คำจำกัดความของอาการปวดกระดูก (Bone Pain) คือความเจ็บปวดความอ่อนน่วม หรือความรู้สึกไม่สบายอื่นๆ ในกระดูก
สาเหตุที่สำคัญที่สุดของอาการปวดกระดูกคือมะเร็งกระดูก โรคนี้มักเกิดขึ้นกับกระดูกยาวของต้นแขนหรือขา แต่อาจส่งผลต่อกระดูกอื่นๆ ได้ด้วย เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในกระดูกเรียกว่ามะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ
อาการปวดที่เกิดจากมะเร็งกระดูกอาจมีอาการดังต่อไปนี้:
-
เริ่มรู้สึกอ่อนน่วมในกระดูก
-
เจ็บกระดูกตลอดเวลาและปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
-
ปวดอย่างต่อเนื่องในตอนกลางคืนและเมื่อพักผ่อน
-
ปวดกระดูกทั้งตัว
ควรไปพบแพทย์เมื่อใด
ควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้:
-
ปวดกระดูกอย่างรุนแรง
-
มีอาการปวดกระดูกไม่หาย และปวดอยู่ตลอดเวลา
-
มีอาการปวดตัวปวดกระดูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หากมีอาการบวม หรือแดงในบริเวณรอบๆ กระดูกที่ปวด หรือหากมีกระดูกหักหลังจากได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
มีสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้อีกไหม?
มีสาเหตุอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดอาการปวดกระดูก ได้แก่:
-
ข้ออักเสบ (Arthritis)
-
มะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ (หรือระยะแพร่กระจาย) ซึ่งเป็นมะเร็งที่ลุกลามไปยังกระดูกหลังจากเกิดขึ้นในส่วนอื่นของร่างกาย
-
a fracture following an accident or another trauma injury กระดูกหักหลังจากได้รับอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บจากบาดแผลอื่นๆ
-
การติดเชื้อ
-
มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เริ่มเป็นในไขกระดูก
-
การติดเชื้อที่กระดูกเรียกว่า osteomyelitis
-
โรคกระดูกพรุน ( Osteoporosis ) ซึ่งเกิดจากภาวะการขาดแคลเซียม (calcium) และวิตามินดี (vitamin D) ทำให้กระดูกเปราะ
-
โรคที่ขัดขวางไม่ให้เลือดเข้าไปเลี้ยงกระดูกเลือดไปเลี้ยงกระดูก เช่น โรคโลหิตจางชนิด sickle cell anemia
-
กระดูกหักที่มีสาเหตุของการบาดเจ็บมาจากการบิด ที่มักเกิดกับเด็กในวัยหัดเดินที่เรียกว่า Toddler’s fracture
-
ความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้นในเด็กและวัยรุ่น
-
กระดูกถูกใช้งานมากเกินไป
อาการของมะเร็งกระดูก
นอกจากปวดกระดูกแล้ว อาการเหล่านี้ก็อาจเป็นข้อบ่งชี้ของมะเร็งกระดูกได้ :
-
บวม แดง หรืออักเสบ inflammation (redness) ในกระดูก หรือบริเวณรอบกระดูกที่ได้รับผลกระทบ
-
มีก้อนบวมบนกระดูก หรือใกล้กับบริเวณที่ใกล้กับกระดูกที่ได้รับผลกระทบ
-
กระดูกหักหลังจากหกล้มหรือได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมะเร็งกระดูกทำให้กระดูกเปราะ
อาการอื่นๆ ที่พบได้น้อย ซึ่งอาจรวมถึง :
-
มีไข้ ( fever ) หรือมีอาการหนาวสั่น
-
เหนื่อยล้า fatigue
-
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
-
มีเหงื่อออกในเวลากลางคืน
ทางเลือกในการรักษามะเร็งกระดูก
จุดมุ่งหมายในการรักษามะเร็งกระดูก เพื่อบรรเทาอาการปวด รักษากระดูกที่หัก ป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของกระดูก
มะเร็งกระดูกมีแนวทางในการรักษาแตกต่างกันไปตามชนิดและระยะการลุกลามของมะเร็งในร่างกาย
ซึ่งรวมถึง:
-
การผ่าตัด Surgery: เป็นการเอาส่วนของมะเร็งกระดูกออก ซึ่งศัลยแพทย์อาจจะทำการปลูกถ่ายเซลล์กระดูกขึ้นมาใหม่ภายหลังการผ่าตัด แต่ในบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องตัดกระดูกบางส่วนออกไป
-
การทำเคมีบำบัด: เป็นการรักษามะเร็งโดยใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์และเนื้อเยื่อมะเร็ง
-
การใช้รังสีบำบัด: เป็นการรักษามะเร็งโดยใช้รังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
-
การรักษาด้วยยา Mifamurtide: ยา mifamurtide เป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งกระดูกชนิดออสทีโอซาร์โคมา (osteosarcoma)โดยเฉพาะ การรักษาแบบนี้ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้โจมตีและฆ่าเซลล์มะเร็ง
ทางเลือกในการรักษาสำหรับสาเหตุอื่น
การรักษาอาการปวดกระดูกที่ไม่ได้เกิดมะเร็ง มักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการปวด
การวินิจฉัยของแพทย์จะเป็นข้อกำหนดทิศทางการรักษา ซึ่งอาจประกอบด้วย:
-
การให้ยาแก้อักเสบ
-
การให้ยาปฏิชีวะนะ antibiotics
-
การให้ยาบรรเทาปวดหรือยาแก้ปวด
-
การให้ฮอร์โมน
-
การให้อาหารเสริม แคลเซียม และวิตามินดี (สำหรับโรคกระดูกพรุน)
-
การให้ยากันชัก ซึ่งอาการปวดกระดูกมักมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเส้นประสาท
-
การให้ยา corticosteroids
-
การให้ยารักษาอาการซึมเศร้า antidepressants
แนวโน้ม
แนวโน้มของมะเร็งกระดูกอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ:
-
อายุ
-
ชนิดของมะเร็งกระดูก
-
ระยะของมะเร็งที่ลุกลามในร่างกาย
-
โอกาสที่มะเร็งจะลุกลามต่อไป
มะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิพบได้น้อยมาก สอดคล้องกับรายงานข้อมูลของ American Cancer Society ที่ระบุว่า ในปี 2019 มีผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิประมาณ 3,500 คน ซึ่งคิดเป็น 0.2 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งทั้งหมด
ผู้ป่วยมะเร็งในระยะที่ยังไม่ลุกลามและมีสุขภาพดี มีแนวโน้มที่จะได้รับการรักษาที่ตรงจุดมาก และมีโอกาสหายจากโรค
จากสถิติพบว่า ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิจะมีชีวิตอยู่ได้ 1 ปีขึ้นไป ในขณะที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์มีชีวิตอยู่ได้ 5 ปีหรือยาวนานกว่านั้น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก