อาการบวมน้ำ (Edema) : อาการ สาเหตุ การรักษา

อาการบวมน้ำ (Edema) : อาการ สาเหตุ การรักษา

21.02
18416
0

อาการบวมน้ำ (Edema) เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายโดยเฉพาะผิวหนังเกิดอาการคั่งของเหลว

สาเหตุและประเภทของภาวะบวมน้ำนั้นแตกต่างกันออกไป เช่น ภาวะน้ำท่วมปอดหรือภาวะปอดบวมน้ำจะส่งผลต่อปอด ในขณะที่ภาวะเท้าบวมก็จะส่งผลที่เท้า

ภาวะบวมน้ำมักเกิดขึ้นช้า ๆ แต่สามารถเกิดขึ้นเฉียบพลันก็ได้เช่นกัน ภาวะบวมน้ำพบได้บ่อยซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะและโรคร้ายแรงอีกด้วย

ภาวะบวมน้ำคืออะไร

ภาวะบวมน้ำหรือภาวะที่ร่างกายคั่งน้ำทำให้เกิดอาการบวมตามอวัยวะที่มีของเหลวคั่งอยู่ ภาวะบวมน้ำจึงหมายถึงอาการบวมน้ำอันเกิดจากอวัยวะนั้นมีน้ำอยู่มาก

อวัยวะส่วนใหญ่ที่เกิดภาวะบวมน้ำจะได้แก่ ผิวหนัง โดยเฉพาะ บริเวณมือ แขน ข้อเท้า ขา และเท้า อย่างไรก็ตาม ภาวะบวมน้ำสามารถเกิดกับกล้ามเนื้อ ลำไส้ ปอด ตา และสมองได้เช่นกัน

ภาวะนี้ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ แต่ภาวะบวมน้ำก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

อาการของภาวะบวมน้ำ

อาการของภาวะบวมน้ำขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ แต่ที่พบบ่อยคือจะมีอาการบวม ตึง และปวด

ผู้ป่วยที่มีภาวะบวมน้ำสามารถสังเกตเห็นได้ คือ:

  • ผิวหนังบวมเป่ง

  • ผิวหนังมีรอยบุ๋มหลังจากถูกกดเป็นเวลา 2-3 วินาที

  • มีอาการบวมที่ข้อเท้า ใบหน้า หรือดวงตา

  • ปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และข้อต่อแข็ง

  • น้ำหนักลดหรือเพิ่ม

  • เส้นเลือดที่มือและคอดูเต็มขึ้น

  • อัตราชีพจรและความดันโลหิตสูงขึ้น

  • มีอาการปวดศีรษะ

  • มีอาการปวดท้อง

  • พฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนไป

  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน

  • รู้สึกสับสนและรู้สึกง่วงซึมบ่อย ๆ

  • มีสายตาผิดปกติ

อาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคประเภทของภาวะบวมน้ำและตำแหน่งของภาวะบวมน้ำ

การรักษาภาวะบวมน้ำ

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะบวมน้ำ

ยาขับปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้รักษาภาวะบวมน้ำได้โดยยาขับปัสสาวะจะช่วยกำจัดของเหลวส่วนเกินโดยกระตุ้นให้ไตขับน้ำปัสสาวะเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ แพทย์ยังแนะนำการรักษาจำเพาะหากมีอาการต่าง ๆ เช่น อาการตามัว(Blurred vision) เกิดจากการบวมบริเวณจุดภาพชัด น้ำท่วมปอดและภาวะบวมน้ำประเภทอื่น ๆ

การรักษาทางเลือกและการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน

ถุงน่องทางการแพทย์ช่วยลดอาการบวมและอาการเจ็บปวดจากภาวะบวมน้ำได้

เทคนิคการดูแลตนเองบางอย่างช่วยป้องกันหรือลดภาวะบวมน้ำได้เช่นกัน

เช่น:

  • ลดการบริโภคเกลือ

  • ลดน้ำหนักตามความเหมาะสม

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

  • ยกขาขึ้นเมื่อจำเป็น เพื่อให้การไหลเวียนของของเหลวในร่างกายดีขึ้น

  • สวมถุงน่องพิเศษ ที่หาซื้อได้ทางออนไลน์

  • ไม่นั่งหรือยืนนิ่ง ๆ นานเกินไป

  • ลุกเดินและเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อนั่งยานพาหนะที่ต้องเดินทางไกล ๆ

  • หลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่สูงเกินไป เช่น การอาบน้ำร้อนและซาวน่าร้อน ๆ

  • ใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นเมื่ออยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็น

  • หมอนวดหรือนักกายภาพบำบัดช่วยปรับระดับของเหลวในร่างกายได้ โดยการรีดน้ำตามอวัยวะต่าง ๆ ไปในทิศทางที่หัวใจอยู่

การใช้ออกซิเจนสามารถรักษาภาวะบวมน้ำบางชนิด เช่น ผู้ที่มีโรคหัวใจ ภาวะน้ำเกินหรือน้ำค้างอยู่ในร่างกายมากเกินไปเนื่องจากมีภาวะไตวายร่วมด้วยต้องให้ออกซิเจนเพิ่มเพราะผู้ป่วยประเภทนี้มีปัญหาในรับออกซิเจนให้เพียงพอ

ออกซิเจนที่ส่งผ่านทางจมูกช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น ซึ่งการมองเห็นที่ไม่ดีเกิดจากภาวะจุดรับภาพบวมที่เป็นสาเหตุมาจากเบาหวานขึ้นตา

อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (HBOT) พบว่าช่วยเพิ่มความเสี่ยงของอาการบวมน้ำในปอดได้

ประเภทต่าง ๆ ของภาวะบวมน้ำ

ภาวะบวมน้ำมีด้วยกันหลายประเภท โดยแต่ละประเภทสามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพใดบ้าง โดยภาวะบวมน้ำแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

ภาวะบวมน้ำส่วนปลาย: ซึ่งเกิดขึ้นได้กับข้อเท้า ขา มือและแขน อาการแสดงต่าง ๆ ได้แก่ มีอาการบวมน้ำ อาการบวมช้ำและเคลื่อนไหวส่วนที่บวมน้ำได้ลำบาก

ภาวะน้ำท่วมปอด: เป็นภาวะที่ของเหลวส่วนเกินคั่งในปอด จึงทำให้หายใจลำบาก เป็นผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือการบาดเจ็บที่ปอดเฉียบพลันตามมา ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรง และต้องได้รับการดูแลจากการแพทย์ฉุกเฉิน และทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

ภาวะบวมน้ำในสมอง: ภาวะนี้จะเกิดขึ้นในสมอง ซึ่งสาเหตุก็มีด้วยกันหลายอย่าง และหลายสาเหตุเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการต่าง ๆ ของผู้ที่มีภาวะบวมน้ำในสมอง ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดคอหรือตึงคอ สูญเสียการมองเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัวหรือสภาพจิตใจ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและเวียนศีรษะ

ภาวะตามัวเกิดจากการบวมบริเวณจุดภาพชัด: ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอันเกิดจากเบาหวานขึ้นตา อาการบวมเกิดขึ้นที่จุดเห็นชัดบริเวณจอตา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดวงตาที่ช่วยให้สามารถมองเห็นส่วนกลางได้อย่างละเอียด ผู้ที่มีภาวะนี้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้โดยเฉพาะการมองภาพตรงกลางและวิธีการมองเห็นสีของตัวเอง

ภาวะบวมน้ำสามารถเกิดขึ้นในตำแหน่งอื่น  ๆ ได้เช่นกัน แต่อาการที่กล่าวถึงข้างต้นพบได้บ่อยที่สุด โดยอาการต่าง ๆ สามารถบอกถึงโรคร้ายแรงได้หลายอย่าง สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ หากรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาการบวมในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

สาเหตุของภาวะบวมน้ำ

ภาวะบวมน้ำเป็นผลมาจากปัญหาการไหลเวียนโลหิต การติดเชื้อ การตายของเนื้อเยื่อ การขาดสารอาหาร โรคไต การมีของเหลวในร่างกายมากเกินไป และปัญหาเรื่องอิเล็กโทรไลต์หรือเกลือแร่ในร่างกาย

ภาวะบวมน้ำเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่:

ภาวะหัวใจวาย

หากห้องล่างหนึ่งห้องหรือทั้งสองห้องของหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ เลือดจะสะสมที่แขนขาทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้

โรคไตหรือไตถูกทำลาย

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตไม่สามารถกำจัดของเหลวและโซเดียมออกจากเลือดได้เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดแรงดันสูงกระทบหลอดเลือด จนทำให้ของเหลวบางส่วนรั่วไหลออกมา โดยอาการบวมช้ำเกิดขึ้นได้บริเวณขาและดวงตา

ความเสียหายต่อโกลเมอรูลัส ต่อเส้นเลือดฝอยในไตที่กรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือดส่งผลให้เกิดโรคไตเนโฟรติก ซึ่งอาการอย่างหนึ่งของภาวะนี้คือการมีระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ และทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้

โรคตับ

โรคตับแข็งมีผลต่อการทำงานของตับและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหลั่งฮอร์โมน และสารเคมีควบคุมของเหลว และลดการผลิตโปรตีน ซึ่งทำให้ของเหลวรั่วออกจากหลอดเลือดไปสู่เนื้อเยื่อรอบ ๆ

โรคตับแข็งยังเพิ่มความดันภายในหลอดเลือดดำพอร์ทัล ซึ่งเป็นหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ที่นำเลือดจากลำไส้ ม้าม และตับอ่อนเข้าสู่ตับ ภาวะบวมน้ำเกิดที่ขาและช่องท้องได้

การใช้ยาเพื่อการรักษาโรคบางชนิด

ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำ:

  • ยาขยายหลอดเลือดหรือยาที่เปิดหลอดเลือด
  • ยาต้านแคลเซียม
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • เอสโตรเจน
  • ยาเคมีบำบัดบางชนิด
  • ยาเบาหวานบางชนิด เช่น กลุ่มยาลดระดับน้ำตาลบางชนิด
Edema

การตั้งครรภ์

ในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่กระตุ้นให้มีการกักเก็บของเหลว และคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะกักเก็บโซเดียมและน้ำไว้มากกว่าปกติ ใบหน้า มือ แขน ขา ท่อนล่างและเท้าบวมได้

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์นอนอยู่ในท่าเอียงในระหว่างตั้งครรภ์ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะกดทับเส้นเลือดที่เรียกว่า อินฟีเรีย เวนา คาวา  ซึ่งไปขัดขวางเส้นเลือดต้นขา และทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

ในระหว่างตั้งครรภ์ จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่ายขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของภาวะบวมน้ำได้

นอกจากนี้ ภาวะที่มีการชัก ซึ่งเป็นผลมาจากความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการตั้งครรภ์หรือความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้

ปัจจัยด้านอาหาร

ปัจจัยด้านอาหารหลายอย่างส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำ เช่น:

  • ผู้ที่มีภาวะบวมน้ำบริโภคเกลือมากเกินไป

  • การขาดสารอาหาร ซึ่งภาวะบวมน้ำเป็นผลมาจากระดับโปรตีนในเลือดต่ำ

  • การรับประทานวิตามินบี 1 บี 6 และบี 5 ในปริมาณต่ำ

  • โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ได้แก่ :

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด

  • ไตวายเฉียบพลัน

  • ตับวายเฉียบพลัน

  • โรคลำไส้ที่ทำให้สูญเสียโปรตีน

ปัจจัยเหล่านี้ และการรักษาด้วยยาบางชนิด เช่น รักษาโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้

ภาวะจุดภาพชัดจอตาบวมจากเบาหวานขึ้นจอตาเป็นภาวะบวมน้ำในจอประสาทตาอันเป็นผลมาจากจากโรคเบาหวาน

ภาวะหรือโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง

สาเหตุของภาวะบวมน้ำในสมอง ได้แก่ :

การบาดเจ็บที่ศีรษะ: การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะทำให้เกิดของเหลวสะสมในสมองได้

โรคหลอดเลือดสมอง: โรคหลอดเลือดสมองทำให้สมองบวมได้

เนื้องอกในสมอง: เนื้องอกในสมองจะสะสมน้ำไว้รอบ ๆ ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องสร้างหลอดเลือดใหม่

โรคภูมิแพ้

อาหารบางชนิดและแมลงสัตว์กัดต่อยทำให้เกิดภาวะบวมน้ำที่ใบหน้าหรือผิวหนังในผู้ที่แพ้หรือแพ้ง่ายได้ อาการบวมอย่างรุนแรงเป็นสัญญาณของการเกิดภูมิแพ้ อาการบวมในลำคอจะไปปิดทางเดินหายใจ จนทำให้หายใจไม่ได้ ซึ่งภาวะบวมน้ำในลำคอจะเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน

ภาวะบวมน้ำในแขนขา

เลือดจับตัวเป็นก้อน: ทำให้เกิดการอุดตันต่าง ๆ เช่น เกิดก้อนในหลอดเลือดดำโดยไปปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลได้ เมื่อความดันเพิ่มขึ้นในหลอดเลือดดำ ของเหลวจะเริ่มรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้

เส้นเลือดขอด: เส้นเลือดขอดมักเกิดขึ้นเนื่องจากลิ้นตามเส้นเลือดไม่ทำงาน จนทำให้เกิดความดันเพิ่มขึ้นในเส้นเลือดและเริ่มจับตัวเป็นก้อน นอกจากนี้ ความดันโลหิตยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดของเหลวรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อโดยรอบ

ถุงน้ำ ก้อนเนื้อ หรือเนื้องอก: ถุงน้ำ ก้อนเนื้อ หรือเนื้องอกซึ่งทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้ หากกดทับท่อน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ เมื่อเกิดความดันสะสมมากขึ้น ของเหลวรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อโดยรอบได้

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema): โดยปกติแล้ว ระบบน้ำเหลืองช่วยขจัดของเหลวส่วนเกินออกจากเนื้อเยื่อ โดยทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนี้ เช่น การผ่าตัด การติดเชื้อ หรือเนื้องอก และทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้

โรคประจำตัวและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ

การไม่ยอมเปลี่ยนอิริยาบถเมื่ออยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน: ผู้ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนอิริยาบถเมื่ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานทำให้เกิดภาวะบวมน้ำที่ผิวหนังได้ โดยเกิดจากการรวมตัวของของเหลวในบริเวณอวัยวะที่ปล่อยตามแรงโน้มถ่วง และการปล่อยฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกจากต่อมใต้สมอง

อยู่ในที่สูง: การอาศัยอยู่ในที่สูงและการออกแรงหนัก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ อาการเมาที่สูงเวลาขึ้นภูเขาที่เกิดเฉียบพลันทำให้เกิดอาการบวมน้ำที่ปอดในระดับความสูงหรือทำให้เกิดภาวะสมองบวมน้ำอันเนื่องมาจากการอยู่ที่สูงได้

เกิดแผลไฟไหม้และถูกแดดเผา: โดยปกติแล้ว ผิวหนังตอบสนองต่อการเผาไหม้โดยการกักเก็บของเหลวไว้ จึงทำให้เกิดอาการบวมเฉพาะที่

การติดเชื้อหรือการอักเสบ: เนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่เกิดการติดเชื้อหรืออักเสบเกิดอาการบวมช้ำได้ โดยปกติแล้ว อาการนี้จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดบนผิวหนัง

การมีประจำเดือนและก่อนมีประจำเดือน: ระดับฮอร์โมนมีความผันผวนระหว่างรอบเดือน ในช่วงหลายวันก่อนมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง และทำให้เกิดการคั่งของของเหลวได้

ยาเม็ดคุมกำเนิด: ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดการคั่งของของเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้หญิงจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดเป็นครั้งแรก

วัยหมดประจำเดือน: ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ความผันผวนของฮอร์โมนทำให้เกิดการคั่งของของเหลว การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT) ที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้

โรคต่อมไทรอยด์: ความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่เชื่อมโยงกับโรคต่อมไทรอยด์และทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะบวมน้ำที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เกิด:

  • ปวดบวม ด้วยอาการปวดที่ทำให้อาการแย่ลง

  • เกิดอาการข้อต่อติดและฝืดและเดินลำบาก

  • ผิวแตกลายและคัน

  • เกิดการติดเชื้อในบริเวณที่บวม

  • เกิดรอยแผลเป็นระหว่างชั้นของเนื้อเยื่อ

  • การหมุนเวียนเลือดไม่ดี

  • การสูญเสียความยืดหยุ่นในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และข้อต่อ

  • เกิดแผลบนผิวหนัง

  • เกิดโรคหรืออาการต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น

นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *