

ปวดน่อง (Calf Pain) เป็นความน่ารำคาญเล็กน้อย หรือรุนแรงพอที่จะทำให้คนเลี่ยงการเดิน
มีหลายเงื่อนไขที่อาจส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อน่องเช่นเดียวกับหลอดเลือดและโครงสร้างอื่นๆที่อยู่รอบๆมัน โชคดีที่หลายสาเหตุของอาการปวดน่องสามารถรักษาได้ง่าย
สาเหตุของอาการปวดน่อง
เงื่อนไขและสถานการณ์ที่หลากหลายอาจทำให้เกิดอาการปวดน่องรวมทั้ง:
1. ตะคริว (Muscle cramp)
อาการปวดกล้ามเนื้อน่องจากตะคริวมักเกิดขึ้นชั่วคราว แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดและไม่สุขสบายอย่างมีนัยสำคัญ
สาเหตุของการปวดน่องจากตะคริว:
-
ขาดน้ำ (dehydration)
-
สูญเสียแร่ธาตุจากการเสียเหงื่อ
-
ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
-
ออกกำลังกายนาน
2. กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle strain)
กล้ามเนื้อน่องฉีกขาดเกิดเมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อภายในน่องเกิดการฉีกขาดบางส่วนหรือทั้งหมด
อาการมีหลากหลายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการฉีกขาด แต่ส่วนใหญ่อาการจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ปวดคล้ายมีของแหลมแทงและปวดร้าวไปทั่วน่อง
3. การอุดกั้นของหลอดเลือดแดง (Arterial claudication)
ผู้ที่เคยปวดน่องเนื่องจากการตีบหรืออุดตันภายในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงขา เรียกว่าการอุดกั้นของหลอดเลือดแดง
การอุดกั้นของหลอดเลือดแดงเป็นเหตุให้ปวดเวลาเดิน เพราะการเคลื่อนไหวดังกล่าวต้องการเลือดมาเลี้ยงที่ขาส่วนล่าง
หากเลือดไหลเวียนลำบากเนื่องจากการตีบหรืออุดตัน จะทำให้ปวดน่อง
ผู้ที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงจะรู้สึกสบายขณะพัก แต่จะปวดในไม่กี่นาทีหลังจากที่เดิน
4. การอุดกั้นทางระบบประสาท (Neurogenic claudication)
การอุดกั้นทางระบบประสาทเกิดเมื่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงที่ขาถูกกด ส่งผลต่อการสื่อประสาทไปยังขาส่วนล่าง
การอุดกั้นทางระบบประสาทมักเกิดจากสภาวะที่เรียกว่า โรคช่องไขสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis) ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจากการที่กระดูกในกระดูกสันหลังแคบลงจนทำให้เกิดแรงกดทับเส้นประสาทมากขึ้น ไซอาติก้า (Sciatica) เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการอุกกั้นทางระบบประสาท
นอกจากอาการปวดน่องแล้ว อาการของการอุดกั้นทางระบบประสาท มีดังนี้:
- ปวดขณะเดิน
- ปวดหลังจากที่ยืนนานๆ
- อาการปวดที่เกิดขึ้นที่ต้นขา หลังส่วนล่าง หรือก้น
- อาการปวดมักจะดีขึ้นเมื่อโน้มตัวไปข้างหน้า

บุคคลอาจมีอาการปวดน่องจากการอุกกั้นทางระบบประสาทขณะพักผ่อน
5. เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendinitis)
เอ็นร้อยหวายเป็นเอ็นที่เหนียวเชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกส้นเท้า
หากกล้ามเนื้อน่องของคนเราตึงเป็นพิเศษอาจทำให้เกิดแรงกดทับที่เอ็นร้อยหวาย ส่งผลให้มีอาการปวดน่อง
ผู้คนมีแนวโน้มที่จะมีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ หากพึ่งเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกายหรือเตรียมการออกกำลังกายซ้ำ
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อยๆขะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
6. ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (Compartment syndrome)
ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงเป็นภาวะที่ปวดมากจนทำให้ปวดกล้ามเนื้อที่น่องหรือที่ขาทั้งสองข้าง มักเกิดภายหลังที่ได้รับบาดเจ็บ หรือการบาดเจ็บที่รุนแรง
ภาวะดังกล่าวเกิดจากเลือดหรือของเหลวถูกสร้างขึ้นภายใต้แถบเนื้อเยื่อที่แข็งภายในร่างกายทำให้ไม่สามารถยืดเหยียดได้ดี โดยของเหลวที่ถูกสร้างขึ้นจะไปกดทับเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงที่ขาส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการปวด, บวม, ชา และรู้สึกเสียวแปลบ
อีกรูปแบบหนึ่งของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง คือ อาการเรื้อรัง หรือมีอาการเมื่อออกแรง ซึ่งประเภทนี้จะปวดเมื่อออกกำลังกาย
อาการที่เกี่ยวข้องกับอาการเรื้อรังของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง ได้แก่ อาการชา, การมองเห็นไม่ชัดเจน หรือกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น หรือมีปัญหาในการขยับเท้า
7. อาการเส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน (Diabetic neuropathy)
อาการเส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่เกิดเมื่อบุคคลที่เส้นประสาทถูกทำลายเนื่องจากโรคเบาหวาน
การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงบ่อยครั้งสามารถทำลายเส้นประสาทภายในร่างกายได้ มักเริ่มจากที่มือและเท้า
บางครั้ง อาการเสียวแปลบและอาการชาเป็นเหตุให้เกิดการปวดเมื่อยและไม่สุขสบาย ซึ่งลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อน่อง
8. โรครองช้ำ (Plantar fasciitis)
โรครองช้ำเป็นภาวะที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อพังผืดใต้ฝ่าเท้า
หากกล้ามเนื้อน่องตึงเกินไป คนอาจมีอาการของพังผืดที่ฝ่าเท้ามากกว่า เนื่องจากกล้ามเนื้อน่องไม่สามารถรองรับเท้าได้
อาการส่วนใหญ่ของโรครองช้ำคือปวดเท้าขณะเดินและยากที่จะกระดกเท้า
9. เส้นเลือดขอด (Varicose veins)
เส้นเลือดขอด คือ หลอดเลือดดำขยาย มักโป่งนูนที่บริเวณขา และมีลักษณะคล้ายปม เกิดขึ้นเมื่อวาล์วภายในหลอดเลือดดำขากลับเสียหาย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด:
-
อายุ
-
มีประวัติครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด
-
ความแปรปรวนของฮอร์โมน
-
การตั้งครรภ์
-
ขาดการออกกำลังกาย
เส้นเลือดขอดส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ขา และเป็นเหตุให้เกิดความปวด, สั่น, ตะคริว
10. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก (Deep vein thrombosis)
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก เป็นผลจากลิ่มเลือดที่รวมตัวในหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้ปวดรุนแรงมากและส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขา
ผู้ที่จะมีการพัฒนาของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกได้ หากได้นั่งนานๆ เช่น นั่งบนเครื่องบิน หรือหากมีความดันโลหิตสูง หรือมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
อาการของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกได้แก่ ปวดน่อง ซึ่งมักเกิดบ่อยๆและอาการจะแย่ลงเมื่อได้ยืนหรือเดิน ขาจะบวมและมีรอยแดงหรือการอักเสบเกิดขึ้นบริเวณนั้นเนื่องจากปัญหาในการไหลเวียนของเลือด
การรักษาอาการปวดน่อง
การรักษาอาการปวดน่องขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิด
ผู้คนสามารถรักษาอาการปวดน่องที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือการใช้งานมากเกินไปได้โดยวิธี PRICE ที่ย่อมากจาก:
-
การป้องกัน (Protection): ใช้ผ้าพันแผล, ผ้าดาม หรือทำให้เท้า, ข้อเท้า หรือน่องเคลื่อนที่ไม่ได้ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและให้กล้ามเนื้อได้พัก
-
พัก (Rest): เลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อน่องเท่าที่เป็นไปได้
-
ความเย็น (Ice): ประคบเย็นเป็นเวลา 10-15 นาที ช่วยลดการอักเสบ โดยสามารถหาซื้อเจลเย็นได้ตามร้านขายยาหรือทางออนไลน์ได้
-
การบีบ (Compression): พันน่องด้วยผ้าพันแผลที่ยืดหยุ่นหรือสวมถุงน่องแบบที่บีบรัดเพื่อลดอาการบวม
-
การยกสูง (Elevation): ยกขาสูงบนหมอนเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนและลดอาการบวม
สาเหตุอื่นที่ทำให้ปวดน่องอาจรักษาด้วยยาหรือกระบวนการรักษาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ
การยืดเหยียด (Stretches)
การวอร์มอัพด้วยการเดินในระดับปานกลางก่อนออกกำลังกายที่เข้มข้นสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อฉีกขาดได้
นอกจากนี้ บุคคลอาจเลือกที่จะยืดกล้ามเนื้อเบาๆเพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
บุคคลควรตรวจกับแพทย์ก่อนเริ่มการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าการยืดจะไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น
การยืดเหยียดที่มีประโยชน์สำหรับอาการปวดน่อง ได้แก่:
การยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอาจช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงและไม่สบายตัวได้
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
บุคคลควรรับการรักษาฉุกเฉินหากสงสัยว่ามีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก อาการของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก ได้แก่ ปวด, บวม และร้อนที่ขาข้างเดียว
สัญญาณเตือนอื่นๆที่ควรเข้ารับการรักษาสำหรับอาการปวดน่อง:
-
มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
-
ขาบวม โดยมีลักษณะซีด หรือสัมผัสแล้วเย็น
-
ขาบวมมากขึ้นมาทันที
สาเหตุบางประการของอาการปวดน่องทำให้ต้องไปพบแพทย์ในเวลาทำการ ได้แก่:
-
ปวดขณะเดิน
-
ขาบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
-
เป็นเส้นเลือดขอดที่ปวดมาก
-
อาการไม่ดีขึ้นภายหลังพักอยู่บ้าน 1-2วัน
หากบุคคลมีความกังวลเกี่ยวกับอาการปวดน่องที่น่ารำคาญหรือการปวดอย่างต่อเนื่อง การนัดพบแพทย์จะช่วยคลายกังวลได้
การวินิจฉัยอาการปวดน่อง
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมิน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการดึงหรือกล้ามเนื้อฉีกขาด
หากแพทย์พบปัญหาที่รุนแรง แพทย์อาจสั่งตรวจอัลตราซาวน์ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยการอัลตราซาวน์ดังกล่าวจะสามารถจำแนกได้ดังนี้:
-
การตีบหรืออุดตันภายในหลอดเลือดแดง (Arterial claudication)
-
เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendinitis)
-
อาการเส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน (Diabetic neuropathy)
-
ผังผืดที่ฝ่าเท้า (Plantar fascia)
-
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก (Deep vein thrombosis)
การอัลตราซาวน์ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อสามารถให้คพแนะนำเกี่ยวกับการรักษาด้วยการฉีดยา
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/pain-management/ss/slideshow-why-does-my-calf-muscle-hurt
-
https://www.mayoclinic.org/symptoms/leg-pain/basics/when-to-see-doctor/sym-20050784
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก