อาการปัสสาวะขัด (Dysuria) คือ อาการที่มีความเจ็บปวดระหว่างการปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด โดยสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ และสามารถรักษาได้หายขาดได้ ผู้มีภาวะปัสสาวะขัดควรแจ้งให้แพทย์ทราบอาการอื่น ๆ ที่มีร่วมด้วย ซึ่งหากสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัสสาวะขัดก็สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และแนะนำการรักษาที่เหมาะสมได้
สาเหตุของปัสสาวะขัด
ภาวะต่างๆ มากมายที่เป็นสาเหตุให้เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้
สาเหตุที่เป็นไปได้ 10 อย่างดังต่อไปนี้ที่อาจเกิดควบคู่กับปัสสาวะขัด
การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection :UTI )
เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียจากภายนอกเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ และออกไปสู่ทางเดินปัสสาวะ โดยร่างกายจะมีการทำงานของไตร่วมกับกระเพาะปัสสาวะ โดยการนำปัสสาวะออกจากร่างกาย
ผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในเทียม โรคหนองในแท้ และเริม ล้วนส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ และนำไปสู่อาการแสบขัด เมื่อถ่ายปัสสาวะ
อาจพบอาการแตกต่างกันไปตามประเภทของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น โรคเริมมักทำให้เกิดแผลคล้ายตุ่มที่อวัยวะเพศ
การติดเชื้อต่อมลูกหมาก
การติดเชื้อแบคทีเรียในระยะสั้นสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อต่อมลูกหมาก หรือต่อมลูกหมากอักเสบ(Prostatitis) การอักเสบเรื้อรัง (Inflammation) จากภาวะอื่น เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจทำให้เกิดต่อมลูกหมากอักเสบได้เช่นกัน
อาการเพิ่มเติมได้แก่
- ปัสสาวะลำบาก
- ปวดในกระเพาะปัสสาวะอัณฑะและอวัยวะเพศ
- หลั่งยาก และมีความเจ็บปวดเวลาหลั่ง
- ปวดปัสสาวะบ่อยๆ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
นิ่วในไต
นิ่วในไต เกิดจากการสะสมแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ( calcium) หรือกรดยูริก จะสร้างก้อนหินแข็งๆ ขึ้นในไต หรือรอบๆ ไต
บางครั้งนิ่วในไตจะอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณที่น้ำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดเวลาขับถ่ายปัสสาวะได้เช่นกัน
อาการเพิ่มเติม ได้แก่
- ปวดหลัง และเอว
- ปัสสาวะมีสีชมพู หรือสีน้ำตาล (สีน้ำล้างเนื้อ)
- ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง และคลื่นไส้อย่างรุนแรง
- มีไข้
- หนาวสั่น
- ถ่ายปัสสาวะน้อย แต่บ่อยครั้ง
ซีสต์ในรังไข่
ซีสต์ในรังไข่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่อยู่นอกกระเพาะปัสสาวะที่ไปกดทับอยู่บนกระเพาะปัสสาวะเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บปวด เมื่อปัสสาวะ เช่นเดียวกับผลที่เกิดจากนิ่วในไต
ซีสต์ในรังไข่สามารถเกิดขึ้นที่รังไข่ซึ่งอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของกระเพาะปัสสาวะ โดยสามารถเกิดที่รังไข่ข้างเดียว หรือทั้ง 2 ข้างก็ได้
อาการเพิ่มเติม ได้แก่
- มีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติ
- ปวดกระดูกเชิงกราน
- ปัสสาวะไม่สุด
- ปวดประจำเดือน
- เจ็บตึงที่เต้านม (เต้านมคัด)
- ปวดหลังส่วนล่าง
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง แบบไม่ติดเชื้อ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังแบบไม่ติดเชื้อ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะเรื้อรังเป็นเวลา 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยไม่มีการติดเชื้อ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังแบบไม่ติดเชื้อ อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- มีแรงดันในกระเพาะปัสสาวะ
- เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธุ์
- เจ็บปวดในช่องคลอด
- เจ็บปวดในถุงอัณฑะ
- ปัสสาวน้อย แต่บ่อย
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถก่อให้เกิดความไวต่อสารเคมี ได้แก่
- น้ำยาสวนล้างช่องคลอด
- สบู่
- กระดาษชำระที่มีกลิ่นหอม
- สารหล่อลื่นในช่องคลอด
- ห่วงคุมกำเนิด
ผู้แพ้ผลิตภัณฑ์เคมีอาจสังเกตเห็น
- บวม
- รอยแดง
- คัน
- ระคายเคืองผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ
การระคายเคืองหรือติดเชื้อในช่องคลอด
ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) หรือช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Vaginosis) การติดเชื้อในช่องคลอดอาจเกิดขึ้นได้เนื่องการเจริญเติบโตมากเกินไปของแบคทีเรีย หรือยีสต์
อาการเพิ่มเติมได้แก่
- ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น หรือตกขาวผิดปกติ
- ระคายเคืองช่องคลอด
- เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย
การได้รับยาบางชนิด
ยาบางชนิดรวมถึงยารักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้ระคายเคือง และทำให้เนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะขัดได้
ในผู้ที่เริ่มใช้ยาใหม่ และเริ่มรู้สึกเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะควรปรึกษาแพทย์ และถามว่าอาจเป็นอาการข้างเคียงที่มีผลมาจากยาหรือไม่ ไม่ควรตัดสินใจหยุดกินยาด้วยตนเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน
อาการแตกต่างกันไปตามยาที่ได้รับ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
สำหรับปัสสาวะขัดจากมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยมักจะสังเกตเห็นเลือดในน้ำปัสสาวะ
อาการอื่นๆ ของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
- ปวดหลังช่วงล่าง
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- อ่อนเพลีย
- เท้าบวม
- ปวดกระดูก
ความแตกต่างอาการปัสสาวะขัดในเพศชายและเพศหญิง
ปัสสาวะขัดเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง และมีสาเหตุขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายวิภาค ตัวอย่างเช่นเพศหญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าเพศชาย มีผลทำให้ให้แบคทีเรียมักจะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ทางเลือกของการรักษาที่เป็นไปได้
ทางเลือกในการรักษาอาการปวดปัสสาวะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่หลัก ได้แก่
- การรักษาโรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ด้วยยาปฏิชีวนะ หากมีอาการของโรครุนแรง และมีผลต่อไตอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
- การรักษาต่อมลูกหมากอักเสบด้วยยาปฏิชีวนะ หากมีต่อมลูกหมากอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเรื้อรังอาจใช้เวลานานถึง 12 สัปดาห์ การรักษาต่อมลูกหมากอักเสบด้วยวิธีอื่นๆ ที่เป็นไปได้ ได้แก่ ยาแก้การอักเสบที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (OTC) การนวดต่อมลูกหมาก การอาบน้ำร้อน และยาที่เรียกว่า alpha-blockers ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อรอบต่อมลูกหมากคลายตัว
- หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่เป็นกรด หรือด่างรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ ใกล้กับอวัยวะเพศ เนื่องจากอาจนำไปสู่การระคายเคืองได้ อาการของผู้ป่วยมักจะหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อการระคายเคืองนั้นมีสาเหตุจากสารเคมี
การดูแลรักษาอาการปัสสาวะขัดที่บ้านมักรวมถึงการใช้ยาแก้อักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้ายขายยาทั่วไป
แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อทำให้ปัสสาวะเจือจางลงซึ่งจะส่งผลทำให้ความเจ็บปวดลดน้อยลง การพักผ่อน และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยบรรเทาอาการส่วนใหญ่ได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/symptoms/painful-urination/basics/causes/sym-20050772
- https://www.webmd.com/women/dysuria-causes-symptoms
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15176-dysuria-painful-urination
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK291/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก