ความบกพร่องทางการได้ยิน หูหนวก (Hearing Loss) หรือสูญเสียการได้ยิน หมายถึงการที่ไม่สามารถได้ยินเสียงโดยสิ้นเชิงหรือการที่มีความสามารถในการได้ยินลดลง
อาจมีอาการไม่รุนแรง ปานกลาง รุนแรง หรือรุนแรงมาก ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการได้ยินในระดับที่ไม่รุนแรงอาจมีปัญหาในการเข้าใจการพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเสียงรบกวน ในขณะที่ผู้ที่มีอาการในระดับปานกลางอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
ในบางคนที่มีอาการหูหนวกอย่างรุนแรงและต้องพึ่งการอ่านปากเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ส่วนคนที่มีอาการหูหนวกในระดับที่รุนแรงมากนั้นจะไม่สามารถได้ยินสิ่งใดเลยจึงต้องอาศัยการอ่านปากและภาษามือ
สาเหตุของอาการหูหนวก
โรคหรือสถานการณ์บางอย่างที่อาจทำให้หูหนวก ได้แก่:
-
ไซโตเมกะโลไวรัส
-
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
-
โรคไลม์ Lyme disease
-
โรคเบาหวาน จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะสูญเสียการได้ยินในระดับใดระดับหนึ่ง
-
การรักษาวัณโรค (TB) โดยใช้ยาสเตรปโตมัยซิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดภาวะบกพร่องทางการได้ยิน
-
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ
-
โรคข้ออักเสบ
-
มะเร็งบางชนิด
หูชั้นในเป็นที่ตั้งของกระดูกที่บอบบางที่สุดในร่างกายและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแก้วหูหรือหูชั้นกลางอาจทำให้สูญเสียการได้ยินและหูหนวกได้ในหลาย ๆ ทาง
อาการหูหนวก
เราจำเป็นที่จะต้องแยกระดับต่าง ๆ ของการสูญเสียการได้ยิน หรือทำการทดสอบการได้ยินเพื่อเข้าใจถึงอาการหูหนวกที่เป็น
การสูญเสียการได้ยิน: ลดความสามารถในการได้ยินเสียงในระดับเดียวกันกับคนทั่วไป
หูหนวก: เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดผ่านการฟังได้ แม้ว่าจะมีการขยายเสียงก็ตาม
หูหนวกรุนแรงมาก: หมายถึงการสูญเสียการได้ยินทั้งหมด ผู้ที่มีอาการหูหนวกรุนแรงมากจะไม่สามารถได้ยินเสียงใด ๆ เลย
ความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินแบ่งตามระดับความดังที่เป็นค่าเริ่มต้นของระดับการได้ยินที่ผู้ป่วยจะสามารถได้ยินได้
บางคนให้คำจำกัดความกับอาการหูหนวกขั้นที่รุนแรงมากและอาการหูหนวกสนิทว่าเป็นลักษณธเดียวกัน ในขณะที่บางคนกล่าวว่า อาการหูหนวกรุนแรงมากคือขั้นสุดท้ายของอาการสูญเสียการได้ยิน
ประเภทของหูหนวก
การสูญเสียการได้ยิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท:
การนำเสียงบกพร่อง
ซึ่งหมายถึงการที่คลื่นเสียงไม่สามารถผ่านหูชั้นนอกไปยังหูชั้นในได้โดยเฉพาะโคเคลีย (อวัยวะรูปหอยโข่ง) อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่:
- การสะสมของขี้หูที่มากเกินไป
- มีน้ำข้นในหูชั้นกลาง
- การติดเชื้อในหูซึ่งมีอาการอักเสบและมีการคั่งของของเหลวในหู
- เยื่อแก้วหูทะลุ
- ความผิดปกติของกระดูกหู
- ความบกพร่องของแก้วหู
ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง
การสูญเสียการได้ยินจากการผิดปกติของหูชั้นใน โคเคลีย เส้นประสาทหู หรือสมองถูกทำลาย
โดยปกกติแล้วการสูญเสียการได้ยินประเภทนี้จะเกิดจากการที่เซลล์ขนในโคเคลียเสียหาย เมื่อมนุษย์เรามีอายุมากขึ้นเซลล์ขนจะสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานบางส่วนไปและทำให้ประสิทธิภาพในการได้ยินลดลง
การได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเสียงความถี่สูงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์ขนเสียหาย เซลล์ขนที่เสียหายนั้นไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ ขณะนี้ได้มีการวิจัยเพื่อใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการสร้างเซลล์ขนขึ้นมาใหม่
อาการหูหนวกจากการที่ประสาทหูบกพร่องอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด การติดเชื้อในหูชั้นใน หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ
การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม
เกิดจากความผิดปกติในระบบการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง การติดเชื้อในหูในระยะยาวสามารถทำลายทั้งแก้วหูและกระดูหูได้ ในบางครั้งการผ่าตัดแบบ interventionb อาจทำให้กลับมาได้ยินเหมือนเดิม แต่วิธีการนี้ก็ไม่ได้ผลเสมอไป
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการได้ยินที่ผิดปกติควรที่จะไปพบแพทย์
แพทย์จะพูดคุยและสอบถามอาการอย่างละเอียด รวมไปถึงระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ มีอาการเหล่าแย่ลงหรือไม่ และมีอาการเจ็บปวดควบคู่ไปกับการสูญเสียการได้ยินหรือไม่
การตรวจร่างกาย
แพทย์จะตรวจดูในหูโดยใช้กล้องส่องตรวจหู เป็นเครื่องมือที่มีไฟอยู่ตรงส่วนท้าย อาจตรวจพบสิ่งต่อไปนี้ในระหว่างการตรวจ:
-
การอุดตันที่เกิดจากสิ่วแปลกปลอม
-
แก้วหูทะลุ Ruptured Eardrum
-
การสะสมของขี้หู
-
การติดเชื้อในช่องหู
-
การติดเชื้อในหูชั้นกลางหากมีอาการนูนของแก้วหู
-
ขี้ไคล การที่มีการเจรริญของผิวหนังหลังแก้วหูในหูชั้นกลาง
-
ของเหลวในช่องหู
-
รูในแก้วหู
การรักษาอาการหูหนวก
การสูญเสียการได้ยินทุกประเภทนั้นสามารถรักษาได้ โดยรักษาตามสาเหตุและระดับความรุนแรงของการการ
อาการประสาทรับฟังบกพร่องนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ เมื่อเซลล์ขนในโคเคลียเสียหายก็ไม่สามารถซ่อมแซมได้ อย่างไรก็ตามการรักษาและเทคนิคทางการแพทย์ต่าง ๆ นั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
เครื่องช่วยฟัง
เป็นอุปกรณ์ที่สวมใส่เพื่อช่วยในการได้ยิน
เครื่องช่วยฟังมีหลายประเภท หลายขนาด หลายวงจร และหลากหลายระดับ เครื่องช่วยฟังไม่ได้รักษาอาการหูหนวก เพียงแต่ช่วยขยายเสียงที่เข้าสู่หูเพื่อให้ผู้ฟังได้ยินชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เครื่องช่วยฟังประกอบด้วย แบตเตอรี่ ลำโพง เครื่องขยายเสียง และไมโครโฟน ในปัจจุบันนี้เครื่องช่วยฟังมีขนาดที่เล็กมาก ใส่สบาย และสามารถใส่ไว้ในหูได้ รุ่นที่ทันสมัยหลาย ๆ รุ่น สามารถแยกเสียงพื้นหลังออกจากเสียงหลักได้ เช่น เสียงพูด
เครื่องช่วยฟังนั้นไม่เหมาะกับผู็ป่วยที่มีอาการหูหนวกรุนแรงมาก
นักโสตสัมผัสวิทยาจะช่วยตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องช่วยฟังนั้นพอดี และมันจะถูกปรับให้เกมาะสมกับระดับการได้ยินของผู้ป่วย
ประสาทหูเทียม
หากแก้วหูและหูชั้นกลางทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยอาจได้รับการพิจารณาให้ผ่าตัดประสาทหูเทียม
อิเล็กโทรดแบบบางนี้จะถูกใส่เข้าไปในโคเคลีย กระตุ้นกระแสไฟฟ้าผ่านไมโครโปรเซสเซอร์ขนาดเล็กที่อยู่ใต้ผิวหนังหลังใบหู
ประสาทหูเทียมถูกใส่เข้าไปเพื่อช่วยในการผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินที่เกิดจากความเสียหายของเซลล์ขนใรโคเคลีย โดยปกติแล้วประสาทหูเทียมจะช่วยกระตุ้นประสาทการได้ยิน ประสาทหูเทียมรุ่นล่าสุดมีเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเพลิดเพลินไปกับเสียงเพลง เข้าใจการพูดได้ดีขึ้นแม้จะมีเสียงพื้นหลังรบกวนอยู่ และยังสามารถทำงานขณะที่ผู้ป่วยว่ายน้ำได้อีกด้วย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hearing-loss/symptoms-causes/syc-20373072
-
https://www.webmd.com/a-to-z-guides/hearing-loss-causes-symptoms-treatment
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก