โรคหูตึง (Deafness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหูตึง (Deafness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

02.05
1845
0

อาการหูตึง (Deafness) คือความบกพร่องทางการได้ยิน หูหนวกหรือสูญเสียการได้ยิน คืออาการที่หูไม่สามารถได้ยินเสียงทั้งหมดหรือได้ยินเพียงบางส่วน

อาการมีตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง แต่แม้ว่าความบกพร่องทางการได้ยินจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อปัญหาการทำความเข้าใจในการพูดได้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีเสียงรบกวนรอบข้าง ส่วนผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินระดับปานกลางอาจต้องใช้เครื่องช่วยฟัง

กรณีผู้ปัญหาทางการได้ยินขั้นรุนแรง อาจต้องพึ่งพาการอ่านริมฝีปากเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น คนที่หูหนวกถาวรที่ไม่สามารถได้ยินอะไรเลย ต้องอาศับการอ่านริมฝีปากหรือภาษามือเท่านั้น

สาเหตุของอาการหูตึง

โรคหรือพฤติกรรมบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดอาการหูตึง ได้แก่ :

  • โรคอีสุกอีใส
  • โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส
  • โรคคางทูม
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease)
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคลายม์ (Lyme Disease)
  • โรคเบาหวาน จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะสูญเสียการได้ยินบางประเภท 
  • การรักษาวัณโรค (TB) ด้วยยาสเตรปโตมัยซินซึ่งเชื่อว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

  • โรคข้ออักเสบ
  • มะเร็งบางชนิด
  • วัยรุ่นผู้สัมผัสควันบุหรี่จากผู้อื่น

หูชั้นในเป็นที่ตั้งของกระดูกที่บอบบางที่สุดของร่างกาย ดังนั้นความเสียหายที่เกิดที่แก้วหูหรือหูชั้นกลางจึงทำให้สูญเสียการได้ยินและหูตึงได้

อาการหูตึง

ความแตกต่างระหว่างการสูญเสียการได้ยินกับอาการหูตึง

ปัจจัยในการแยกแยะการสูญเสียการได้ยินกับอาการหูตึง

การสูญเสียการได้ยิน: ความสามารถในการได้ยินเสียงลดน้อยกว่าคนปกติ

อาการหูตึง: บุคคลไม่สามารถเข้าใจคำพูดผ่านการได้ยินแม้ว่าจะขยายเสียงแล้วก็ตาม

หูตึงอย่างรุนแรง: หมายถึงการไม่ได้ยินใด ๆ เลย บุคคลที่มีอาการหูตึงรุนแรงจะไม่สามารถได้ยินเสียงใด ๆ เลย

ความรุนแรงของความบกพร่องทางการได้ยินแบ่งตามระดับความดังของเสียงที่ได้ยิน จึงจะสามารถเลือกเครื่องรับเสียงที่เหมาะสมได้

การวินิจฉัยอาการหูตึง และหูตึงถาวร ต้องอาศัยการวินิจฉัยโรคหูหนวกอย่างละเอียด ตรวจสอบระดับเสียงที่ได้ยิน

การรับเสียงทำงานอย่างไร 

คลื่นเสียงเข้าสู่หูผ่านไปตามรูหูหรือช่องหู แล้วไปกระทบกับแก้วหูทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน แรงสั่นสะเทือนจากแก้วหูจะถูกส่งไปยังกระดูกสามชิ้นที่เรียกว่า ossicles ที่อยู่ในหูชั้นกลาง

กระดูกเหล่านี้จะขยายคลื่นเสียงแล้วส่งแรงสั่นสะเทือนต่อไปยังเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายขนขนาดเล็ก ๆ ในหูชั้นในรูปหอยโข่ง

สมองจะแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวเหล่านี้ที่ถูกส่งผ่านประสาทหูไปยังสมอง เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นเสียง

ประเภทของการสูญเสียการได้ยินมี 3 ประเภท ได้แก่:

1) การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากสื่อประสาทไฟฟ้า

การสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงไม่ได้ถูกส่งผ่านจากหูชั้นนอกไปยังหูชั้นในโดยเฉพาะหูชั้นในรูปหอยโข่ง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ :

  • การสะสมของขี้หูมากเกินไป
  • หูชั้นกลางอักเสบ
  • หูติดเชื้อ อักเสบและเกิดของเหลวสะสม
  • เยื่อแก้วหูทะลุ
  • ความผิดปกติของกระดูก ossicles
  • แก้วหูทะลุ

Deafness

การติดเชื้อในหูสามารถทำให้เนื้อเยื่อเกิดบาดแผล ซึ่งลดประสิทธิภาพการทำงานของแก้วหู กระดูกอาจมีความบกพร่องเนื่องมาจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บ หรืออาการที่กระดูกติดรวมกัน เรียกอาการนี้ว่ากระดูกหลอมรวมกัน

2) การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากโรคหูตึงเฉียบพลัน

การสูญเสียการได้ยินเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ประสาทหู ประสาทหูหรือสมองเสียหาย

การสูญเสียการได้ยินประเภทนี้เกิดจากเซลล์รูปขนในหูชั้นในรูปหอยโข่งเสียหาย เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ขนจะมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความสามารถในการได้ยินจึงเสื่อมลง

การได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะเสียงที่มีความถี่สูงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์ขนเสียหาย เซลล์ขนที่เสียหายไม่สามารถแก้ไขได้ มีความพยายามศึกษาเพื่อหาทางสร้างเซลล์ขนใหม่ทดแทน

การหูตึงแบบเฉียบพลันยังเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ อย่างการติดเชื้อในหูชั้นใน หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

3) การสูญเสียการได้ยินจากหลายอาการผสมกัน

เป็นอาการสูญเสียการได้ยินที่เกิดความผิดปกติในการรับสื่อกระแสไฟฟ้าและอาการแบบเฉียบพลัน อาจเกิดขากการติดเชื้อในหูแบบเนื้อรังซึ่งสามารถทำลายแก้วหู และกระดูก 3 ชิ้นได้ บางครั้งการรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้การได้ยินกลับคืนมาได้ แต่ก็อาจไม่ได้ผลดีเสมอไป

อาการความบกพร่องทางการได้ยินขึ้นกับสาเหตุต่าง ๆ  บางคนเกิดมาก็ไม่สามารถได้ยินเสียงใด ๆ บางคนเกิดอาการหูตึงเนื่องมาจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย แต่ส่วนมากอาการหูตึงจะค่อยๆเกิดขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ภาวะบางอย่างอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน เช่นหูอื้อ หรือโรคหลอดเลือดสมอง

ความบกพร่องทางการได้ยินในทารก

สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาการได้ยิน ได้แก่:

  • ก่อนอายุ 4 เดือนทารกไม่หันศีรษะไปทางที่เกิดเสียงดัง
  • อายุ 12 เดือนทารกยังไม่สามารถพูดอะไรได้เลย
  • เด็กทารกไม่สะดุ้งตื่นเวลาเสียงดัง
  • ทารกตอบสนองเมื่อมองเห็นเท่านั้น แต่ตอบสนองน้อยหรือไม่ตอบสนองเลยหากมองไม่เห็น หรือได้ยินแต่เสียงเรียก
  • ทารกมีอาการรับรู้เสียงบางอย่างเท่านั้น

ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็กเล็ก

สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาการได้ยิน ได้แก่:

  • เด็กสื่อสารกับเด็กคนอื่น ๆ ด้วยการอ่านปาก
  • เด็กพูดว่า“ อะไรนะ” หรือ “ขอโทษนะ” บ่อย ๆ
  • เด็กพูดเสียงดัง หรือมีแนวโน้มที่จะส่งเสียงดังกว่าปกติ
  • เวลาพูดคำพูดของพวกเขาจะค่อยไม่ชัดเจน

ระดับของอาการหูตึง

อาการหูตึงเล็กน้อย หรือบกพร่องทางการได้ยินเล็กน้อย: บุคคลสามารถรับรู้เสียงที่ความดัง 25 ถึง 29 เดซิเบล (dB) เท่านั้น พวกเขาอาจมีอุปสรรตในการเข้าใจคำของผู้อื่น ยิ่งในกรณีที่มีเสียงรบกวน

อาการหูตึงปานกลาง หรือบกพร่องทางการได้ยินปานกลาง: บุคคลสามารถรับรู้เสียงที่ความดัง 40 ถึง 69 dB เท่านั้น ต้องอาศัยเครื่องช่วยฟังเพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการสนทนากับผู้อื่น

อาการหูตึงรุนแรง: บุคคลสามารถรับรู้เสียงที่ความดังมากกว่า 70 ถึง 89 เดซิเบล คนหูตึงรุนแรงต้องอ่านริมฝีปาก หรือใช้ภาษามือในการสื่อสาร ร่วมกับการใช้เครื่องช่วยฟัง

อาการหูตึงถาวร: ผู้ที่ไม่สามารถได้ยินเสียงที่ต่ำกว่า 90 dB ได้ยังถือเป็นอาการหูตึง หากหูหนวกจะไม่ได้ยินเสียงใด ๆ ได้เลย การสื่อสารต้องใช้ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก การอ่านหรือการเขียน

การรักษาอาการหูตึง

การช่วยให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินรับฟังเสียงได้ดีขึ้น แต่แนวทางการรักษาก็ขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรงของอาการหูตึงด้วย

การสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลันไม่สามารถรักษาให้หายขาด เมื่อเซลล์ขนในกระดูกหูชั้นในรูปก้นหอบเสียหายจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ แต่การรักษาและอุปกรณ์เสริมจะช่วยปรับปรุงคุณภาพการได้ยิน

เครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อช่วยการได้ยิน

เครื่องช่วยฟังมีหลายประเภท หลายขนาดตามรูปแบบและระดับของเสียง เครื่องช่วยฟังไม่ได้ช่วยรักษาอาการหูตึง  แต่ช่วยขยายเสียงให้ผู้ฟังได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น

เครื่องช่วยฟังประกอบด้วยแบตเตอรี่ ลำโพงขยายเสียง และไมโครโฟน ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ปลอดภัยและสามารถใส่เอาไว้ในหูได้ หากเป็นรุ่นที่ทันสมัยจะสามารถแยกแยะเสียงระหว่างเสียงพื้นหลัง และเสียงเบื้องหน้าได้ อย่างเสียงพูด และเสียงในสภาพแวดล้อม

เครื่องช่วยฟังไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการหูตึงรุนแรง

การนำมาใช้งานต้องอาศัยการสังเกตด้วยว่าผู้ใช้กับอุปกรณ์มีความเข้ากันได้ดี อาจต้องปรับแต่งให้เกิดความเหมาะกับผู้ใช้งานแต่ละคน

ประสาทหูเทียม กรณีแก้วหูและหูชั้นกลางทำงานไม่มีประสิทธิภพา แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยประสาทหูเทียม

เป็นการนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีลักษณะบางใส่เข้าไปในหูชั้นในรูปก้นหอย จากนั้นใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นการได้ยินของหู

การใช้ประสาทหูเทียมเหมาะกับผู้ป่วยหูตึงที่มีสาเหตุจากความเสียหายของเซลล์ขนในหูชั้นในรูปก้นหอย การใส่อุปกรณ์จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในการพูด ช่วยให้ผู้ป่วยเพลิดเพลินกับเสียงเพลง เกิดความเข้าใจเสียงพูดได้ดีขึ้น แม้จะมีเสียงรบกวนบ้างก็ตาม

กรณีผู้ป่วยเป็นเด็กมักใช้ประสาทหูเทียมในหูทั้งสองข้าง แต่กรณีของผู้ใหญ่มักใช้แค่ข้างเดียว

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *