เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocartitis) เป็นภาวะที่พบได้ยาก เกี่ยวข้องกับการอักเสบของเยื่อบุหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ที่รู้จักกันว่า โรคติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ (Infective endocarditis, IE) โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบเนื่องจากแบคทีเรีย (Bacterial endocarditis, BE) และโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบเนื่องจากเชื้อรา (Fungal endocarditis)
การติดเชื้อของเยื่อบุหัวใจทำให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อมักเกิดจากเชื้อ streptococcal หรืออาจจะเกิดจากเชื้อรา จุลินทรีย์แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
สาเหตุของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
เยื่อบุหัวใจอักเสบเป็นการอักเสบที่มีผลต่อหัวใจ อาจเกิดขึ้นได้เมื่อแบคทีเรียหรือเชื้อราเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากการติดเชื้อหรือ เมื่อแบคทีเรีย (ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย) ที่อาศัยอยู่ในบริเวณปาก ทางเดินหายใจส่วนบนหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทำร้ายเนื้อเยื่อหัวใจ
โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการได้ แต่จะเกิดปัญหากับลิ้นหัวใจ จุลินทรีย์จะสามารถเกาะติดกับหัวใจและเพิ่มจำนวนตัวเอง การที่กลุ่มแบคทีเรียและเซลล์หรือก้อนเชื้อโรคเกาะบนลิ้นหัวใจ กลุ่มก้อนเหล่านี้จะทำให้หัวใจทำงานได้ยากขึ้น อาจทำให้เกิดฝีที่ลิ้นหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ทำลายเนื้อเยื่อและนำไปสู่ความผิดปกติของหัวใจ บางครั้งกลุ่มก้อนดังกล่าวสามารถแตกและแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ เช่น ไต ปอด และสมอง นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ได้แก่:
ปัญหาเกี่ยวกับทันตกรรม จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการติดเชื้อได้ สุขภาพฟันหรือเหงือกที่ไม่ดีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ เนื่องจากจะทำให้แบคทีเรียเข้าสู่หัวใจได้ง่ายขึ้น การรักษาสุขภาพฟันที่ดีจะช่วยป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจได้
ขั้นตอนการผ่าตัด อาจทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้รวมถึงการตรวจระบบทางเดินอาหาร เช่น การส่องกล้องเพื่อดูลำไส้มีผลต่อทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งไต กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ผิวหนัง กระดูกและกล้ามเนื้อ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน
ความบกพร่องของหัวใจ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบได้ หากแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายรวมถึงความบกพร่องตั้งแต่กำเนิดของลิ้นหัวใจผิดปกติหรือเนื้อเยื่อหัวใจเสียหาย นอกจากนี้ผู้ที่มีลิ้นหัวใจเทียมมักมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
การติดเชื้อแบคทีเรีย ในส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น การบาดเจ็บของผิวหนังหรือโรคเหงือก นำไปสู่การแพร่กระจายของแบคทีเรีย การฉีดยาด้วยเข็มที่ไม่สะอาดก็เป็นปัจจัยเสี่ยง หากเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เช่น หนองในเทียม หรือหนองใน ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่หัวใจได้ง่ายขึ้น
การติดเชื้อรา อาจทำให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบได้
โรคลำไส้อักเสบ (IBD) หรือความผิดปกติของลำไส้ อาจเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน แต่ความเสี่ยงของผู้ที่เป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจาก IBD ยังอยู่ในระดับต่ำ
เครื่องมือผ่าตัดหรือทางการแพทย์ ที่ใช้ในการรักษา เช่น สายสวนปัสสาวะหรือการให้ยาทางหลอดเลือดดำในระยะยาว สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้
อาการของโรคเยือบุหัวใจอักเสบ
อาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจะแตกต่างกันไป อาการแต่ละอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดเฉียบพลัน อาการจะปรากฏขึ้นอย่างช้าๆในช่วงหลายสัปดาห์และอาจนานหลายเดือน ไม่ค่อยมีอาการติดเชื้ออย่างรวดเร็วและปรากฏขึ้นทันที จะเรียกอาการของเยื่อบุหัวใจอักเสบนี้ว่า เยื่อบุหัวใจอักเสบเฉียบพลันซึ่งอาการมักจะรุนแรง
เยื่อบุหัวใจอักเสบยากที่จะวินิจฉัยอาการอาจจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจมักจะมีอาการรุนแรงขึ้น
อาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบมีดังต่อไปนี้:
- อาการต่างๆ ได้แก่ ไข้ เจ็บหน้าอกและรู้สึกล้า
- มีอุณหภูมิสูงหรือมีไข้
- มีเสียงฟู่ของหัวใจ
- เจ็บกล้ามเนื้อ
- เลือดออกใต้เล็บหรือเล็บเท้า
- เส้นเลือดแตกในดวงตา หรือ ผิวหนัง
- เจ็บหน้าอก
- ไอ
- ปวดหัว
- หายใจถี่หรือหอบ
- มีก้อนเล็ก ๆ สีแดงหรือสีม่วงหรือก้อนที่นิ้วมือนิ้วเท้าหรือทั้งสองอย่าง
- มีจุดเล็ก ๆ ไม่เจ็บปวดและลักษณะของจุดแบนที่ฝ่าเท้า หรือ ฝ่ามือ
- มีจุดเล็ก ๆ จากเส้นเลือดแตกใต้เล็บ ตาขาว หน้าอก เพดานปากและข้างในแก้ม
- เหงื่อออก
- ท้องอืด
- เลือดปนในปัสสาวะ
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- น้ำหนักลด
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยและระบุปัญหาที่เป็นไปได้เกี่ยวกับหัวใจ ขั้นตอนการรักษาทางการแพทย์หรือการทดสอบ เช่น การผ่าตัดการตรวจชิ้นเนื้อหรือการส่องกล้อง แพทย์อาจจะตรวจหาไข้ หาก้อนเนื้อ และอาการอื่น ๆ เช่น เสียงฟู่ของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไป อาจจะทดสอบเพื่อยืนยันอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
การทดสอบที่สามารถยืนยันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบประกอบด้วย:
- การตรวจเพาะเชื้อในเลือด: เพื่อตรวจหาแบคทีเรียหรือเชื้อราในเลือด หากพบมักจะได้รับการทดสอบด้วยยาปฏิชีวนะบางชนิด เพื่อหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
- อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR): เป็นการวัดความเร็วของเซลล์เม็ดเลือดที่ตกลงไปที่ก้นของหลอดทดลอง ภายในหลอดทดลองจะมีของเหลวบรรจุอยู่ ยิ่งตกเร็วก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะอักเสบ เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจะมี ESR สูง เลือดไปถึงของเหลวด้านล่างเร็วกว่าปกติ
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram): คลื่นเสียงสามารถสร้างภาพการทำงานของส่วนต่างๆของหัวใจได้ รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และห้องหัวใจ แสดงโครงสร้างและการทำงานของหัวใจโดยละเอียดมากขึ้น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง สามารถบ่งบอกถึงกลุ่มของแบคทีเรียและเซลล์ ก้อนเชื้อโรค และเนื้อเยื่อหัวใจที่ติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อหัวใจที่เสียหาย
- CT scan สามารถระบุฝีที่เกิดขึ้นในหัวใจได้
การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
การรักษาหลัก ๆ คือ ใช้ยาปฏิชีวนะ แต่บางครั้งก็จำเป็นต้องผ่าตัด
ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
ผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบส่วนใหญ่จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งได้รับทางหลอดเลือดดำ ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องรักษาที่โรงพยาบาล การตรวจสอบประสิทธิภาพของยาสามารถทำได้โดยการตรวจเลือด โดยปกติผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ เมื่ออาการลดลงและกลับสู่ภาวะปกติ แต่ส่วนใหญ่จะยังคงใช้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรติดต่อกับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาได้ผลดีและผลข้างเคียงไม่กระทบต่อการฟื้นตัว
ยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ ได้แก่ penicillin และ gentamycin ผู้ป่วยที่แพ้ penicillin อาจใช้ vancomycin แทนได้ โดยปกติการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะใช้เวลา 2 – 6 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ
การผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจ
หากอาการเยื่อบุหัวใจอักเสบทำลายหัวใจ ลิ้นหัวใจเสียหาย อาจจำเป็นต้องผ่าตัด ถ้าหากมีอาการดังต่อไปนี้แนะนำให้ผ่าตัด:
- ลิ้นหัวใจได้รับความเสียหายมากจนทำให้การปิดของลิ้นหัวใจไม่แน่นพอและเกิดลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ
- ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรา จะไม่สามารถรักษาอาการติดเชื้อได้
- เกิดกลุ่มแบคทีเรียและเซลล์หรือก้อนเชื้อโรคจำนวนมากเกาะติดอยู่กับลิ้นหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
ผู้ป่วยอาจได้รับความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ หากมีปัจจัยดังต่อไปนี้:
- มีอาการของโรคหัวใจ
- เคยผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจหรือได้รับลิ้นหัวใจเทียม
- เคยเป็นโรค เช่น ไข้รูมาติกซึ่งทำให้ลิ้นหัวใจเสียหาย
- เคยได้รับเครื่องกระตุ้นหัวใจ
- ได้รับยาทางหลอดเลือดดำเป็นประจำ
- กำลังพักฟื้นหลังจากการเจ็บป่วยจากเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือปอดบวม
- มีระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกดทับอย่างเรื้อรัง เช่น เนื่องจากโรคเบาหวาน หรือ เอชไอวี หากเป็นมะเร็งหรือได้รับเคมีบำบัด
เมื่ออายุมากขึ้น ลิ้นหัวใจจะเสื่อมลงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนมีแนวโน้มมากขึ้น หากเยื่อบุหัวใจอักเสบไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาล่าช้า
- ลิ้นหัวใจเสียหายจะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว
- จังหวะการเต้นของหัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การติดเชื้อสามารถแพร่กระจายภายในหัวใจและอวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต ปอด และสมอง
- หากก้อนเชื้อโรคเกิดการแตกออก จะสามารถเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อและฝีที่อื่นได้
หากก้อนเชื้อเหล่านั้นเคลื่อนที่ไปทางสมองและเกาะติดที่สมอง อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือตาบอดได้ หากมีจำนวนมากอาจติดอยู่ในหลอดเลือดแดงและขัดขวางการไหลเวียนของเลือด
การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ
เยื่อบุหัวใจอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษามักเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่เมื่อได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะรอดชีวิต อย่างไรก็ตามอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในผู้สูงอายุผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่ติดเชื้อเนื่องจากแบคทีเรียที่ดื้อยา
นอกจากนี้สถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ (NHLBI) สนับสนุนให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเยื่อบุหัวใจอักเสบได้รับการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ และการแปรงฟันรวมทั้งใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
แหล่งที่มาของบทความนี้
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endocarditis/symptoms-causes/syc-20352576
- https://www.nhs.uk/conditions/endocarditis/
- https://www.webmd.com/heart-disease/what-is-endocarditis
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก