ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) : อาการ สาเหตุการรักษา  

ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) : อาการ สาเหตุการรักษา  

28.04
2214
0

ภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) มักพบที่มือ เท้า รักแร้ และขาหนีบ เพราะบริเวณนั้นมีต่อมเหงื่ออยู่มาก แบ่งเป็น

  • Focal hyperhidrosis: เหงื่อออกมากเฉพาะที่ เช่น palmoplantar hyperhidrosis คือเหงื่อออกมากที่ฝ่ามือและส้นเท้า
  • Generalized hyperhidrosis: เหงื่อออกมากทั่วร่างกาย

ภาวะนี้อาจเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดภายหลังก็ได้ แต่พบว่าส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเริ่มเกิดในช่วงวัยรุ่น

ภาวะนี้อาจเกิดจากโรคอื่นๆ หรืออาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ

สำหรับบางคน ภาวะเหงื่อออกมากนั้นรุนแรงจนทำให้อับอาย ไม่สบายตัวและวิตกกังวล กระทบถึงการเลือกอาชีพ กิจกรรมยามว่าง ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ภาพลักษณ์ และสุขภาวะอารมณ์ของผู้นั้น

มีวิธีการหลากหลายที่ได้ผลดีในการรักษาอาการ แต่ปัญหาใหญ่คือผู้ที่มีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติมักไม่มารับการรักษา เพราะไม่คิดว่าอาการนี้รักษาได้ และได้ผลดี

อาการเหงื่อออกมาก

เหงื่อออกมากผิดปกติ คือมีเหงื่อออกมากจนมีผลต่อการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน มีอาการอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งโดยไม่มีสาเหตุอื่น และมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

อาการและอาการแสดง เช่น:

  • ฝ่ามือชื้นหรือเปียก
  • ฝ่าเท้าชื้นหรือเปียก
  • เหงื่อออกบ่อยๆ
  • เหงื่อออกมากจนเปียกเสื้อผ้าที่สวมใส่

ผู้ที่มีเหงื่อออกมากผิดปกติอาจมีอาการดังนี้ร่วมด้วย:

  • มีการระคายเคืองและเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย
  • กังวลกับเสื้อผ้าที่มีคราบเหงื่อ
  • มักลังเลที่จะถูกต้องตัวผู้อื่น
  • ประหม่า
  • ไม่กล้าเข้าสังคม บางครั้งอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
  • มักเลือกงานที่ไม่ต้องสัมผัสผู้คน หรือติดต่อกับผู้คน
  • ใช้เวลามากมายในแต่ละวันจัดการกับเหงื่อ เช่น เปลี่ยนเสื้อผ้า เช็ดเหงื่อ ใช้ผ้ารองรักแร้ อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าหลวมหรือสีเข้ม
  • กังวลเรื่องกลิ่นตัวมากกว่าคนปกติ

สาเหตุเหงื่อออกมาก

สาเหตุของเหงื่อออกมากผิดปกติชนิด primary ยังไม่ทราบแน่นอน แต่เหงื่อออกมากผิดปกติชนิด secondary มีสาเหตุมากมาย

Hyperhidrosis

สาเหตุของเหงื่อออกมากผิดปกติชนิด Primary 

เคยเข้าใจกันว่าเหงื่อออกมากผิดปกติชนิด primary เกี่ยวข้องกับภาวะทางจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย จากความเครียด กังวลหรือตื่นเต้นของแต่ละคน

แต่การวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้ ไม่ได้มีแนวโน้มจะมีความกังวล ตื่นเต้นหรือความเครียดทางอารมณ์ มากกว่าคนทั่วไปแต่อย่างใด

แต่ในทางกลับกัน การมีโรคนี้ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ จากการที่มีเหงื่อออกมากผิดปกติ

พันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีพี่น้องหรือพ่อแม่ที่มีอาการนี้

อาการของเหงื่อออกมากผิดปกติชนิด Secondary 

การดูแลตนเอง

  • ยาระงับเหงื่อชนิดสเปรย์บางชนิดมีส่วนผสมของอลูมินัมคลอไรด์ ซึ่งจะไปอุดต่อมเหงื่อ
  • ใส่แผ่นรองใต้รักแร้ เพื่อไม่ให้เหงื่อเปียกเสื้อ
  • เสื้อผ้า เส้นใยไนลอนมักทำให้อาการเลวลง ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ
  • รองเท้า หนังเทียมทำให้อาการเลวลง ควรใส่รองเท้าที่ทำจากหนังธรรมชาติ
  • ถุงเท้า ถุงเท้าบางชนิดซึมซับความชื้นได้ดี เช่นถุงเท้าที่หนาและนุ่มที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ

หากวิธีการเหล่านี้ไม่ได้ผล ต้องใช้ยาช่วย

การรักษาเหงื่อออกมาก

แพทย์อาจแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง

ซึ่งอาจแนะนำวิธีการดังนี้

  • Iontophoresis – แช่มือและเท้าในน้ำ ปล่อยกระแสไฟฟ้าที่ไม่ทำให้เจ็บผ่านน้ำ โดยทั่วไปจะทำ 2-4 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที
  •  Botulinum toxin  – ฉีดพิษ Botox เพื่อปิดกั้นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงต่อมเหงื่อ อาจต้องฉีดหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลดี
  • ยา Anticholinergic  – ซึ่งจะกดการส่งกระแสประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นภายในสองสัปดาห์ 
  • ETS (Endoscopic Thoracic Sympathectomy) – ใช้เฉพาะรายที่รุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่นเท่านั้น โดยการตัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงต่อมเหงื่อ
  • ETS อาจใช้รักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่ใบหน้า มือ หรือรักแร้ ไม่ใช้กับบริเวณเท้า เพราะเสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพทางเพศอย่างถาวร

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *