

มะเร็งหลอดอาหารคืออะไร
มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal cancer) คือมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารที่เชื่อมต่อระหว่างลำคอไปจนถึงกระเพาะอาหาร
โดยมะเร็งชนิดนี้มักพบในแถบเอเชียและแอฟริกาและพบได้ยากในแถบอเมริกา ซึ่งจากสถิติพบผู้ป่วยรายใหม่เพียงร้อยละ 1 และพบว่าร้อยละ 2.6 ของผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
ประเภทของมะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งหลอดอาหารมีอยู่ 2 ประเภทหลักดังนี้
-
เซลล์มะเร็งหลอดอาหารชนิดคาร์สิโนมา (Squamous cell carcinoma): มักเกิดขึ้นกับเซลล์ผิวหนังส่วนบนของหลอดอาหาร
-
เซลล์มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา(Adenocarcinoma of the esophagus) : มักเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ต่อมซึ่งอยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
อาการมะเร็งหลอดอาหาร
โดยส่วนมากผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้นของโรค และจะสามารถวินิจฉัยโรคได้เมื่อมะเร็งเริ่มลุกลามและจะแสดงอาการดังนี้
-
กลืนลำบาก เนื่องจากเนื้องอกจะไปกดทับและขัดขวางทางเดินอาการ โดยปกติอาการดังกล่าวจะสังเกตเห็นเป็นอย่างแรก
-
ผู้ป่วยจะอาเจียนหลังจากที่รับประทานอาหาร เนื่องจากอาหารจะติดภายในหลอดอาหาร
-
น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
-
อาการไอ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อพยายามกลืนบางอย่างและบางรายมีอาการไอเป็นเลือด
-
เสียงเปลี่ยน ซึ่งเสียงของผู้ป่วยจะแหบ
-
อาการเจ็บคอ
-
มีอาการกรดไหลย้อน โดยจะเกิดเมื่อพบมะเร็งบริเวณส่วนล่างของหลอดอาหาร
-
เจ็บหน้าอก ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการกรดไหลย้อน
สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ยากเกินจะควบคุม และจะส่งผลอันตรายต่อร่างการเมื่อเซลล์แบ่งตัวจนไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อน เรียกว่าเนื้องอก
โดยเนื้องอกจะเติบโตและรบกวนการทำงานของร่างกาย ซึ่งบางครั้งก็พบเนื้องอกที่ไม่เติบโตและอยู่จุดหนึ่งในร่างกายโดยไม่ขยายขนาดใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามมะเร็งร้ายนั้นเป็นอันตรายอย่างมาก หากปราศจากการรักษามะเร็งจะเติบโตและขยายตัวออกไปได้ และเมื่อมะเร็งเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองก็จะเกิดการกระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงอวัยวะสำคัญด้วย
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหารยังไม่มีการระบุแน่ชัด แต่มีปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคดังนี้
-
โรคอะคาเลเซีย (Achalasia): โรคชนิดนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการเคลื่อนตัวของหลอดอาหาร
-
อายุ: มะเร็งหลอดอาหารปกติมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
-
การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
-
โรคเซลิแอค (Celiac disease): โรคชนิดนี้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็งชนิดคาร์สิโนมา (Squamous cell carcinoma)
-
พฤติกรรมการบริโภค: พบว่าหากบริโภคผักและผลไม้น้อยเกินไปทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลอดอาหาร
-
พันธุกรรม: มีความเสี่ยงต่อโรคเพิ่มขึ้นหากพบสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว
-
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease): โรคนี้จะแสดงอาการหลักออกมาและอาจนำไปสู่โรคหลอดอาหารบาร์เรตต์ (Barrett’s esophagus) ซึ่งจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของโรค
-
เชื้อ HPV (Human Papilloma Virus): เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสหรือการมีเพศสัมพันธ์
-
การสัมผัสสารเคมีหรือสิ่งระคายเคืองในระยะยาว: ซึ่งรวมถึงเขม่า ฝุ่นโลหะ ควันไอเสีย น้ำด่าง และฝุ่นซิลิกา
-
เพศ: พบว่าเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคสูงกว่าเพศหญิง
-
โรคอ้วน: มะเร็งหลอดอาหารพบมากกว่าปกติในผู้ที่เป็นโรคอ้วน
-
มะเร็งชนิดอื่น ๆ: ผู้ที่เป็นมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอมาก่อน จะเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารอย่างมีนัยสำคัญ
-
รังสีรักษา: เมื่อฉายรังสีบริเวณทรวงอกหรือศีรษะ อาจจะเสี่ยงต่อโรคสูงขึ้น
การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร
กระบวนการเลือกวิธีการรักษามะเร็งหลอดอาหารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
-
ชนิดของเซลล์มะเร็ง
-
ระยะของโรค
-
ภาวะสุขภาพและอายุของผู้ป่วย
-
ผู้ป่วยมีโรคอื่นแทรกซ้อน
ตัวเลือกในการรักษามีดังนี้
-
การผ่าตัด
-
เคมีบำบัด
-
ฉายแสงบำบัด
ผู้ป่วยที่อาจต้องการความช่วยเหลือ การให้อาหารและน้ำด้วยวิธีการดังนี้
-
หากผู้ป่วยไม่สามารถกลืนได้ ศัลยแพทย์จะสอดขดลวดเพื่อให้หลอดอาหารโล่ง
-
การให้อาหาร ผ่านจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร
-
การใส่สายให้อาหารผ่านทางหน้าท้อง
ในการรักษาจะต้องเลือกว่าจะนำก้อนเนื้องอกออกมาทั้งหมดหรือนำส่วนของเซลล์มะเร็งออกมาบางส่วนเพื่อป้องกันเนื้องอกขยายใหญ่ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่าจะทำการผ่าตัด, เคมีบำบัด หรือเลือกทั้งสองวิธี
การผ่าตัด
การผ่าตัดต่อไปนี้จะเป็นการช่วยรักษาผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหาร
-
การผ่าตัดหลอดอาหารออกบางส่วน (Esophagectomy) กระบวนการนี้จะนำบางส่วนของหลอดอาหารที่พบเนื้องอกออก และจะเชื่อมกลับเข้าไปใหม่ ซึ่งบางครั้งจะใช้ส่วนของลำไส้ใหญ่เพื่อช่วยเชื่อมหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
-
การผ่าตัดหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร (Esophagogastrectomy)
กระบวนการนี้จะเป็นการนำส่วนของหลอดอาหารที่พบเนื้องอกออก เช่นเดียวกับส่วนของกระเพาะที่ใกล้กับต่อมน้ำเหลือง หากศัลยแพทย์ไม่สามารถเชื่อมระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารได้ ก็จะใช้นำส่วนเล็ก ๆ จากลำไส้ใหญ่มาเชื่อมต่อกัน
วิธีการรักษาแบบอื่น ๆ
มีวิธีการอื่นๆดังนี้ การรักษาโดยไม่ผ่าตัดเพื่อที่จะสามารถรักษาและพยุงอาการผู้ป่วยได้
-
การรักษาแบบโฟโตไดนามิค (Photodynamic therapy): โดยแพทย์จะใช้สารพิเศษไปยังหลอดอาหารเพื่อให้เซลล์ไวต่อแสง จากนั้นจะใช้กล้องเอ็นโดสโคปในการยิงเลเซอร์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
-
การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy): กระบวนการนี้จะทำก่อนหรือหลังการผ่าตัด หรืออาจจะทั้งคู่ เคมีบำบัดสามารถช่วยรักษา, ชะลอการเกิดของเซลล์มะเร็งได้ หรือช่วยบรรเทาอาการของโรคในระยะหลัง ๆ
-
การรักษาด้วยการฉายแสงบำบัด (Radiation therapy): คือการฉายแสงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยรังสีนั้นจะทำลาย DNA ภายในเซลล์เนื้องอก และจะทำให้ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาใหม่ได้ โดยแพทย์สามารถเลือกฉายแสงระยะไกล หรือแบบระยะใกล้ได้
ปกติแล้วผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสงบำบัดร่วมกับเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์อาจจะทำรังสีรักษาก่อนหรือหลังการผ่าตัด
การวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร
แพทย์จะสำรวจและสอบถามอาการจากผู้ป่วย จากนั้นจะส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อตรวจสอบ ซึ่งกระบวนการทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคมีดังนี้
-
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร (Endoscopy): โดยเเพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านช่องปากไปยังหลอดอาหารถึงกระเพาะอาหาร เพื่อตรวจสอบเนื้องอกหรือความผิดปกติ
-
การตัดชิ้นเนื้อ เพื่อวินิจฉัย (Biopsy): โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างของเนื้อเยื่อ หากการส่องกล้องพบความผิดปกติ พยาธิแพทย์จะตรวจสอบตัวอย่างเพื่อระบุว่าเป็นเซลล์มะเร็งชนิดใด
-
การทดสอบด้วยการกลืนแบเรียม (Barium swallow test): ผู้ป่วยจะต้องดื่มแบเรียม และแบเรียมจะแสดงผลกับรังสี X-Ray ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าพบความผิดปกติที่ใด
-
การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัลตราซาวนด์ (Endoscopic ultrasound): โดยแพทย์จะสอดกล้องทางช่องปากไปยังพื้นที่เป้าหมาย โดยปกติแล้ววิธีนี้จะต้องแน่ชัดก่อนว่าพบเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะช่วยในการตรวจสอบลักษณะของเนื้องอกและดูว่ามีการกระจายตัวในลักษณะใดกับเนื้อเยื่อใกล้เคียง
-
การสแกน: เช่นการทำ CT สแกนสามารถช่วยระบุการกระจายตัวของมะเร็ง
ระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งหลอดอาหารประกอบด้วย 5 ระยะดังนี้
-
ระยะที่ศูนย์: ระยะนี้จะอ้างถึงเซลล์ที่มีพฤติกรรมคลายเซลล์มะเร็งแต่ยังไม่กลายเป็นเซลล์มะเร็ง
-
ระยะที่หนึ่ง: เซลล์มะเร็งเริ่มก่อนตัวในผนังหลอดอาหาร แต่ตำแหน่งของเนื้องอกจะยังไม่ชัดเจน
-
ระยะที่สอง: เซลล์มะเร็งเริ่มกระจายไปยังกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมกับหลอดอาหาร และต่อมน้ำเหลืองหนึ่งถึงสองจุด
-
ระยะที่สาม: เซลล์มะเร็งเริ่มกระจายไปยังกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมกับหลอดอาหาร อาจเป็นไปได้ว่ากระจายตัวไปยังกระบังลม, เนื้อเยื่อรอบหัวใจ หรือเนื้อเยื่อบริเวณปอด และต่อมน้ำเหลืองสามถึงหกจุด
-
ระยะที่สี่: เซลล์มะเร็งกระจายตัวภายในร่างกายเป็นวงกว้าง
แนวโน้มของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
ในปี ค.ศ.2014 นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารพบว่าร้อยละ 19.2 ของผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ 5 ปีหลังการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง
ซึ่งแนวโน้มขึ้นอยู่กับความรุนแรงของระยะมะเร็ง ถ้ามะเร็งไม่กระจายจากหลอดอาหาร โอกาสรอดของผู้ป่วยจะเพิ่มเป็นร้อยละ 43 แต่ถ้าโรคกระจายไปยังอวัยวะรอบ ๆ โอกาสรอดจะลดลงร้อยละ 23 และหากกระจายไปทั่วร่างกายโอกาสรอดจะเหลือไม่ถึงร้อยละ 5
หากคุณมีอาการตามที่ระบุไว้ ควรไปพบแพทย์
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.cancer.gov/types/esophageal/patient/esophageal-treatment-pdq
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/esophageal-cancer/symptoms-causes/syc-20356084
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก