ภูมิแพ้ไรฝุ่นเป็นปฏิกิริยาการแพ้ต่อแมลงตัวเล็ก ๆ ที่มักอาศัยอยู่ในฝุ่นตามบ้านเรือน สัญญาณของการแพ้ไรฝุ่น ได้แก่อาการไข้ละอองฟางซึ่งพบได้บ่อย เช่น การจาม น้ำมูกไหล ผู้ที่แพ้ไรฝุ่นมาก ๆ ยังมีอาการหอบหืด เช่น หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก
ไรฝุ่น คือ
ตัวไรฝุ่นคือแมลงที่ใกล้เคียงกับเห็บและแมงมุม มีขนาดเล็กจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ไรฝุ่นจะกินเซลล์ผิวหนังมนุษย์ที่ผลัดออกมา พวกมันเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น จึงพบในบ้านได้บ่อย โดยเฉพาะบริเวณที่นอน เฟอร์นิเจอร์ที่มีเบาะหุ้ม และพรมปูพื้น
การกำจัดไรฝุ่นในบ้านจะช่วยควบคุมอาการแพ้ไรฝุ่นได้ บางครั้งจำเป็นต้องใช้ยา หรือวิธีการรักษาอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการและจัดการกับโรคหอบหืด
อาการของภูมิแพ้ไรฝุ่น
อาการแพ้ไรฝุ่น เกิดจากการอักเสบของจมูก ได้แก่:
- จาม
- น้ำมูกไหล
- คันตา ตาแดง หรือน้ำตาไหล
- คัดจมูก
- ระคายเคืองที่จมูก เพดานปาก หรือคอหอย
- เสมหะในคอ
- ไอ
- ใบหน้า ตึงและเจ็บ
- หนังใต้ตาบวม และเป็นสีคล้ำ
- กรณีเด็กเป็นภูมิแพ้ ให้สังเกตว่าเด็กชจะขยี้จมูกบ่อย ๆ
หากมีอาการแพ้ไรฝุ่นร่วมกับอาการของโรคหอบหืด อาจมีอาการดังนี้:
- หายใจลำบาก
- แน่นหรือเจ็บหน้าอก
- หายใจมีเสียงหวีด หรือเสียงดังฮืด ๆ เวลาหายใจออก
- ปัญหาในการนอนหลับเนื่องจากหายใจถี่ ไอ หรือหายใจมีเสียงหวีด
- อาการไอหรือหายใจมีเสียงหวีดอาจแย่ลง เมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่
อาการแพ้ไรฝุ่นมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง การแพ้ไรฝุ่นเล็กน้อยอาจทำให้มีน้ำมูกไหล น้ำตาไหล และจามเป็นครั้งคราว แต่หากอาการรุนแรง อาการอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (เรื้อรัง) ส่งผลให้จาม ไอ คัดจมูก หน้าตึง หรือมีอาการหอบหืดที่รุนแรง
ควรไปพบแพทย์เมื่อใด
อาการและลักษณะของภูมิแพ้ไรฝุ่นคล้ายกับอาการของไข้หวัด เช่น น้ำมูกไหล หรือจาม บางครั้งจึงยากที่จะรู้ว่าผู้ป่วยเป็นหวัด หรือเป็นภูมิแพ้ ดังนั้นหากเกิดอาการนานกว่า 1 สัปดาห์ ให้สันนิษฐานว่าอาจมีอาการแพ้
หากอาการและลักษณะของโรครุนแรงขึ้น เช่น คัดจมูกอย่างรุนแรง หายใจมีเสียงหวีด หรือนอนหลับยาก ให้รีบปรึกษาแพทย์ หรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉินหากหายใจดังมีเสียงดังฮืด ๆ หายใจถี่มากขึ้น หรือหายใจลำบากแม้จะทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย
สาเหตุ
อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำปฏิกิริยากับสิ่งแปลกปลอม เช่น ละอองเกสร สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง หรือตัวไรบนที่นอน ระบบภูมิคุ้มกันจะผลิตโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดีขึ้นมาปกป้องร่างกายจากผู้บุกรุก ทำให้ป่วยหรือทำให้เกิดการติดเชื้อ
เมื่อมีอาการแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างแอนติบอดีสำหรับสารก่อภูมิแพ้โดยเฉพาะ โดยระบุว่าเป็นสิ่งที่อันตราย แม้ว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปก็ตาม เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองต่อการอักเสบในช่องจมูกหรือปอดทันที การได้รับสารก่อภูมิแพ้เป็นเวลานานหรือเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่อง (เรื้อรัง) อย่างกรณีของโรคหอบหืด
ไรฝุ่นกินสารอินทรีย์ เช่น เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วของมนุษย์ และแทนที่จะดื่มน้ำ พวกมันดูดซับน้ำจากความชื้นในบรรยากาศ
ภายในฝุ่นยังประกอบด้วยอุจจาระ และร่างกายที่เน่าเปื่อยแล้วของไรฝุ่น กลายเป็นโปรตีนที่มีอยู่ใน “เศษ” ของไรฝุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการแพ้ไรฝุ่นได้เช่นกัน
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ไรฝุ่น
มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีแนวโน้มที่จะไวต่อไรฝุ่นเพิ่มขึ้น หากสมาชิกในครอบครัวมีอาการแพ้
การสัมผัสกับไรฝุ่น การสัมผัสกับไรฝุ่นในระดับสูง โดยเฉพาะในวัยเด็ก จะเพิ่มความเสี่ยงของภูมิแพ้ได้
เป็นเด็กหรือวัยรุ่น มีแนวโน้มจะเกิดอาการแพ้ไรฝุ่นมากขึ้นในช่วงวัยเด็ก หรือวัยรุ่น
ภาวะแทรกซ้อน
หากมีอาการแพ้ไรฝุ่น การสัมผัสกับไรฝุ่นและเศษซากของไรฝุ่นอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้
การติดเชื้อไซนัส การอักเสบอย่างต่อเนื่อง (เรื้อรัง) ของเนื้อเยื่อในช่องจมูกที่เกิดจากการแพ้ไรฝุ่น จะขัดขวางการทำงานของไซนัส ซึ่งเป็นโพรงกลวงที่เชื่อมต่อระหว่างทางเดินหายใจในจมูก สิ่งกีดขวางเหล่านี้อาจเพิ่มโอกาสติดเชื้อที่ไซนัส (ไซนัสอักเสบ) ให้มากขึ้น
โรคหอบหืด ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและภูมิแพ้ไรฝุ่นมักมีปัญหาในการบรรเทาอาการหอบหืด เมื่อเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที หรือรับการดูแลแบบฉุกเฉิน
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก