As I web site possessor I believe the content matter here is rattling excellent , appreciate it for your efforts. You should keep it up forever! Good Luck. Clemmy Bink Henning
โรคหอบหืด (Asthma) เป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ ทำให้มีเสียงหวีดในขณะหายใจและหายใจลำบาก สิ่งกระตุ้นบางอย่างที่ทำให้มีอาการเช่นนี้ ได้แก่ การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคือง ไวรัส การออกกำลังกาย ความเครียดทางอารมณ์ และปัจจัยอื่น ๆ
โรคหอบหืดทำให้ผนังด้านในของทางเดินหายใจ หรือท่อหลอดลมบวมและอักเสบ
ระหว่างที่มีอาการของโรคหอบหืดนั้น ทางเดินหายใจจะบวม และกล้ามเนื้อรอบๆ ทางเดินหายใจจะหดเกร็งเข้า ส่งผลให้อากาศเคลื่อนที่เข้าและออกจากปอดได้ยาก
บทความนี้จะกล่าวถึงประเภท สาเหตุ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการของโรคหอบหืด รวมไปถึงวิธีการที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยโรค
โรคหอบหืดคืออะไร
ผู้ป่วยโรคหอบหืดอาจมีอาการกำเริบในขณะออกกำลังกาย
โรคหอบหืดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นระยะยาว มีผลต่อทางเดินหายใจ และมีความเกี่ยวโยงกับการอักเสบและการตีบภายในปอด ทำให้มีปริมาณอากาศเข้าไปในปอดได้น้อยลง
ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด จะมีอาการดังนี้:
-
แน่นหน้าอก
-
มีเสียงหวีดในขณะหายใจ
-
หายใจลำบาก
-
มีน้ำมูกมากขึ้น
ผู้ที่มีอาการของโรคหอบหืดที่รุนแรง มักเกิดอาการขึ้นได้อย่างกระทันหัน และเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งทำให้เสียชีวิตได้
ในผู้ป่วยบางรายจะพบการบวมในทางเดินหายใจ ซึ่งอาการบวมนี้จะเป็นการปิดกั้นไม่ให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอด นั่นหมายความว่าออกซิเจนจะไม่สามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดหรือไปถึงอวัยวะสำคัญได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการหอบหืดอย่างรุนแรง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
แพทย์สามารถให้คำแนะนำที่ดีแก่ผู้ที่มีอาการนี้ได้ และกำหนดวิธีการรักษาอาการหอบหืดที่เหมาะสมที่สุด
ประเภทของโรคหอบหืด
โรคหอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบและด้วยหลายสาเหตุ แต่สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการมักจะเกิดจากสิ่งที่เหมือนๆ กัน เช่น มลพิษในอากาศ เชื้อไวรัส สัตว์เลี้ยง อารมณ์โกรธ เชื้อราและควันบุหรี่
โรคหอบหืดที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้:
โรคหอบหืดในวัยเด็ก
โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก หอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ (เล็กน้อย)
ในปี 2560 เด็กอายุ 5-14 ปี มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหอบหืดมากที่สุด ในกลุ่มอายุนี้มีผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมากถึง 9.7% นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 0-4 ปี ประมาณ 4.4% อีกด้วย
ในปีเดียวกันยังมีคนเป็นโรคหอบหืดจำนวน 7.7% ของผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
สาเหตุที่พบบ่อยของโรคหอบหืดในวัยเด็ก ดังนี้ :
-
การติดเชื้อทางเดินหายใจและโรคหวัด
-
ควันบุหรี่รวมทั้งควันบุหรี่มือสอง
-
สารก่อภูมิแพ้
-
มลพิษทางอากาศ รวมถึงมลพิษจากโอโซน และอนุภาคทั้งภายในและภายนอก
-
สัมผัสกับอากาศเย็น
-
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกระทันหัน
-
ความตื่นเต้น
-
ความเครียด
-
การออกกำลังกาย
หากเด็กเริ่มมีอาการหอบหืด การไปพบแพทย์มีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากอาการของโรคอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากมีอาการเกิดขึ้นให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อจะได้รับมือกับอาการนี้ได้อย่างปลอดภัย
ในบางกรณี เด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อาการของโรคหอบหืดอาจจะหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม โรคนี้จะเป็นโรคประจำตัวสำหรับหลาย ๆ คนไปตลอดชีวิต
โรคหอบหืดในผู้ใหญ่
โรคหอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย รวมทั้งในวัยผู้ใหญ่ ผลจากการศึกษาในปี 2013 พบว่า การเกิดโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการเป็นเกิดต่อเนื่องจากวัยเด็กมาสู่วัยผู้ใหญ่
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดในวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ :
-
โรคทางเดินหายใจ
-
การแพ้และการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
-
อิทธิพลของฮอร์โมน
-
ความเครียด
-
การสูบบุหรี่
โรคหอบหืดจากการทำงาน
โรคหอบหืดจากการทำงาน เกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองในที่ทำงาน
ในสถานที่ทำงานที่มีอยู่ในรายการต่อไปนี้ อาจจะมีสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดโรคหอบหืดในผู้ที่มีความไวหรือภูมิแพ้ได้ :
-
ร้านเบเกอรี่ โรงแป้ง และห้องครัว
-
โรงพยาบาลและสถานพยาบาลอื่น ๆ
-
ร้านขายสัตว์เลี้ยง สวนสัตว์ และห้องปฏิบัติการที่มีสัตว์อยู่
-
ฟาร์มและสถานที่ทางการเกษตรอื่น ๆ
อาชีพดังต่อไปนี้ เป็นอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารระคายเคืองที่อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้ :
-
ซ่อมและผลิตรถยนต์
-
วิศวกรรมและงานโลหะ
-
งานไม้และช่างไม้
-
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และการประกอบอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิค
-
ร้านทำผม
-
สระว่ายน้ำในร่ม
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหอบหืด ได้แก่:
-
ผู้ที่สูบบุหรี่
-
ผู้ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
-
ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้สารในสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมการทำงาน สามารถกระตุ้นให้คนที่เคยเป็นโรคหอบหืดมาก่อนในวัยเด็กกลับมาเป็นโรคหอบหืดใหม่ได้ในวัยผู้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นสาเหตุในการเริ่มต้นของการเป็นโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ได้
โรคหอบหืดที่รุนแรงและควบคุมได้ยาก
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าประมาณ 5-10 เปอร์เซนต์ ของผู้ที่เป็นโรคหอบหืด เป็นโรคหอบหืดขั้นรุนแรง
ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงด้วยสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคหอบหืด เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจไม่ถูกต้องทำให้มีอาการของโรครุนแรงขึ้น
สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดดื้อยาอย่างรุนแรง (refractory asthma) จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาแม้จะใช้ยาในปริมาณมาก พ่นยา หรือสูดยาอย่างถูกต้องก็ตาม โรคหอบหืดประเภทนี้เกิดขึ้น 3.6% ของผู้ป่วย (จากการศึกษาในปี คศ. 2015)
โรคหอบหืด Eosinophilic เป็นโรคหอบหืดอีกประเภทหนึ่ง ที่หากมีอาการรุนแรงอาจไม่ตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษาตามปกติ แม้ว่าบางคนที่เป็นโรคหอบหืด eosinophilic สามารถใช้ยารักษาได้ (ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดตามมาตรฐานทั่วไป) แต่อาจรักษาได้ด้วยการบำบัดแบบเจาะจงด้วย “ชีวบำบัด” โดยใช้ยาชีวภาพชนิดหนึ่งซึ่งจะช่วยลดจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด eosinophils ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหอบหืด
โรคหอบหืดตามฤดูกาล
โรคหอบหืดชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัวเราในบางช่วงเวลาของปีเท่านั้น อาการหอบหืดตามฤดูกาล อาจเกิดจาก อากาศเย็นในฤดูหนาว ละอองเกสรดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน
ผู้ป่วยโรคหอบหืดตามฤดูกาลจะยังคงมีอาการของโรคตลอดปี เพียงแต่ไม่ค่อยแสดงอาการ
โรคหอบหืดไม่ได้มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้เสมอไป อย่างไรก็ตาม ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างโรคหอบหืดที่เกิดจากภูมิแพ้ และโรคหอบหืดที่ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ให้มากขึ้น
สาเหตุโรคหอบหืด
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุของโรคหอบหืด แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรค
ปัจจัยบางอย่าง เช่น ความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ อาจเป็นได้ทั้งสาเหตุและตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืด ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ข้างล่างนี้
การตั้งครรภ์ Pregnancy
ผลจากการศึกษาโรคหอบหืดชิ้นหนึ่งพบว่า การสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้ทารกในครรภมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดในภายหลังเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงให้ทารกในครรภ์เกิดโรคหอบหืดในภายหลัง และผู้หญิงบางคนก็มีอาการหอบหืดกำเริบในขณะที่ต้ังครรภ์อยู่
โรคอ้วน
บทความฉบับหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ในปี 2014 ได้นำเสนอไว้ว่าพบผู้ป่วยหอบหืดในกลุ่มคนที่เป็นโรคอ้วนมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคนี้ ผู้เขียนได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่ามีกรณีศึกษาหนึ่งที่กล่าวว่าการลดน้ำหนักของเด็กที่เป็นโรคอ้วนทำให้อาการของโรคหอบหืดดีขึ้นด้วย
ปัจจุบันนี้มีหลักฐานจำนวนมากที่บ่งชี้ว่า ภาวะทั้ง 2 อย่างนี้เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการอักเสบเรื้อรัง และสามารถอธิบายเพื่อเชื่อมโยงกันได้
โรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายรู้สึกไวต่อสารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ ซึ่งเมื่ออาการแพ้เกิดขึ้นแล้วจะมีปฏิกิริยาการแพ้ทุกครั้งที่สัมผัสกับสารก่อการแพ้นั้น
ไม่ใช่เพียงผู้ป่วยโรคหอบหืดเท่านั้นที่มีอาการภูมิแพ้ แต่พบว่ามักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกัน หากผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้บางชนิดอาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้
การศึกษาในปี 2013 ฉบับหนึ่ง พบว่า 60–80 เปอร์เซนต์ ของเด็กและเยาวชนที่เป็นโรคหอบหืดจะมีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้อย่างน้อย 1 ชนิด
การสูบบุหรี่
โรคหอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่ทำให้ปอดได้รับความเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะของปอดที่มีความสัมพันธ์กับยาสูบ เช่น โรคปอดอุดตันเรื้อรัง และอาจทำให้อาการโรคหอบหืดมีความรุนแรงมากขึ้น
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
มลพิษทางอากาศทั้งภายในบ้านและภายนอกบ้าน อาจส่งผลต่อพัฒนาการและกระตุ้นอาการของโรคหอบหืด
สารก่อภูมิแพ้บางอย่างภายในบ้าน ได้แก่
-
เชื้อรา mold
-
ฝุ่นละออง
-
ขนสัตว์และสะเก็ดผิวหนังของสัตว์
-
ควันจากน้ำยาทำความสะอาด และสีในครัวเรือน
-
แมลงสาบ
-
ขนนก
สิ่งกระตุ้นอื่นๆ ภายในและภายนอกบ้าน ได้แก่:
-
เกสรดอกไม้
-
มิลพิษทางอากาศจากการจราจรและแหล่งอื่นๆ
-
โอโซนภาคพื้นดิน
ความเครียด
ภาวะเครียดและปฏิกิริยาทางอารมณ์อื่นๆ เช่น มีความสุข โกรธ ตื่นเต้น หัวเราะ ร้องไห้ สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืดได้
นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานที่เป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ที่มีภาวะสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าอาจมีแนวโน้มที่จะแสดงอาการของโรคหอบหืด
มีผู้เสนอแนวคิดว่า ความเครียดในระยะยาวอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ พันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม( epigenetic) ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหอบหืดเรื้อรัง
ปัจจัยทางพันธุกรรม
มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าโรคหอบหืดถ่ายทอดทางพันธุกรรม เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำแผนที่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมบางอย่างที่อาจมีบทบาทต่อวิวัฒนาการ
เป็นสิ่งที่ความเชื่อถือได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม( epigenetic) นี้เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยแวดล้อมทำให้ยีนเปลี่ยนแปลงไป
ปัจจัยด้านฮอร์โมน
ประมาณ 5.5เปอร์เซนต์ของผู้ชาย และ 9.7 เปอร์เซนต์ของผู้หญิงเป็นโรคหอบหืด นอกจากนี้ อาจมีอาการแตกต่างกันไปตามระยะการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงและช่วงเวลาต่างๆ ของรอบประจำเดือน
ตัวอย่างเช่น ในช่วงวัยเจริญพันธุ์อาการหอบหืดอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงมีประจำเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่นๆ ของเดือน แพทย์ให้คำนิยามว่า โรคหอบหืดระหว่างมีประจำเดือน อย่างไรก็ตามในช่วงวัยหมดประจำเดือนอาการของโรคหอบหืดอาจดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าการทำงานของฮอร์โมนอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ทางเดินหายใจมีความรู้สึกต่อสิ่งที่มากระตุ้นไวเกินไป
ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดไม่ต่อเนื่องอาจมีอาการเพียงบางครั้งเท่านั้น
นี่แหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก