แพ้ยาง (Latex allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แพ้ยาง (Latex allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

21.05
7115
0

การแพ้ยาง (Latex allergy) คืออาการแพ้ต่างๆที่เกิดขึ้นจากน้ำยางธรรมชาติ มักเกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสกับถุงมือยาง และก่อให้เกิดอาการหลายอย่าง ซึ่งบางอาการอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้

อาการแพ้จะปรากฏขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารแปลกปลอม ในที่นี้คือ ลาเท็กซ์ ( Latex )

บทความนี้จะครอบคลุมประเภทของการแพ้น้ำยางรวมถึง อาการ การวินิจฉัย และการรักษา

น้ำยางคืออะไร

น้ำยาง(Latex) เป็นน้ำที่ผลิตโดยพืชบางชนิด เช่น ยางพาราในเขตร้อน น้ำยางยังเป็นตัวผสมของน้ำตาลและโปรตีน พืชมักจะปล่อยน้ำยางออกมาหลังจากได้รับบาดเจ็บ ลักษณะเดียวกับมนุษย์ที่จะมีเลือดออกหลังจากได้รับบาดเจ็บ พืชใช้น้ำยางเป็นตัวป้องกันแมลง

น้ำยางธรรมชาติมักมีสีขาว แต่อาจมีสีแดง ส้ม และเหลือง ในผลิตภัณฑ์สมัยใหม่หลายชนิดมีการสังเคราะห์น้ำยาง แทนที่การนำน้ำยางมาจากแหล่งธรรมชาติ

แม้ว่าถุงมือยางจะเป็นสาเหตุหลักของอาการแพ้น้ำยาง แต่ก็ยังมีการใช้น้ำยางในผลิตภัณฑ์หลายประเภทเช่น ถุงยางอนามัย และอุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด น้ำยางถูกใช้ในผลิตภัณฑ์กว่า 40,000 รายการ ที่มีการใช้งานแตกต่างกันไป

สาเหตุของการแพ้น้ำยางคืออะไร

ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ จะมีการระบุน้ำยางว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเป็นสารหรือสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ระบบภูมิคุ้มกันจะกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายผลิตแอนติบอดี (Antibodies)เพื่อต่อสู้กับส่วนประกอบของน้ำยาง ในครั้งต่อไปที่ร่างกายสัมผัสกับน้ำยาง แอนติบอดีจะตรวจจับและส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันปล่อยสารเคมี รวมทั้งฮีสตามีน (Histamine)เข้าสู่กระแสเลือด

ยิ่งคนที่มีผิวอ่อนแอเมื่อสัมผัสกับน้ำยางมากเท่าไหร่ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของพวกเขาก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้นซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาไวต่อสิ่งกระตุ้น (Sensitization) ของอาการแพ้

ในระหว่างการผลิตมักมีการปรับเปลี่ยนน้ำยาง บางครั้งล้างผลิตภัณฑ์ไม่ทั่วถึง เป็นผลให้มี ถุงมือยางที่มีสารน้ำยางมีปริมาณน้ำยางมากขึ้นบนพื้นผิวหรือเจือปนด้วยสารเคมีอื่น ๆ นี้มีส่วนสำคัญทำให้เกิดการแพ้น้ำยาง

น้ำยางอิสระ ติดกับแป้งที่มักใช้ในถุงมือผ่าตัดได้อย่างง่ายดาย ในระหว่างการใช้งานถุงมือมักจะ “ดึงและยืด” เมื่อสวมถุงมือหรือถอดออก การดึงและยืดนี้จะทำให้ผงน้ำยางลอยไปในอากาศ ผงน้ำยางที่สูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดการแพ้ที่รุนแรงได้

ประเภทของการแพ้น้ำยาง

เราจะมาดูประเภทของการแพ้น้ำยางที่พบบ่อยที่สุดดังนี้

ปฏิกิริยาไวเกินต่อน้ำยางประเภท 1 (Latex hypersensitivity type 1)

นี่เป็นรูปแบบการแพ้ที่ร้ายแรงและเกิดได้ยาก ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงในทันทีทันใด อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต บางคนที่มีอาการแพ้น้ำยางชนิดที่ 1นี้ อาจมีปฏิกิริยาในลักษณะเดียวกันกับผึ้งต่อย

อาการของการแพ้น้ำยาง ได้แก่

  • คัดจมูก –  ระคายเคืองจมูก เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ
  • ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบการระคายเคืองตา คันอย่างรุนแรง
  • ระคายเคืองตามตัว
  • คันตามตัว
  • ปวดตามร่างกาย
  • ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ

อาการอาจมีความรุนแรงขึ้นคือ

ผู้ที่แพ้น้ำยางอย่างรุนแรง อาจตอบสนองได้ไวต่อเสื้อผ้า รองเท้าและสิ่งอื่นๆ ที่มีน้ำยางธรรมชาติผสมอยู่ (ยางยืด ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย จุกนมเทียม ลูกโป่ง อุปกรณ์ภายในรถยนต์)

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้

ประเภทนี้ มีความอ่อนไหวมาก สามารถเกิดอาการขึ้นได้จากการสัมผัสกับอนุภาคในอากาศ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัดไปในอากาศของผงยาง

โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส

ผู้ที่แพ้ยาง หรือแพ้ถุงมือยางจะมีปฏิกิริยาทางผิวหนังแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีผื่นขึ้นหลังจากสัมผัสกับน้ำยาง 

อาการและอาการแสดงอาจส่งผลกระทบต่อผิวหนังทั้งหมด ได้แก่

  • ผิวหนังตกสะเก็ด
  • ผิวแห้งจากการไหม้
  • แผลพุพอง
  • ผิวหนังมีของเหลวซึมออกมา

โรคผิวหนังอักเสบชนิดนี้ เกิดจากสารเคมีเติมแต่งที่ใช้ในกระบวนการผลิตยาง ในปัจจุบันมีการทดสอบที่สามารถระบุได้ว่ามีการแพ้สารเคมีชนิดใด ทันทีที่พบว่ามีการแพ้สารชนิดใด สามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกรรมวิธีทางเคมีของสารนั้นได้

ผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง

เป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่พบบ่อยที่สุดและไม่รุนแรงที่สุด ทำให้ผิวหนังเกิดการแห้ง คันระคายเคือง  ผิวหนังไหม้ และผิวหนังตกสะเก็ด ส่วนใหญ่อาการแสดงมักอยู่ในส่วนมือของผู้ป่วย

ผิวหนังจะระคายเคืองหลังจากใช้ถุงมือและล้างมือบ่อยๆ เกิดจากผิวหนังแห้งและการสัมผัสน้ำล้างมือ รวมถึงสารแป้งทัลคัมที่เคลือบถุงมือด้วย

Latex allergy

การรักษาอาการแพ้น้ำยาง

ในปัจจุบันไม่มีวิธีการรักษาที่ช่วยลดความไวหรือปฏิกิริยาในคนที่แพ้น้ำยาง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือไม่มีวิธีใดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ได้ หากมีคนแพ้น้ำยาง สัมผัสกับน้ำยาง

อาการแพ้จะได้รับการรักษาด้วย ยาแก้แพ้(Antihistamines) ยาอดรีนาลีน  (Adrenaline) และยากดภูมิคุ้มกัน (Steroids)

วิธีที่ได้ผลที่สุดในการรักษาอาการแพ้ประเภทนี้ คือ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำยาง ผู้ป่วยทราบว่าผลิตภัณฑ์อะไรที่มีส่วนผสมของน้ำยางและหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่อาจมีน้ำยาง นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆที่สามารถใช้แทนน้ำยางได้ เช่น โพลีเมอร์ (ไนไตรล์, SBR, บิวทิล, ไวตรอน) และยางยืดสังเคราะห์ เช่น อีลาสเตน(Elastane) หรือนีโอพรีน (Neoprene)

น่าเสียดายที่กฏหมายไม่ได้บังคับใช้ให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำยาง  ระบุบนฉลากของตนว่าใช้สารเคมีใดในกระบวนการผลิต  

แต่ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางธรรมชาติที่มีลักษณะเป็นอิมัลชั่น(Emulsions)อื่นๆ มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ต่ำมาก

ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีข้อความระบุว่า “ น้ำยางปลอดภัย” โดยผู้ผลิต สิ่งนี้บ่งบอกถึงสัดส่วนของน้ำยางธรรมชาติที่ลดลง อย่างไรก็ตามยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้น้ำยางได้ ผู้ป่วยควรระมัดระวังการใช้สิ่งของที่ติดป้ายฉลากดังกล่าว

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการแพ้น้ำยาง

บางคนมีแนวโน้มที่จะแพ้น้ำยางโดยมีปัจจัยมาจากพันธุกรรม อย่างไรก็ตามการสัมผัสกับน้ำยางซ้ำๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การเกิดการแพ้ ผู้ที่มีความเสี่ยงในการแพ้มากขึ้น ได้แก่ 

  • บุคคลากรทางการแพทย์ – ในสถานพยาบาลมีน้ำยางอยู่ทั่วไป
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลายๆครั้ง โดยเฉพาะในวัยเด็ก
  • ผู้ที่มีความบกพร่องในเซลล์ไขกระดูก 
  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะเป็นประจำ พร้อมสายที่มีปลายยาง
  • ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ 
  • คนที่เป็นโรคหอบหืด
  • พนักงานที่ทำงานแจกจ่ายหรือส่งมอบผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา
  • คนงานในอุตสาหกรรมยาง
  • ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตยางรถยนต์
  • ผู้ใช้ถุงยางอนามัย

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่แพ้อาหารจากพืชเช่น มะม่วง กีวี อะโวคาโด สับปะรด กล้วย เกาลัด สตรอเบอร์รี่ และเสาวรส (ดูในหัวข้อด้านล่าง: “ ปฏิกิริยาข้ามคืออะไร”)

น้ำยางพบได้ที่ไหน 

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่อาจมีน้ำยาง:

  • ผลิตภัณฑ์ปิดแผล
  • ลูกโป่ง
  • ที่รัดแขนวัดความดันโลหิต
  • ขวดหัวนม
  • ถุงยางอนามัย
  • อุปกรณ์สายสวนต่างๆ
  • อุปกรณ์ทันตกรรมเช่น แถบยางจัดฟัน
  • ฝาครอบปากมดลูก
  • ยางลบ
  • ถุงมือยาง
  • หมวกกันน็อก
  • สายให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
  • สายรัดเอวยางยืดในกางเกงและชุดชั้นใน
  • จุกนม
  • ยางรัด
  • ยางซีเมนต์ (ใช้ในโรงเรียนและสำนักงาน)
  • พรมและผ้ากันลื่นในห้องน้ำ 
  • รองเท้า
  • เสื้อผ้าใยสังเคราะห์
  • อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชิ้น
  • ถุงมือผ่าตัด
  • ฟันของเล่น
  • ของเล่นเด็ก
  • ท่อระบายอากาศ
  • สายนาฬิกาข้อมือ

ไม่ใช่ทุกยี่ห้อที่มีส่วนผสมของน้ำยาง ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ควรตรวจสอบฉลากหรือติดต่อผู้ผลิต

ปฏิกิริยาข้ามกันคืออะไร 

บางคนที่แพ้น้ำยางอาจแพ้อาหารบางชนิดด้วย เราเรียกสิ่งนี้ว่า ปฏิกิริยาข้ามกัน (Cross-reaction) ในระยะสั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองต่ออาหารซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับน้ำยาง

ปฏิกิริยาข้ามกันแต่งต่างกันในแต่ละบุคคล ในบางคนตอบสนองต่ออาหารทุกชนิดที่ทราบว่าก่อให้เกิดปฏิกิริยาข้ามกัน (ตามรายการด้านล่าง) แต่บางคนอาจไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าใครแพ้อาหารที่ระบุไว้ด้านล่างก็อาจแพ้น้ำยางเช่นกัน

ผลไม้บางชนิด เช่นสตรอเบอร์รี่ สับปะรด ลูกแพร์ ลูกพีช เชอร์รี่ เสาวรส มะละกอ แตงโม องุ่น มะเดื่อ ลูกพลัม ลูกพีช กีวี กล้วย และแอปเปิ้ล

ผัก – มะเขือเทศ อะโวคาโด ขึ้นฉ่าย แครอท และมันฝรั่งดิบ

ถั่วบางชนิด – เฮเซลนัท และเกาลัด

ธัญพืชบางชนิด – ข้าวไรย์ และข้าวสาลี

ใครที่วางแผนจะเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากพวกเขาแพ้อาหารเหล่านี้ เพราะมีความเสี่ยงที่อาจเกิดปฏิกิริยาข้ามกับน้ำยาง

การวินิจฉัยการแพ้น้ำยาง

แพทย์อาจสั่งให้ตรวจ แผ่นทดสอบการแพ้ (Standard allergy patch ) ซึ่งสามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยมีความไวต่อน้ำยางและสารอื่นที่คล้ายคลึงกันหรือไม่ ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากเมื่อทำการทดสอบนี้ เนื่องจากในบางกรณีผู้ป่วยอาจมีปฏิกิริยารุนแรง

แพทย์อาจสั่งให้ตรวจเลือดด้วย

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแพ้ยาง

  • น้ำยางลาเท็กซ์ (Latex) มีอยู่ในผลิตภัณฑ์มากมายเช่น ลูกโป่ง อุปกรณ์ทางการแพทย์ และพรมเช็ดเท้า
  • น้ำยางเกิดจากพืชบางชนิดตามธรรมชาติ
  • โดยทั่วไปประชากรน้อยกว่าร้อยละ 1 มีการแพ้น้ำยาง
  • อาการแพ้น้ำยางที่พบบ่อยที่สุด คือ ผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง (Irritant contact dermatitis)

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *