คลื่นไส้และอาเจียนต่างกันยังไง (Difference Between Nausea and Vomiting) 

คลื่นไส้และอาเจียนต่างกันยังไง (Difference Between Nausea and Vomiting) 

15.11
1868
0

อาการคลื่นไส้ (Nausea)  และอาเจียน (Vomiting)เป็นอาการของภาวะต่างๆ มากมาย รวมถึงการตั้งครรภ์ในระยะแรก การถูกกระทบกระแทก และไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ 

คลื่นไส้และอาเจียนคืออะไร

อาการคลื่นไส้ และอาเจียนไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการของภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อ อาหารเป็นพิษ อาการเมารถ การรับประทานมากเกินไป ลำไส้อุดตัน การเจ็บป่วย การถูกกระทบกระแทก หรือการบาดเจ็บที่สมอง ไส้ติ่งอักเสบ และไมเกรน 

แต่คลื่นไส้ และอาเจียนในบางครั้งอาจเป็นอาการของโรคร้ายแรง เช่น หัวใจวาย ความผิดปกติของไต หรือตับ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เนื้องอกในสมอง และมะเร็งบางชนิด

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปวดหัวไมเกรน

ความต่างของอาการคลื่นไส้-อาเจียน

อาการคลื่นไส้เป็นอาการไม่สบายของกระเพาะอาหารซึ่งมักจะมาพร้อมกับการกระตุ้นให้อาเจียน แต่ก็ไม่ได้ทำให้อาเจียนเสมอไป 

ในขณะที่การอาเจียนเป็นการบังคับให้ล้างอาหารในกระเพาะอาหารออกทางปากอาจจะโดยจงใจ หรือไม่จงใจด้วยการได้รับการกระตุ้นจากบางอย่างที่อาจส่งผลให้อาเจียน

สาเหตุของการคลื่นไส้ และอาเจียน

สาเหตุของการคลื่นไส้ และอาเจียน มักจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยร่วมกัน สาเหตุทั่วไปได้แก่

  • อาการเมาเรือ และอาการเมารถอื่นๆ
  • ตั้งครรภ์ในระยะแรก
  • เจ็บป่วย
  • การสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ
  • ความเครียดทางอารมณ์ หรือความกลัว
  • โรคถุงน้ำดี
  • อาหารเป็นพิษ
  • อาหารไม่ย่อย
  • ไวรัสต่างๆ
  • กลิ่นบางอย่าง

และการอาเจียนสามารถจากการติดเชื้อไวรัส และอาหารเป็นพิษ และบางครั้งอาจเป็นผลมาจากอาการเมารถ และอาการป่วยที่บุคคลนั้นมีไข้สูง การรับประทานมากเกินไป รวมทั้งลำไส้อุดตันก็อาจจะเป็นสาเหตุ

อาเจียนโดยปกติมักไม่เป็นอันตราย เว้นแต่ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้

  • การถูกกระทบกระแทก
  • โรคไข้สมองอักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ลำไส้อุดตัน
  • ไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดศีรษะไมเกรน
  • เนื้องอกในสมอง
  • ภาวะขาดน้ำ
    • ปากแห้ง
    • หายใจเร็ว
    • ปัสสาวะลดน้อยลง

ควรพบแพทย์เมื่อใด

หากอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ โดยอาจจะมองสัญญาณอันตรายต่อไปนี้

  • อาเจียนไม่หยุดนานกว่า 2-3 ชั่วโมง
  • ท้องเสีย
  • ภาวะขาดน้ำ
  • มีไข้สูง
  • ไม่ปัสสาวะ
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ความง่วง
  • ความสับสน
  • ความตื่นตัวลดลง
  • ปวดท้องรุนแรง
  • หายใจเร็ว
  • หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ป้องกันการคลื่นไส้ และอาเจียน

คลื่นไส้สามารถป้องกันได้ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้

  • รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวันแทนมื้อใหญ่
  • รับประทานช้าๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารมีกลิ่น
  • พักผ่อนหลังรับประทานอาหาร และยกศีรษะให้สูงจากเท้าประมาณ 12 นิ้วจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้

และอย่าลืมดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

การอาเจียนสามารถป้องกันได้ดังนี้

  • ดื่มน้ำหวานเล็กน้อย เช่น โซดาป๊อป น้ำผลไม้ (ยกเว้นส้มและเกรปฟรุตเพราะมีกรดมากเกินไป) 
  • รับประทานไอศกรีม
  • พักผ่อนในท่านั่ง หรือในท่านอนหงาย หยุดกิจกรรมที่อาจทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง และอาจนำไปสู่การอาเจียน
  • ไม่รับประทานอาหารมากเกินไป
  • ใช้ยาโดยขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *