ขี้หูอุดตัน (Earwax Blockage) คือ วัสดุคล้ายขี้ผึ้งสีเหลืองภายในหูมีที่มาจากต่อมไขมันในช่องหู ที่เราเรียกว่า ซีรูเมน
ขี้หูถูกผลิตออกมาจากต่อมซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นนอก มีส่วนผสมหลักเป็นน้ำมัน ฝุ่นและเศษของสิ่งแปลกปลอมที่หลงเข้าไปในรูหู รวมถึงเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ขี้หูมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ และถูกผลิตออกมาพร้อมกับคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค นอกจากนี้การที่มันไม่ละลายน้ำ ยังทำให้มันสามารถเคลือบผิวหนังที่เปราะบางภายในรูหู ช่องหูชั้นนอก และไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดในช่องหูได้
ขี้หูนั้นมีความเป็นกรดเล็กน้อยและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย หากไม่มีขี้หู ช่องหูจะแห้ง มีน้ำขังในหู และมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ
อย่างไรก็ตามเมื่อขี้หูสะสมหรือแข็งตัว อาจทำให้สูญเสียการได้ยินที่ชัดเจน
อาการของปัญหาขี้หูอุดตัน
ในผู้ที่มีขี้หูก่อตัว และแข็งตัวมากเกินไปอาจทำให้เกิดขี้หูอุดตันได้ หูที่ถูกปิดกั้นสามารถสร้างความเจ็บปวด และส่งผลกระทบต่อการได้ยิน การอุดตันของขี้หูอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- ปวดหู
- การติดเชื้อในหู
- คัน
- หูอื้อ(เสียงในหู)
- ความรู้สึกแน่นในหู
- วิงเวียนศีรษะหรือรู้สึกไม่สมดุลซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
- อาการไอเนื่องจากแรงกดจากการอุดตันไปกระตุ้นเส้นประสาทในหู
การสะสมของขี้หูมากเกินไป เป็นสาเหตุของการฟังที่ไม่ชัดเจน
สิ่งสำคัญคือ อย่าใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู เพื่อพยายามกำจัดขี้หู
การใช้สำลีก้อน และวัตถุอื่น ๆ เพื่อเช็ดเข้าไปในหู จะอาจจะดันขี้หูลงไปในช่องหู และทำให้ปัญหาแย่ลงได้
สาเหตุของผู้ที่มีขี้หูจำนวนมาก
ผู้ที่มีขี้หูจำนวนมากมีความเสี่ยงที่จะมีการอุดตันของขี้หู และการอุดตันเกิดในส่วนลึกของช่องหู การว่ายน้ำอาจทำให้บางคนเกิดขี้หูมากเกินไป ในขณะที่เครื่องช่วยฟัง และที่อุดหูป้องกันไม่ให้ขี้หูหลุดออกจากหูตามธรรมชาติซึ่งจะนำไปสู่การสะสมภายในหู การใช้สิ่งของ เพื่อขจัดขี้หูหรือบรรเทาอาการคันอาจทำให้การสะสมแย่ลง ยกตัวอย่างเช่น
- สำลีก้านหรือ Q-tips
- หมุด
- กุญแจ
- มุมผ้าเช็ดหน้า
สิ่งของเหล่านี้สามารถดันขี้หูให้ลึกเข้าไปในช่องหู นอกจากนี้ยังสามารถทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่บอบบางของหูซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายถาวร ควรทำความสะอาด หรือกำจัดขี้หูภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ปัจจัยเสี่ยงต่อการมีขี้หูจำนวนมาก
บางคนมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาขี้หูมากกว่าคนทั่วไปได้แก่
- คนที่มีช่องหูแคบหรือเล็ก
- คนที่มีช่องหูมีขนมาก
- คนที่มีการเติบโตของกระดูกอ่อนในส่วนนอกของช่องหู
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพผิว เช่น กลาก
- ผู้สูงอายุจะมีขี้หูแห้งและแข็งขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
- ผู้ที่ติดเชื้อในหูเป็นประจำ
- คนที่เป็นโรคลูปัสหรือกลุ่มอาการของโรค Sjogren
การดูแลปัญหาขี้หูจำนวนมากด้วยตนเอง
วิธีหนึ่งในการขจัดขี้หูส่วนเกินด้วยตนเอง คือ การใช้ผ้าขนหนูเช็ดรอบ ๆ ด้านนอกของหู และสามารถรับคำแนะนำเพิ่มเติมจากเภสัชกรได้
จากนี้ยังสามารถใช้ยาหยอดหูที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปได้ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นน้ำยาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ที่มีประโยชน์ในการทำความสะอาดบาดแผล เบบี้ออยล์ น้ำมันอัลมอนด์ หรือน้ำมันมะกอก กลีเซอรีน และน้ำมันแร่
ในการใช้ยาหยอดหูผู้ป่วยควรเอียงศีรษะ เพื่อให้หูที่ได้รับผลกระทบหันขึ้น หยดลงในหู 1-2 หยดแล้วรอประมาณ 1-2 นาทีในตำแหน่งนี้ จากนั้นควรเอียงศีรษะ เพื่อให้ใบหูคว่ำลงและปล่อยให้ของเหลวระบายออก
ไม่ควรใช้สำลีก้อน หรือสิ่งของอื่น ๆ เพื่อพยายามดึงขี้หูออก การใส่วัตถุเข้าไปในช่องหูสามารถทำลายเนื้อเยื่อที่บอบบางในหูและทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดี
การรักษาสำหรับผู้ที่ขี้หูเยอะ
หากไม่สามารถนำขี้หูออกด้วยตนเองได้ โปรดพบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสม
แพทย์จะใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เรียกว่า Auriscope หรือ Otoscope เพื่อตรวจดูหูตรวจสอบการสะสมของขี้หู และผลกระทบอื่นๆ ในหู
ปกติขี้หูมักจะหลุดออกไปเอง การรักษาด้วยแพทย์จำเป็นเฉพาะในกรณีที่มีขี้หูอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหรือสูญเสียการได้ยิน มีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
- แพทย์จะพยายามนำขี้หูออกให้ อาจโดยการล้างช่องหูชั้นนอกด้วยน้ำเกลือ, การคีบ หรือดูดหรือใช้เครื่องมือแคะขี้หูออก
- ถ้าไม่สามารถเอาขี้หูออกได้ เนื่องจากขี้หูอัดกันแน่นมาก หรือเอาออกได้เพียงบางส่วน แพทย์จะสั่งยาละลายขี้หูให้ไปหยอด ได้แก่ โซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งหลังจากหยอดหู จะทำให้ขี้หูในช่องหูขยายตัว และอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น ทำให้หูอื้อมากขึ้น ควรหยอดบ่อยๆ ยิ่งบ่อย ยิ่งดี (วันละ 7-8 ครั้ง) จะทำให้ขี้หูอ่อนตัวมากขึ้น และเอาออกได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ผู้ป่วยไปหยอดยาละลายขี้หูประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนัดมาดูอีกครั้ง ผู้ป่วยไม่ควรที่จะลืมหยอดหูในวันที่แพทย์นัด เพราะอาจทำให้ขี้หูแห้ง และเอาออกยาก ในวันที่มาพบแพทย์ตามนัด ควรนำยาหยอดหูมาหยอดในระหว่างที่นั่งรอพบแพทย์ด้วย เพราะจะทำให้แพทย์เอาขี้หูออกได้ง่ายขึ้น
- หลังจากแพทย์เอาขี้หูออก จนบรรเทาอาการผิดปกติของหูแล้ว ควรป้องกันไม่ให้ขี้หูอุดตันอีกโดย
- ไม่ใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู หรือปั่นหูอีก ถ้าน้ำเข้าหูทำให้รู้สึกรำคาญจนต้องปั่น หรือเช็ดหู ควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าโดยหาสำลีชุบวาสลิน หรือที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำ ซึ่งมีขายตามร้านกีฬา มาอุดหูเวลาอาบน้ำ หรือผู้หญิงที่สวมหมวกอาบน้ำ ควรดึงหมวกให้มาคลุมใบหู เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู
- อาจใช้ยาละลายขี้หู หยอดในหูเป็นประจำ เพื่อทำการล้างขี้หู อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไป เป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หู ในช่องหูชั้นนอกได้
ภาพรวมการรักษา
ขี้หูที่มากเกินไปทำให้รู้สึกไม่สบายและมีปัญหาในการได้ยิน โดยปกติแล้วสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกร หากยังไม่ดีขึ้นควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ สิ่งสำคัญคืออย่าใส่วัตถุแปลกปลอมเข้าไปในหู เพราะการทำเช่นนี้จะอาจจะสร้างความเสียหายถาวร การใช้คอตตอนบัดควรทำความสะอาดส่วนนอกของหูเท่านั้น และห้ามสะกิด หรือแหย่เข้าไปในส่วนใน ทางที่ดีหากไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/earwax-blockage/symptoms-causes/syc-20353004
- https://www.healthline.com/health/earwax-buildup
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14428-ear-wax-buildup–blockage
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก