อาการปวดหู (Earache) หรือปวดในหูเป็นเรื่องปกติมากโดยเฉพาะอย่างในเด็ก ปวดหูเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือเกิดจากการติดเชื้อ อาการปวดหูมักจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษาใดๆ อย่างไรก็ตามหากยังไม่รู้สึกดีขึ้นหรือมีอาการอื่นๆ ที่รุนแรงกว่านี้ คุณอาจต้องไปพบแพทย์
หูมีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้ยินและการทรงตัวของเรา ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับหูอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น สูญเสียการได้ยิน วิงเวียนศีรษะ หรือเสียงในหู
บทความนี้จะให้ภาพรวมของปัญหาโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับหู และให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขที่อาจแตกต่างออกไปในแต่ละบุคคล
โครงสร้างและหน้าที่ของหู
หูแบ่งออกเป็น 3 ส่วนอย่างคร่าวๆ
หูชั้นนอก (ภายนอก) ประกอบด้วย:
ส่วนที่เห็นเรียกว่า ใบหู (pinna)
โครงสร้างคล้ายท่อแคบ – รูหู
แก้วหูซึ่งอยู่ปลายรูหู. ซึ่งจะแยกหูชั้นนอกออกจากหูชั้นกลาง แก้วหูเป็นเยื่อบางๆ ที่ยืดแน่นคล้ายกับผิวของกลอง
หูชั้นกลางเป็นช่องเติมอากาศ ภายในมีกระดูกที่เล็กที่สุด 3 ชิ้น เรียกว่า กระดูกค้อน (malleus) กระดูกทั่ง (incus) และกระดูกโกลน (stapes) กระดูกเหล่านี้เชื่อมต่อกัน และกระดูกโกลนที่อยู่ท้ายสุดจะต่ออยู่กับหูชั้นใน ช่องว่างของหูชั้นกลางเชื่อมต่อกับด้านหลังของจมูกด้วยท่อยูสเตเชียน
หูชั้นในประกอบด้วย 2 ส่วน:
คอเคลีย – มีลักษณะคล้ายก้นหอย (รูปหอยทาก) ภายในบรรจุของเหลว และมีเซลล์ขนที่ทำหน้าที่พิเศษจำนวนมาก เซลล์เหล่านี้เปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนจะส่งผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง
ระบบการทรงตัวซึ่งช่วยเรื่องการทรงตัว ประกอบด้วยหลอดครึ่งวงกลมที่เรียกว่า เซมิเซอร์คูลาร์แคแนล (semicircular canals) ระบบการทรงตัวจะตรวจจับการเคลื่อนไหวแทนเสียง
หูมีความสำคัญต่อการได้ยินและการทรงตัว
สาเหตุของการปวดหู
อาการปวดหูเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
การติดเชื้อในหูชั้นกลาง (หูชั้นกลางอักเสบ)
หูชั้นกลางอักเสบเป็นสาเหตุของอาการปวดหูในเด็กที่พบบ่อยมากจะพบบ่อยที่สุดในเด็กวัยอนุบาล มักเกิดขึ้นหลังจากเป็นหวัด อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ แต่ถือเป็นเรื่องที่ไม่ปกตินัก
เด็กที่เป็นโรคหูน้ำหนวกจะมีอาการปวดหูและมักมีไข้ หูชั้นกลางอักเสบส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นได้เองและรักษาด้วยการกินยาแก้ปวดเท่านั้น หากลูกของคุณยังเด็กมากหรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ถ้าแพทย์อาจพิจารณาสั่งยาปฏิชีวนะเพิ่มให้
การติดเชื้อในช่องหู (Otitis Externa)
Otitis externa คือการติดเชื้อที่ส่วนนอกของรูหู ทำให้เกิดอาการอักเสบภายในของบริเวณหูชั้นกลาง การติดเชื้อชนิดนี้มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบบ่อยในคนที่ว่ายน้ำ นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีอาการทางผิวหนัง เช่น กลากบริเวณใบหู
หากหูชั้นกลางอักเสบ อาจรู้สึกว่าเจ็บหรือคันหู มีของเหลวไหลออกมาจากหู รู้สึกหูอื้อ และไม่สามารถได้ยินเหมือนปกติ
การรักษาโรคหูน้ำหนวกมักใช้ยาหยอดหูหรือสเปรย์ฉีดหู โดยปกติแล้วต้องไปพบแพทย์เพื่อรับใบสั่งยา หรืออาจใช้ยาหยอดหูที่มีส่วนประกอบของกรดอะซิติก ที่เรียกว่า acetic acid ear drops (EarCalm®) ที่สามารถรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบได้ โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป การหยอดยาชนิดนี้จะทำให้ภายในหูของเรามีความเป็นกรดมากขึ้น จึงมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียได้ดีขึ้น แต่หากเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง อาจต้องใช้ยาป้องกันการติดเชื้อ เช่น ยาหยอดหูที่เป็นยาปฏิชีวนะ
หากคุณเคยเป็นโรคหูน้ำหนวกภายนอกมาก่อน และรับรู้ถึงอาการ คุณสามารถซื้อยาหยอดหูที่เป็นกรดอะซิติกจากร้านขายยาทั่วไปมาหยอดรักษาเองได้ แต่อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการโรคหูน้ำหนวกเป็นครั้งแรก ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและยืนยันโรค
ขี้หู
หูจะผลิตสารคล้ายขี้ผึ้ง (ขี้หู)เพื่อปกป้องช่องหูของเรา โดยปกติขี้หูจะหลุดออกจากหูของเราเองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามในบางครั้งอาจมีขี้หูอุดกั้นช่องหูทำให้รู้สึกหูอื้อข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างและอาจรู้สึกอึดอัดได้ บางครั้งเราจะได้ยินเสียงดังหรือมีเสียงในหูเมื่อมีขี้หูติดอยู่ข้างใน หรือบางครั้งอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะได้ด้วย
อย่าพยายามเอาขี้หูออกด้วยก้านสำลี (cotton bud) เพราะก้านสำลีสามารถดันขี้หูเข้าไปในรูหูของเราและทำให้เกิดขี้หูอุดตันได้
ขี้หูสามารถกำจัดออกได้ด้วย น้ำมัน ยาหยอดหู น้ำมันมะกอกอุ่น หรือโซเดียมไบคาร์บอเนตหยอดหู (หาซื้อได้จากร้านขายยา) โดยใช้หยอดวันละ 3 ครั้ง จะสามารถช่วยให้หายได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากยังไม่หายในะระยเวลาดังกล่าวนี้ ต้องไปพบแพทย์ปฏิบัติทั่วไป (GP surgery) เพื่อทำการล้างขี้หูออกด้วยน้ำ (Irrigation)
เป็นหวัด
บางครั้งโรคไข้หวัดสามารถทำให้เกิดอาการปวดหูได้โดยที่ไม่มีการติดเชื้อในหู เนื่องจากเมือกที่ถูกผลิตออกมาในเวลาที่เราเป็นหวัดมีมากเกินไป บางส่วนของเมือกอาจสะสมอยู่ในหูชั้นกลาง เมื่อสะสมมากขึ้นจะไปกดแก้วหูทำให้มีอาการปวดหู โดยปกติแล้วอาการหวัดจะดีขึ้นได้เอง การรักษาที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหูในกรณีนี้ ได้แก่
-
การสูดดมไอน้ำ
-
ยาลดน้ำมูก (ไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น)
-
ยาแก้ปวดทั่วไป
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
สิ่งแปลกปลอมทุกอย่างอาจเข้าไปติดในหูได้ โดยเฉพาะในเด็ก แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้อีกด้วย สิ่งแปลกปลอมที่สามารถเข้าไปในหู ได้แก่ ลูกปัด เมล็ดพืช ของเล่น ดอกฝ้าย และแมลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหู หูหนวก หรือมีน้ำมูก เรา(หมายถึงคนอื่น) อาจมองเห็นสิ่งแปลกปลอมในช่องหูได้ อย่าพยายามเอาออกด้วยตัวเอง เพราะอาจเป็นการดันสิ่งแปลกปลอมนั้นให้ลึกเข้าไปในช่องหูมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้แก้วหูเสียหายได้ ทางที่ดีควรไปพบแพทย์ โดยปกติสามารถเอาสิ่งแปลกปลอมออกได้ด้วยคีม หรือโดยการล้างออกด้วยน้ำ (irrigation)
การบาดเจ็บที่หู
การแหย่สิ่งของเข้าไปในหู เช่น ก้านสำลี หรือของมีคม อาจทำให้รูหูเสียหายหรือเป็นแผลได้ การเป็นแผลในหูอาจทำให้เกิดอาการปวดซึ่งมักจะหายไปได้เอง อย่างไรก็ตามการเป็นแผลในหูอาจทำให้มีการติดเชื้อได้ ดังนั้นหากอาการปวดไม่หายไป หรือหากเริ่มมีหนองหรือของเหลวไหลออกมาจากหู ควรรีบไปพบแพทย์
เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นแผล ควรหลีกเลี่ยงการแหย่หู แม้ว่ามันจะคันหรือคิดว่ามีขี้หูอยู่ก็ตาม
แก้วหูฉีกขาดหรือทะลุ อาจเกิดจากวัตถุที่แหย่เข้าไปในหู หรืออาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อยู่ในที่มีเสียงดังมากๆ โดนตบ หรือถูกชกอย่างแรงที่หู การบาดเจ็บที่ศีรษะที่รุนแรงอื่นๆ ก็อาจทำให้แก้วหูเสียหายได้เช่นกัน แก้วหูทะลุมักทำให้เกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลันและรุนแรง อาจมีเลือดออกจากหู ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้ยินเช่นกัน แก้วหูทะลุมักจะหายได้เอง อย่างไรก็ตามหากอาการปวดหรืออาการอื่นๆ ไม่หายไป ควรไปปรึกษาแพทย์
การเดินทางโดยเครื่องบิน และการดำน้ำ
การเปลี่ยนแปลงของความดันขณะเครื่องบินเริ่มลดเพดานบินลงมักทำให้เกิดอาการปวดในหู ซึ่งมักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่คล้ายกันนี้อาจเกิดขึ้นได้กับการดำน้ำลึก (scuba diving) หรือแม้แต่ตอนลงลิฟต์ หากอาการปวดนี้ยังไม่หายไปภายใน 2-3 วันหลังจากบินหรือดำน้ำ ควรรีบไปพบแพทย์
ฝี ตุ่ม และสิว
ฝี ตุ่ม และสิว สามารถเกิดขึ้นที่หูได้เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในร่างกาย หากอยู่ด้านนอกของหู เราจะสามารถมองเห็นได้ แต่หากอยู่ในช่องหูอาจมองไม่เห็นและไม่รู้ว่าอาการเจ็บปวดนั้นมาจากไหนตำแหน่งใด ตุ่มเล็ก ๆ หรือฝีมักจะหายได้เองด้วยการอาบน้ำอุ่น อย่างไรก็ตามหากมีขนาดใหญ่มาก บวมแดง หรือปวดมาก อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ หรืออาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือใช้เข็มฉีดยาเจาะเพื่อดูดออก
อาการเจ็บเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับหู
บางครั้งอาการปวดในหูไม่เกี่ยวกับหู แต่มาจากที่อื่น สาเหตุของอาการปวดที่ในหู ได้แก่ :
-
ปัญหาเกี่ยวกับฟัน เช่น การงอกของฟันในเด็ก ฟันคุดที่เกิดขึ้นใหม่ หรือฝีในรากฟัน
-
ปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร เช่น กรดไหลย้อน หรือการอักเสบของหลอดอาหาร
-
ปัญหาเกี่ยวกับต่อมน้ำลาย เช่น นิ่ว หรือการติดเชื้อ
-
ปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกร เช่น โรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
โรคงูสวัด
โรคงูสวัด เป็นภาวะการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส (ไวรัส varicella-zoster) ถูกกระตุ้นขึ้นในเส้นประสาทเพียงเส้นเดียว ทำให้เกิดอาการปวดและมีผื่นขึ้นในบริเวณผิวหนังที่เส้นประสาทนั้นไปเลี้ยง ในบางครั้งโรคงูสวัดอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่เชื่อมโยงไปถึงหู ซึ่งอาจจะอาการดังนี้:
-
ปวดในหูหรือที่หูชั้นนอกหรือทั้งสองอย่าง
-
มีผื่นพุพองที่หู
-
สูญเสียการได้ยิน
-
เวียนหัว
-
มีเสียงดังในหู (หูอื้อ)
-
เมื่อยล้าใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้ใบหน้าดูไม่สมดุล
หากคิดว่าอาจจะเป็นโรคงูสวัดบริเวณใบหู ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาจะได้ผลดีที่สุดหากเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แต่โรคงูสวัดบางชนิดไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาก็สามารถหายเองได้
ถ้าปวดหูควรทำอย่างไร
หากรู้สึกไม่สบายตัวและมีอาการปวดหู เราสามารถรักษาได้เองง่ายๆ ด้วยยาแก้ปวด เช่นพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เป็นต้น ซึ่งมักใช้ได้ดีกับอาการปวดหู อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการปวดหูควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังนี้ร่วมด้วย:
-
รู้สึกไม่สบายร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น เป็นไข้ มีผื่น อาเจียน
-
สับสนหรือง่วงนอน
-
อายุน้อยกว่า 3 เดือน
-
อายุน้อยกว่า 6 เดือน และมีไข้สูงกว่า 38 ° C
-
อายุน้อยกว่า 2 ปี และมีอาการปวดหูทั้งสองข้าง
-
อาการปวดหูยังไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 4 วัน
-
มีของเหลวไหลออกจากหู
-
รู้สึกว่ามีบางอย่างติดอยู่ในหู
-
ความเจ็บปวดนั้นรุนแรงมาก และยาแก้ปวดธรรมดาไม่สามารถช่วยอะไรได้
-
มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่หูได้ง่าย
ปัญหาอื่นๆ ของหู
มีน้ำหนองไหลออกจากหู
มีภาวะหลายอย่างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูมีน้ำหนอง ซึ่งได้มีการกล่าวถึงในหัวข้อข้างต้นแล้ว ภาวะที่สามารถที่พบบ่อย ได้แก่ :
-
แก้วหูแตก (ทะลุ) ภาวะนี้ได้กล่าวถึงไว้แล้วในข้างต้นในเรื่องการบาดเจ็บ สาเหตุที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งของแก้วหูทะลุ คือ หูชั้นกลางอักเสบ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ในสภาพเช่นนี้แก้วหูที่อักเสบจะบวม ยืดออกมาก จนแตกออก หนองที่ติดเชื้อ (เมือก) ในหูชั้นกลางจะไหลออกมาตามช่องหู และสามารถมองเห็นได้ โดยปกติเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เด็กจะมีอาการปวดหูมา 2-3 วันแล้วหลังจากนั้นจะมีอาการแย่ลงในทันที และจะมีน้ำหนองไหลออกมาให้เห็น โดยปกติแล้วหลังจากนั้น อาการปวดจะดีขึ้น เนื่องจากแก้วหูไม่ได้บวมจนแน่นอีกต่อไป (เพราะเยื่อแก้วหูขาดไปแล้ว) แก้วหูที่ทะลุจากภาวะนี้มักจะหายเป็นปกติได้เอง อย่างไรก็ตามแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ ดังนั้น ถึงแม้ว่าอาการเหลานี้จะหายได้เองก็ควรไปพบแพทย์
-
การติดเชื้อในหูชั้นนอก (otitis externa)
-
สิ่งแปลกปลอมในหู
ภาวะอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นแต่มีผลน้อยมาก ได้แก่ :
-
cholesteatoma นี่คือชื่อของการสะสมของเซลล์ที่ทำให้เกิดก้อนหลังแก้วหู
-
กะโหลกศีรษะแตก
-
เนื้องอก
โดยปกติคุณจะต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการที่หูมีน้ำหนองไหลออกมา เพื่อรับการรักษาด้วยวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุด
หูกาว
เป็นภาวะที่หูชั้นกลางมีของเหลวมากจนเต็ม ซึ่งเป็นของเหลวคล้ายกาวแทนที่จะเป็นอากาศ มักเกิดในเด็กที่มีอาการหูชั้นกลางอักเสบ ทำให้เกิดหูอื้อหรือมีเสียงก้องอยู่ในหู บางครั้งอาจทำให้ปวดหูได้
หูอื้อ
หูอื้อคือเสียงหึ่งๆ ที่ได้ยินภายในหู สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ อายุที่มากขึ้น บางครั้งอาจเกิดจากภาวะอื่น เช่น โรค Ménière’s disease หูได้รับความเสียหายจากเสียงที่ดังมากเกินไป หรือการติดเชื้อในหู ซึ่งแพทย์จะสามารถแยกแยะสาเหตุที่แท้จริงจากอาการเหล่านี้ได้
การสูญเสียการได้ยิน (หูหนวก)
มีภาวะหลายอย่างที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียการได้ยิน หนึ่งในหน้าที่หลักของหูคือช่วยให้เราได้ยิน ดังนั้นสิ่งที่ผิดปกติเกือบทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับหูอาจส่งผลต่อการได้ยินของเรา ขึ้นอยู่กับภาวะเหล่านั้นว่าอาจจะส่งผลแบบชั่วคราวหรือถาวร รักษาได้หรือไม่ หากการสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้นอย่างกระทันหันพร้อมกับอาการปวดหูและการที่มีน้ำหนองไหลออกจากหู น่าจะเกิดจากการติดเชื้อ หากเกิดขึ้นทีละน้อยเมื่อเราอายุมากขึ้น อาจเกิดจากการสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวข้องกับอายุ (presbyacusis) ขี้หูก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินที่พบบ่อยแต่รักษาได้ง่าย ส่วนในเด็กภาวะหูกาวก็เป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินที่พบได้บ่อย
ผู้ที่มีอาการสูญเสียการได้ยินควรไปพบแพทย์ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการนี้ และอาจสามารถรักษาให้หายได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุ แม้ในบางกรณีจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ (ตัวอย่างเช่นการสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวข้องกับอายุ) แพทย์จะแนะนำเครื่องช่วยฟังให้แทนการรักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของเราได้อย่างมาก
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก