภาพจิตที่รุนแรงและเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่หายได้หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

โรคคลั่งผอมเกี่ยวข้องกับปัญหาทางจิต ความคาดหวังในรูปร่างที่ไม่สมจริง และความกลัวน้ำหนักขึ้น โรคนี้ส่งผลกระทบต่างไปในแต่ละบุคคล

ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจลดน้ำหนักไปมากและมีพฤติกรรมของโรคคลั่งผอม แต่ยังมีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)ไม่ต่ำมาก นักวิจัยเรียกกรณีนี้ว่า atypical Anorexia Nervosa (ไม่แสดงอาการ)

โรคคลั่งผอมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงก่อนวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน

ผู้คนมักคิดว่าโรคคลั่งผอมมักเกิดกับผู้หญิง ที่จริงแล้ว เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ผลวิจัยพบว่าในกลุ่มผู้แปลงเพศมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติเกิดขึ้นมากกว่า

สถิติแสดงให้เห็นว่า 25%ของผู้ที่เป็นโรคคลั่งผอมเป็นผู้ชาย และมีอันตรายถึงชีวิตในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เพราะได้รับการวินิจฉัยช้าเนื่องจากเข้าใจผิดว่าผู้ชายไม่จะเป็นโรคนี้

โรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา คืออะไร

ผู้ที่เป็นโรคนี้ตั้งใจอดอาหารเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาทางอารมณ์ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับความกลัวน้ำหนักขึ้นหรือ ความต้องการที่จะลดน้ำหนัก

การอดอาหารนำไปสู่การขาดสารอาหารซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมและก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

ด้วยอารมณ์และความท้าทายทางจิตวิทยาของโรคนี้ จึงยากที่ผู้ป่วยจะหายได้เอง

แนวทางการรักษาคือ การให้คำปรึกษาโดยการพูดคุย การให้คำปรึกษาทางโภชนาการ และการดูแลทางการแพทย์ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

มีความเชื่อผิดๆหลายอย่างเดี่ยวกับโรคนี้และอาจทำให้ผู้ป่วยไม่อยากเข้ารับการรักษา

อาการของอะนอเร็กเซีย

สัญญาณสำคัญคือน้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด หรือน้ำหนักน้อย ใน atypical anorexia nervosa ผู้ป่วยอาจยังมีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติแม้ว่าน้ำหนักจะลดแล้วก็ตาม

การขาดสารอาหารนำไปสู่อาการทางร่างกายดังนี้:

  • กล้ามเนื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด

  • เหนื่อยง่าย ล้า

  • ความดันต่ำ

  • หน้ามืด เวียนศีรษะ

  • อุณหภูมิร่างกายต่ำ มือและเท้าเย็น หรือมีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ

  • ผิวแห้ง

  • มือ เท้า บวม

  • ผมร่วง

  • ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ หรือ ไม่มาเลย

  • เป็นหมัน

  • นอนไม่หลับ

  • มวลกระดูกต่ำลง เสี่ยงกระดูกหักได้ง่ายขึ้น

  • เล็บเปราะ

  • ขนบนใบหน้าเพิ่มมากขึ้น

  • ท้องผูก

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ลมหายใจมีกลิ่น ฝันผุเนื่องจากอาเจียนบ่อย

ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมดังนี้

  • จำกัดจำนวนอาหารที่รับประทาน

  • มีความกังวลมากผิดปกติเกี่ยวกับน้ำหนัก ขนาดรูปร่าง อาหาร การลดน้ำหนัก แคลอรี่

  • ออกกำลังกายหักโหม รับประทานยาถ่าย ล้วงคอให้อาเจียน

  • ชั่งน้ำหนักและวัดสัดส่วนบ่อย

  • พูดว่าตัวเองอ้วนหรือน้ำหนักเกิน

  • ปฏิเสธว่าไม่หิวหรือหลีกเลี่ยงเวลาทานอาหาร

  • มีพิธีกรรมในการรับประทานอาหารเช่น รับประทานอาหารบางอย่างก่อนหรือหลัง

  • ทำอาหารให้ผู้อื่นแต่ไม่ร่วมรับประทานด้วย

  • ไม่พบเจอเพื่อน หรือไม่ไปงานสังสรรค์

  • มีอาการซึมเศร้า

ผู้ป่วยอาจรู้สึกผิดเมื่อรับประทานอาหาร ไม่รู้ตัวว่ามีตนมีความผิดปกติ หรือไม่ยอมรับว่าตนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ

ผู้ป่วยโรคนี้อาจแสดงอาการแตกต่างกันไป

Anorexia Nervosa

สาเหตุอะนอเร็กเซีย

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถบอกสาเหตุที่แน่นอนได้ แต่อาจมีปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ชีววิทยา และปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย

ปัจจัยอื่นๆ เช่น

  • คำวิจารณ์ของผู้อื่นเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทาน น้ำหนัก หรือรูปร่าง

  • เคยถูกล้อเรื่องน้ำหนักหรือรูปร่าง

  • ความกดดันจากสังคม หรือจากงานที่จะต้องมีรูปร่างผอม

  • ความมั่นใจในตัวเองน้อย

  • วิตกกังวล

  • มีนิสัยชอบความสมบูรณ์แบบ

  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

  • มีประวัติการลดน้ำหนัก

  • รู้สึกกดดันที่ต้องเข้ากับวัฒนธรรมที่ตัวเองไม่คุ้นชิน

  • มีบาดแผลในใจ เช่น ถูกเหยียดสีผิว

ในบางคน โรคคลั่งผอมพัฒนามาจากความต้องการควบคุมชีวิตของตน เมื่อเขาควบคุมการกินได้ จะมีความรู้สึกว่าประสบความสำเร็จและพฤติกรรมนี้จะดำเนินต่อไป

ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม

ผู้ที่อาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะการกินผิดปกติ คือ

  • มีญาติสนิทมีความผิดปกติแบบเดียวกัน

  • มีประวัติครอบครัว ซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางจิตใจอื่นๆ

  • เป็นเบาหวานชนิดที่ 1

การรักษาโรคคลั่งผอม

บุคลากรทางการแพทย์จะหาแนวทางรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้หายจากโรคกลัวอ้วน รวมถึงทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยผู้ป่วยจัดการกับปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิทยาของตน โดยใช้วิธีเหล่านี้

  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม จะช่วยให้ผู้ป่วยหาแนวคิดใหม่ ประพฤติตัวใหม่ และควาบคุมความเครียดได้

  • ครอบครัวบำบัด และการรักษาโดยการพูดคุยกับนักจิตวิทยา

  • โภชนบำบัดซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร และการดูแลสุขภาพ

  • ยา เพื่อรักษาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวล

  • อาหารเสริม เพื่อช่วยแก้ไขภาวะขาดอาหาร

  • บางรายอาจต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยอาจไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา อาจมีอาการขึ้นๆลงๆ หรือกลับเป็นใหม่ โดยเฉพาะในช่วงสองปีแรก

เพื่อนและครอบครัวมีส่วนช่วยได้มากหากพวกเขาเข้าใจโรคนี้และสามารถสังเกตอาการได้ อีกทั้งยังช่วยให้ไม่อาการกำเริบ และกลับเป็นใหม่อีกด้วย

การรักษาในโรพยาบาล

ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหาก:

  • ค่าดัชนีมวลกายต่ำมาก

  • ขาดสารอาหาร

  • มีอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

  • ไม่ยอมรับประทาน

  • มีอาการทางจิตกำเริบที่รุนแรง

การรักษาและการบำบัดทางจิดใจจะช่วยให้ผู้ป่วยค่อย ๆ รับประทานอาหารได้มากขึ้น และช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ทั้งที่ครอบครัวยังต้องเป็นกำลังใจสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อฟื้นฟูจิตใจและร่างกาย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *