หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันคือภาวะที่หัวใจขาดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้น
คนที่เคยมีประสบการณ์กับภาวะหัวใจขาดเลือด (Heart Attack) มาก่อน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด-จะเกิดอาการเจ็บหน้าอกและส่วนอื่นๆของร่างกายเช่นเดียวกับอาการอื่นๆ
การค้นพบอาการในช่วงต้นๆของโรคหัวใจขาดเลือดและเตรียมรักษาไว้ก่อนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
ภาวะหัวใจขาดเลือดแตกต่างจากภาวะหัวใจหยุดเต้นที่ทำให้หัวใจการทำงานอย่างสิ้นเชิง แต่ถือว่าเป็นโรคที่เฉียบพลันทั้งคู่ และหากว่าไม่ได้รับการรักษา ภาวะหัวใจขาดเลือดก็อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นได้
บทความนี้จะบอกถึงวิธีดูอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดและวิธีการรักษาและป้องกัน
อาการของหัวใจขาดเลือด
ภาวะหัวใจขาดเลือดสามารถทำให้เสียชีวิตได้ จึงต้องจำอาการเตือนที่สำคัญต่างๆไว้ และรีบพบแพทย์ในทันที
อาการต่างๆ เช่น:
-
รู้สึกมีแรงดันจำนวนมาก แน่น เจ็บเหมือนถูกบีบหรือปวดที่บริเวณกลางอก
-
ความรู้สึกเจ็บแผ่กระจายไปที่บริเวณแขน คอ กรามหรือแผ่นหลัง
-
รู้สึกเหมือนถูกบีบอัดหรือโดนทับหนักๆที่บริเวณหน้าอก
-
รู้สึกเหมือนมีอาการแสบร้อนกลางอกหรืออาหารไม่ย่อย
-
รู้สึกเหนอะหนะและมีเหงื่อออก
-
หายใจถี่ๆ
-
รู้สึกวิงเวียนศีรษะ หรือมึนงง
-
ในบางรายอาจมีอาการวิตกกังวลมากกว่าปกติ
-
ไอหรือหายใจมีเสียง หากพบว่ามีน้ำในปอด
อาการต่างๆที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบุช่วงเวลาและไม่มีรูปแบบก่อนหลัง-อาจมีอาการนำมาล่วงหน้าหลายวันหรือเป็นแล้วก็ไปทันที
ภาวะอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นตามมา:
-
ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด: คืออาการที่เกิดขึ้นเพราะมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
-
ภาวะน้ำท่วมปอด: คือภาวะที่ของเหลวไปสะสมอยู่ภายในและรอบๆปอดทั้งสองข้าง
-
ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ: เป็นภาวะระดับความดันเลือดตกลงอย่างเฉียบพลัน เพราะหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้มากพอสำหรับไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
เพศหญิงและเพศชายมีโอกาสต้องเจอกับภาวะหัวใจขาดเลือดแตกต่างกัน เรียนรู้เรื่องของอาการหัวใจขาดเลือดในผู้หญิงได้ที่นี่
สาเหตุของหัวใจขาดเลือด
สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะหัวใจขาดเลือดคือเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกกีดขวาง
สาเหตุของภาวะโรคหลอดเลือดโคโรนารีคือมีไขมันและหินปูนเกาะที่ผนังชั้นในของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแข็งไม่ยืดหยุ่นส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบ ตัน เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
-
ใช้ยาเสพติด เช่นโคเคน เป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดตีบ
-
ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำในระหว่างเกิดภาวะโรคเช่น ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยต่อไปนี้เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากขึ้น:
-
อายุที่เพิ่มมากขึ้น
-
เพศชาย
-
มีระดับคอเรสเตอรอลสูง
-
ระดับความดันโลหิตสูง
-
มีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆเช่นภาวะโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน
-
รับประทานอาหารแปรรูปบ่อย ชอบเติมไขมัน น้ำตาลและเกลือ
-
ไม่ค่อยทำกิจกรรม
-
ปัจจัยทางกรรมพันธ์และมีประวัติทางครอบครัว
-
สูบบุหรี่
-
ดื่มแอลกอฮอร์ในปริมาณมาก
-
มีความเครียดสูง
การรักษาหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
ในปัจจบันมีผู้ป่วยที่สามารถรอดชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือดหากได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การรักษาที่ช้า ยิ่งช้ามากไปเท่าไรก็ยิ่งลดโอกาสการมีชีวิตรอดมากเท่านั้น
เมื่อคุณเป็นคนโทรเรียกฉุกเฉิน
-
ควรเตรียมความพร้อมในคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นและอยู่ตำแหน่งไหน
-
สงบสติอารมณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำจากทีมกู้ชีพฉุกเฉิน
ในระหว่างคอยให้ทีมช่วยเหลือมาถึง ให้พูดคุยกับผู้ป่วยและสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยว่าการช่วยเหลือกำลังเดินทางมาแล้ว
การกู้ชีพซีพีอาร์CPR
หากพบว่าผู้ป่วยมีภาวะหยุดหายใจ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:
การกดหน้าอกด้วยมือ:
-
ล็อคนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันและวางมือลงตรงบริเวณกลางอก
-
วางมือโน้มตัวให้แนวไหล่ของคุณอยู่ตรงกับมือ ล็อคข้อศอกและกดให้หนักและเร็วในอัตรา100-120ครั้งต่อนาที กดลึกประมาณ 2 นิ้ว
-
ยังคงทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะเริ่มหายใจหรือสามารถขยับตัวได้ ทำไปจนมีคนมารับช่วงต่อหรือจนคุณรู้สึกเหนื่อย
-
หากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนมือโดยไม่หยุดกด.
ใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
-
เครื่องAEDสามารถพบเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้าและที่สาธารณะหลายๆที่
-
เครื่อง AED เป็นเครื่องกระตุกที่จะทำให้หัวใจกลับมาเต้นได้อีกครั้ง
-
ตั้งสติและทำตามคำแนะนำ เครื่องAEDรุ่นใหม่ๆสามารถบอกขั้นตอนทีละขั้นๆให้แก่คุณได้
เรียนรู้วิธีทำซีพีอาร์ได้ที่นี่
การรักษาด้วยยา
ทันทีที่ทีมกู้ชีพมาถึงพวกเขาจะรับมือต่อจากคุณเอง
ให้ข้อมูลรายละเอียดเท่าที่จะเป็นได้เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย หรือว่าเหตุการณ์อะไรขึ้นก่อนหน้านี้
ทีมกู้ชีพจะพยายามทำให้อาการผู้ป่วยเสถียรด้วยการให้ออกซิเจน
การรักษาที่โรงพยาบาล ทีมแพทย์จะตรวจอย่างละเอียดแล้วลงมือรักษาอย่างเหมาะสม
มีแนวทางการรักษามากมายแต่ที่เป็นหลักๆคือ3ทางเลือกดังต่อไปนี้:
-
การรักษาด้วยา เพื่อละลายลิ่มเลือด
-
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดเลือด เป็นอีกวิธีที่จะแก้ไขให้การไหลเวียนของเลือดกลับคืนมา
-
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจ หรือที่เรียกกันว่าการทำบายพาสหัวใจ คือการเปลี่ยนเส้นทางของเลือดในพื้นที่ของหลอดเลือดแดงรอบๆให้มีการไหลเวียนที่ดีขึ้น
ทีมแพทย์จะช่วยกันทำงานวางแผนร่วมกันเพื่อป้องกันการเกิดจู่โจมในอนาคต
ภาวะแทรกซ้อน
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด อาการจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้:
-
เกิดความเครียด: พบได้ทั่วไปหลังเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดควรปรึกษากลุ่มบำบัดเพื่อผ่อนคลายความเครียดลง
-
หัวใจเต้นผิดจังหวะ: คือจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เร็วไปบ้างหรือช้าไปบ้าง
-
เกิดอาการบวมน้ำ: เมื่อเกิดของเหลวสะสมขึ้นก็เป็นสาเหตุให้เกิดการบวมที่บริเวณข้อเท้าและเท้า
-
ผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง: เนื้อเยื่อแผลเป็นจะเกิดขึ้นตรงส่วนผนังหัวใจที่เกิดความเสียหาย มีผลต่อการยืดขยายของกล้ามเนื้อหัวใจ และอาจเกิดเป็นถุงน้ำซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันของเลือดได้
-
แน่นหน้าอก: เมื่อออกซิเจนที่จะไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยไม่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสาเหตุทำให้เจ็บแน่นหน้าอก
-
หัวใจวาย: เมื่อหัวใจมีการสูบฉีดที่ไม่ดีก็สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ยากต่อการหายใจและเกิดอาการบวมน้ำ
-
ผนังกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด: เมื่อผนังกล้ามเนื้อหรือลิ้นหัวใจเกิดการปริแตก เป็นความเสียหายที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
การรักษาอย่างต่อเนื่องและเฝ้าติดตามอาการจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
การป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด
มีหลายวิธีในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจไว้ดังนี้
-
ควรหลีกเลี่ยงหรือเลิกสูบบุหรี่
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมให้
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-
ดูแลโรคเบาหวาน ภาวะระดับคอเรสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆให้หาย
-
ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์
-
ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
-
หากเป็นไปได้ควรลดความเครียดหรือฝึกฝนหาทางเพื่อลดความเครียดลง
การรับรู้อาการของหัวใจขาดเลือดจะสามารถช่วยให้มีการดูแลตัวเองล่วงหน้าก่อนและทำให้มีโอกาสที่ดีมากขึ้นในการรักษา
การวินิจฉัย
ในโรงพยาบาลแพทย์จะสอบถามอาการและซักประวัติดังต่อไปนี้:
-
อายุ
-
สุขภาพ
-
ประวัติการใช้ยา
-
ประวิติครอบครัว
รวมถึงการตรวจเพิ่มเติมเช่น:
-
การตรวจด้วยการเอกซเรย์ ซีทีสแกนและการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง
-
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
-
การตรวจเลือด ก็สามารถระบุโรคหัวใจขาดเลือดได้
-
การตรวจสวนหัวใจ เป็นการตรวจสอดสายเข้าไปตรวจดูภายในหัวใจ
การฟื้นฟู
ระยะเวลาในการฟื้นฟูอาจต้องใช้เวลานาน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะหัวใจขาดเลือดและปัจจัยอื่นๆ เช่นสาเหตุและอายุของผู้ป่วย
รวมถึงปัจจัยอื่นๆเช่น:
-
กระบวนการฟื้นฟูหัวใจ: ทีมแพทย์จะช่วยผู้ป่วยในการวางแผนเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยและทำการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดซ้ำอีกครั้ง
-
การกลับไปออกกำลังกายอีกครั้ง: ทีมแพทย์จะแนะนำกิจกรรมที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย
-
การกลับไปทำงานอีกครั้ง: ระยะเวลาขึ้นกับชนิดของงานที่ผู้ป่วยต้องทำและระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจขาดเลือด
-
การขับรถ: แพทย์จะแนะนำช่วงระยะเวลาขึ้นแต่ละบุคคลเป็นรายๆไปตามความเหมาะสม
-
การมีเพศสัมพันธ์: ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปทำกิจกรรมดังกล่าวได้ประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังจากนั้น อาจเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้เนื่องจากการใช้ยา แต่สามารถแก้ไขได้
ผู้ป่วยมักเกิดความเครียดในช่วงระหว่างฟื้นฟูจากภาวะหัวใจขาดเลือด แต่หากได้รับคำปรึกษาหรือพูดคุยบำบัดก็อาจช่วยได้
การเฝ้าติดตาม
ภาวะหัวใจขาดเลือดเป็นโรคที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จำเป็นต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน
สังเกตอาการเตือนเช่นอาการปวดหรือแน่นหน้าอก อาการปวดในส่วนอื่นๆของร่างกายและการหายใจลำบาก
หากพบเจอผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด ควรโทรเรียกฉุกเฉินทันที หากมีการเตรียมพร้อมที่ดีในการรักษา โอกาสที่จะได้ผลออกมาที่ดีก็จะมีเพิ่มมากขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/symptoms-causes/syc-20373106
-
https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/warning-signs-of-a-heart-attack
-
https://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-heart-attacks
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก