โพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปริมาณโพแทสเซียมสูงกว่าปกติ ปกติแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งทำให้ยากต่อการวินิจฉัย
สาเหตุของการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงเกิดจากโรคไตเรื้อรัง เบาหวาน การขาดน้ำ การมีเลือดออกรุนแรง รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมมากไป และยาบางชนิด แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะโพแทสเซียมสูงเมื่อมีปริมาณโพแทสเซียมระหว่าง 5.0–5.5 มิลลิโมล/ลิตร
การรักษาภาวะโพแทสเซียมสูงนั้นสามารถทำได้หลายแบบขึ้นอยู่กับความรุนแรง ในภาวะโพแทสเซียมสูงชนิดฉับพลัน เช่น ได้รับบาดเจ็บ แพทย์อาจใช้วิธีไดอะไลซิสและการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำเพื่อขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย ภ่วะโพแทสเซียมสูงเรื้อรังนั้นเกิดจากไตของผู้ป่วยทำงานได้ไม่ดี แพทย์จะรักษาการทำงานของไต
อาการโพแทสเซียมในเลือดสูง
ปกติแล้ว ผู้ที่มีภาวะโพแทสเซียมสูงจะไม่แสดงอาการ ซึ่งหมายถึงแพทย์จะไม่สามารถตรวจพบจนกว่าอาการจะแย่ลง
ภาวะโพแทสเซียมสูงแบบฉับพลันนั้นเป็นอันตรายมากกว่าภาวะโพแทสเซียมสูงแบบเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองชนิดนั้นสามารถเป็นอันตรายได้ เพราะสามารถทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวและอัมพาตได้
ภาวะโพแทสเซียมเรื้อรังนั้นแสดงอาการน้อยกว่าแบบฉับพลัน
ในกรณีที่เป็นมาก อาการจะมีดังนี้:
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- รู้สึกอ่อนเพลียและอิดโรย
- คลื่นไส้
- ปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว
- หายใจลำบาก
- หัวใจเต้นผิดปกติ และเจ็บหน้าอก
สาเหตุของโพแทสเซียมในเลือดสูง
สาเหตุทีทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูงนั้นมีได้หลายอย่าง:
- โรคไตเรื้อรัง: ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของไตอาจทำให้ไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม
- เบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา: การขากอินซูลินทำให้เกิดโพแทสเซียมในเลือดสูงได้
- การรับประทานยาบางชนิด: การรับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen และ naproxen ยาขับปัสสาวะบางชนิด ยากดภูมิคุ้มกัน (cyclosporine) ยาฆ่าเชื้อ (trimethoprim) ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม angiotensin inhibitors ยากั้น Beta blocker ยากั้นแคลเซียม ยาหย่อนหล้ามเนื้อ (succinylcholine) ยารักษาโรคหัวใจ (digoxin) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (heparin) และ ยาขับปัสสาวะ (mannitol) สามารถทำให้โพแทสเซียมสูงได้
- โรคหัวใจ: ในเคสที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว การทำงานของไตลดลง และการรักาอาจทำให้โพแทสเซียมสูงขึ้นได้
- ได้รับบาดเจ็บ: การที่เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บอาจทำให้ปริมาณโพแทสเซียมสูงขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้
- การขาดฮอร์โมนออลโดสเตอโรนก็ทำให้เกิดโพแทสเซียมสูงได้
- ความผิดปกติของต่อมหมวกไตชั้นนอก: โรคที่พบได้น้อยที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนทำให้ฮอโมนออลโดสเตอโรนลดลง
- ได้รับโพแทสเซียมมากไป: การได้รับโพแทสเซียมมากไปจากยาหรืออาหารทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูงได้ ซึ่งเกิดขขึ้นได้น้อยแต่ส่งผลกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตอยู่แล้ว
- โพแทสเซียมในเลือดสูงแบบเทียม: เกิดจากความผิดพลาดของการอ่านค่าโพแทสเซียม ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อใช้ไซริงหรือเคครื่องมือที่ทำให้เกิดการแตกของเซลล์เม็ดเลือดแดง
การป้องกันภาวะโพแทสเซียมสูง
หากมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีภาวะโพแทสเซียมสูง แพทย์จะแนะนำให้ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงมีดังนี้:
- มันหวาน
- ซอสมะเขือเทศเข้มข้น
- ใบของบีทรูท
- มันฝรั่ง
- ถั่วขาว
- โยเกิร์ต
- ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศกระป๋อง
- น้ำผลไม้ เช่น พรุน แครอท และน้ำมะเขือเทศ
- โปรตีนต่าง ๆ เช่น ถั่วขาว หอยลาย ปลาแฮลิบัต ถั่วเหลือง ทูน่า ถั่วลิมา และปลาคอด
- ผลไม้ผลเดี่ยว โดยเฉพาะ พรุนแห้ง แอปริคอต และพีช
การรักษาภาวะโพแทสเซียมสูง
แพทย์จะใช้การรักษา Hyperkalemia โดยการไดอะไลซิสในเคสที่เร่งด่วน ไดอะไลซิสคือการฟอกเลือดเพื่อลดระดับโพแทสเซียมในเลือด ผู้ป่วยที่ไตวายหรือเกิดภาวะโพแทสเซียมสูงอย่างฉับพลันจะรักษาด้วยวิธีไดอะไลซิสได้ดี
ในภาวะโพแทสเซียมสูงชนิดฉับพลัน แพทย์อาจทำการรักษาต่อไปนี้เพื่อลดปริมาณโพแทสเซียมในเลือด:
- ฉีดเเคลเซียมเข้าเส้นเลือด: การฉีดแคลเซียมเข้าเส้นเลือดจะช่วยลดปริมาณโพแทสเซียม
- ฉีดอินซูลินและกลูโคสเข้าเส้นเลือด: วิธีนี้เป็นวิธีที่น่าเช่อถือที่สุดที่จะลดระดับโพแทสเซียม ในเคสส่วนมาก แพทย์จะใช้อินซูลิน 10 มิลลิกรัม และกลูโคส 25 มิลลิกรัม
- ยาซัลบูทามอน: ยานี้ใช้ได้ผลกับผู้ป่วยบางกลุ่ม แพทย์มักใช้ยานี้ร่วมกับการรักษาอย่างอื่น
การรักษาโพแทสเซียมสูงชนิดเรื้อรังนั้นรวมไปถึงการเปลี่ยนยา หลีกเลี่ยงยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่มช่สเตียรอยด์ และลดการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียม กลุ่มยาขับปัสสาวะ Loop diuretics อาจช่วยรักษาโพแทสเซียมสูงบางชนิดได้
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/symptoms/hyperkalemia/basics/definition/sym-20050776
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-does-potassium-do-body#1
- https://www.kidney.org/atoz/content/what-hyperkalemia
- https://www.kidneyfund.org/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/complications/high-potassium-hyperkalemia.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก