อาการหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea) คือ ความผิดปกติที่หายใจสั้นๆ บางครั้งเราเรียกว่า “Air hunger” อาการนี้จะทำให้เรารู้สึกไม่สบาย
อาการหายใจถี่มีตั้งแต่เล็กน้อย ชั่วคราวไปจนถึงรุนแรงและยาวนาน บางครั้งก็ยากที่จะวินิจฉัย และรักษาอาการหายใจไม่อิ่ม เนื่องจากสามารถเป็นได้จากสาเหตุหลายประการ
อาการนี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย
อาการหายใจไม่อิ่ม
อาการหายใจไม่อิ่มสามารถจากการออกแรงที่มากเกินไป การอยู่ที่สูง หรือการอยู่ท่ามกลางสภาวะอื่นๆ
สัญญาณที่บ่งบอกว่ามีอาการหายใจไม่อิ่ม ได้แก่
- หายใจถี่หลังจากออกแรง หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ
- รู้สึกหายใจไม่ออก
- หายใจไม่อิ่ม
- แน่นหน้าอก
- หายใจเร็ว และตื้น
- ใจสั่น
- หายใจไม่ออก
- ไอ
หากมีอาการหายใจไม่อิ่มอย่างกะทันหัน หรือรุนแรง นั่นคือ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
สาเหตุของการหายใจไม่อิ่ม
อาการหายใจไม่อิ่มไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพเฉพาะตัวเสมอไป ทุกคนสามารถรู้สึกหายใจไม่ออกหลังจากออกกำลังกายอย่างหนัก หรืออยู่ที่สูง หรือต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน
อย่างไรก็ตามอาการหายใจไม่อิ่มมักเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ บางครั้งอาจเป็นเพียงชั่วคราว และการออกกำลังกายสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่อาการหายใจไม่อิ่มอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
ถ้าหายใจถี่อย่างกะทันหัน เรียกว่า ภาวะหายใจไม่อิ่มเฉียบพลัน
อาการหายใจไม่อิ่มเฉียบพลันเกิดจาก
- โรคหอบหืด
- ความวิตกกังวล
- โรคปอดอักเสบ
- การสำลัก หรือมีสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจ
- อาการแพ้
- โรคโลหิตจาง
- การสูญเสียเลือดอย่างรุนแรง
- การสัมผัสกับคาร์บอนมอนอกไซด์ในระดับที่เป็นอันตราย
- หัวใจล้มเหลว
- ความดันโลหิตต่ำ
- เส้นเลือดอุดตันในปอด
- ปอดแฟบ
- กระบังลมผิดปกติ
อาการหายใจไม่อิ่มพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการป่วยระยะสุดท้าย
หากมีอาการหายใจถี่ๆ เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน เรียกว่า อาการหายใจไม่อิ่มเรื้อรัง
อาการหายใจไม่อิ่มเรื้อรังเกิดจาก
- โรคหอบหืด
- ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- โรคเกี่ยวกับหัวใจ
- โรคอ้วน
- โรคพังผืดในปอด
ปัญหาสุขภาพปอดบางอย่างทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม เช่น
- โรคซาง
- ปอดได้รับความเสียหาย
- โรคมะเร็งปอด
- วัณโรค
- เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
- อาการปอดบวม
- ความดันโลหิตในปอดสูง
- ปอดอักเสบ
อาการหายใจไม่อิ่มอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพหัวใจ
- โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- หัวใจล้มเหลว
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
วิธีการรักษาอาการหายใจไม่อิ่ม.
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา
ผู้ป่วยที่หายใจไม่ออกเนื่องจากการออกแรงมากเกินไปอาการจะดีขึ้น เมื่อหยุดกิจกรรม และผ่อนคลาย
ในกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนเพิ่มเติม ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง มียาขยายหลอดลมช่วยหายใจสำหรับใช้ในกรณีที่จำเป็น
สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง แพทย์จะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยเพื่อดำเนินการรักษาอย่างถูกวิธี
โดยเป็นการพัฒนาแผนการรักษาที่ช่วยป้องกันอาการเฉียบพลัน และชะลอการลุกลามของโรคโดยรวม
หากอาการหายใจไม่อิ่มมาจากอาการของโรคหอบหืดโดยทั่วไปจะตอบสนองต่อยา เช่น ยาขยายหลอดลม เป็นต้น
เมื่อเกิดจากการติดเชื้อ เช่น ปอดบวมจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะสามารถช่วยบรรเทาได้
ยาอื่น ๆ เช่น ยาหลับ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาต้านความวิตกกังวล ก็สามารถใช้ในการรักษาได้เช่นกัน
อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดจาก COPD สามารถปรับปรุงได้ด้วยเทคนิคการหายใจแบบพิเศษ เช่น การหายใจโดยใช้ปาก และการฝึกเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ
ผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้ได้จากคอร์สการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
หากการทดสอบบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ แพทย์จะให้ออกซิเจนเสริม อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่หายใจถี่ จะมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
จากข้อมูลของ Dyspnea Lab ผู้ที่มีอาการหายใจไม่อิ่มหลายคนพบว่า การไหลเวียนของอากาศเย็นเบา ๆ บริเวณศีรษะและใบหน้าช่วยให้อาการดีขึ้นได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/314963
- https://www.healthline.com/health/dyspnea
- https://www.webmd.com/lung/shortness-breath-dyspnea#1
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก