ปวดขา (Leg Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปวดขา (Leg Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.01
1141
0

อาการปวดในทุกส่วนของขา (Leg Pain) เป็นอาการทั่วไปของการบาดเจ็บหรือบ่งบอกถึงโรคได้

อาการปวดขามีได้มากมายหลายสาเหตุ สาเหตุจากการบาดเจ็บรวมไปถึงการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาด้วย สาเหตุดังกล่าวอาจส่งผลต่อหลอดเลือด เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ เนื้อเยื่ออ่อนหรือกระดูก  

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปวดขา

อาการปวดขาโดยปกติแล้วมักดูแลตัวเองที่บ้านได้ แต่หากพบว่าอาการปวดเกิดขึ้นแบบฉับพลัน รุนแรงหรือปวดจนทนไม่ไหว หรือปวดร่วมกับอาการอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์

บทความนี้เป็นสาเหตุทั่วไปของอาการปวดขาและสามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ที่บ้าน

อาการปวดขาคืออะไร

อาการปวดเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่นระดับความดันโลหิตสูงหรืออุณหภูมิที่ต่ำและสารเคมีซึ่งเป็นการทำลายเนื้อเยื่อ

อาการปวดขาอาจปวดแบบแปลบ ปวดตุบๆ มีเหน็บชา ปวดแสบปวดร้อน ปวดร้าวหรือมีอาการปวดที่ค่อยๆเพิ่มมากขึ้น

อาการอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน คือเกิดขึ้นทันทีและในระยะเวลาสั้นๆหรืออาจเกิดขึ้นแบบเรื้อรังและเป็นอยู่นาน ความรุนแรงสามารถแบ่งได้เป็นระดับความปวดตั้งแต่1ถึง10 หรือจากน้อยไปถึงขั้นรุนแรง

อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นกีฬาหรือเกิดจากอุบัติเหตุถือว่าเป็นอาการปวดที่ปกติธรรมดาทั่วไป

ส่วนจากสาเหตุอื่นๆเช่นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (PAD) อาจต้องใช้ระยะเวลานานมากขึ้น แต่ก็สามารถระบุได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการในระยะแรกๆ

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นซ้ำๆและเกิดภาวะกระดูกล้า การบาดเจ็บดังกล่าวเป็นอาการระยะยาวหรือเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังไม่ได้รับการพักและการดูแลรักษาที่ถูกต้องการก็ยิ่งเป็นปัญหามากขึ้น

จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการและช่วงเวลาที่มีอาการปวดขา แพทย์จะได้ใช้ประกอบการตัดสินใจถึงรูปแบบวิธีการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเภทของอาการปวดขา

อาการปวดขามีสาเหตุมากมายแตกต่างกันหลายอย่างแต่อาจส่งผลให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกัน การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาที่ถูกทางยิ่งขึ้น

ขาเป็นตะคริวหรืออาการกล้ามเนื้อกระตุก

อาการตะคริวเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นชั่วคราวอาจกินเวลาไม่กี่นาที มักพบอาการตรงบริเวณกล้ามเนื้อน่องด้านหลังส่วนล่างมีการหดเกร็งมาก

ตะคริวมักเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืนและเกิดบ่อยกับผู้สูงอายุ เฉลี่ยประมาณ1ใน3ของผู้ที่มีอายุเกิน60ปีขึ้นไปจะประสบกับอาการเป็นตะคริวในตอนกลางคืน และกว่า40เปอร์เซ็นต์ต้องเป็นบ่อยเกินกว่า3ครั้งต่อสัปดาห์

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (PAD)

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (PAD)เป็นสาเหตุของอาการปวดขาที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่ระบบการไหลเวียนแย่ลง หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อาการสำคัญที่เห็นได้คือ การปวดชาน่องเวลาเดินมากๆหรือออกกำลัง

การปวดชาน่องเวลาเดินมากๆหรือออกกำลังเกิดจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาถูกขัดขวาง การขาดออกซิเจนและสารอาหารที่เพียงพอก็เป็นสาเหตุของอาการปวดได้

การปวดชาน่องเวลาเดินรวมไปถึงอาการต่อไปนี้:

  • มีอาการคล้ายเป็นตะคริวในระหว่างออกกำลังกายหรือออกแรงมากๆ
  • มีอาการปวดตรงบริเวณก้น สะโพก น่องและเท้า
  • มีอาการปวดระหว่างเดินหรือเดินขึ้นบันได

อาการเป็นตะคริวอาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งหลังจากเดินในระยะทางนานๆ ซึ่งบรรเทาได้ด้วยการหยุดพัก

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT)

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT)คือภาวะที่มีลิ่มเลือดก่อตัวที่หลอดเลือดดำส่วนลึกที่บริเวณขา มักเกิดขึ้นหลังจากการต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ เช่นการต้องนั่งบนเครื่องบินที่เดินทางเป็นเวลานาน

อาการต่างๆที่เกิดขึ้นอาจรวมไปถึงการบวมแดง การปวดขาข้างใดข้างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะเวลาเดินหรือลุกขึ้นยืน

ลิ่มเลือดอาจสลายตัวได้เอง แต่หากท่านใดพบว่าตัวเองมีอาการวิงเวียนและหายใจขัด หรือไอออกมาเป็นเลือดควรรีบพบแพทย์ทันที

เพราะอาการดังกล่าวนั้นอาจบ่งบอกว่าภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกอาจแปรเปลี่ยนกลายเป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดได้

โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่อาจรุนแรงได้ ทั้งโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน(PAD)และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT)สามารถเป็นได้โดยไม่แสดงอาการ คนที่มีการดำเนินชีวิตประจำวันหรือคนที่มีประวัติการใช้ยาบางชนิดที่สุ่มเสี่ยงจะส่งผลให้เกิดปัญหาเส้นเลือดที่ขาควรสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองดังต่อไปนี้

อาการเจ็บหน้าแข้ง

การออกแรงอย่างหนักหน่วงในระหว่างการเล่นกีฬาอาจนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บได้มากมายหลายรูปแบบ.

การวิ่งหรือการวิ่งเหยาะๆเป็นการสร้างแรงกระแทกแบบซ้ำๆที่อาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทำงานหนักเกินไป อาการเจ็บหน้าแข้งเป็นอาการเจ็บเฉพาะจุดที่รุนแรงในส่วนของกล้ามเนื้อ และอาจมีอาการเจ็บกระดูกที่อยู่รอบๆกระดูกหน้าแข้งร่วมด้วย

การเจ็บหน้าแข้งไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่ชัดเจนได้เช่นการแตกหัก

กระดูกหักและกระดูกหักล้า

แรงกระแทกอย่างรุนแรงอย่างเช่นการล้มก็สามารถทำให้เกิดการแตกหักได้ การแตกหักบางชนิดสามารถสังเกตได้ง่ายและเห็นได้ทันทีด้วยตาเปล่าพร้อมกับรอยฟกช้ำดำเขียว การบวมและผิดรูปผิดร่าง นี่คืออาการทั่วไปที่ต้องรีบไปพบแพทย์ตามปกติอยู่แล้ว

การแตกหักบางรูปแบบที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยอันเป็นผลมาจากแรงกระแทกซ้ำๆจากการเล่นกีฬาหรือการทำกิจกรรมหนักหน่วงบางอย่างบ่อยๆก็จะยิ่งเพิ่มให้อาการเกิดขึ้นเร็วมากขึ้นได้

การไม่มีบาดแผลให้เห็นและเกิดการแตกหักแค่เพียงเล็กน้อย อาการปวดนั้นจะค่อยๆเริ่มต้นปรากฎอาการในบางครั้งในแต่ละครั้งที่ออกกำลังกายและจะกลายเป็นอาการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในที่สุด

อาการเข่าล็อค

เป็นการเจ็บเข่าที่อาจเกิดขึ้นกับพวกนักวิ่งลงเนินเขา ที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นเอ็นหลังเข่าซึ่งมีส่วนสำคัญในในการทำงานของหัวเข่า

อาการปวดใต้ข้อพับเข่า

อาการเจ็บแบบเฉียบพลันอาจมีอาการตึง ยึด ซึ่งการตึงนี้อาจเกิดจากการฉีกขาด เป็นการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น

มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ออกกำลังกายแบบวิ่ง อาการปวดจะเกิดบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านในด้านหลังและง่ายต่อการฉีกขาด

อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ขากการฝึกฝนที่สม่ำเสมอ ยืดเส้นมากเกินไปหรือไม่ยืดกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อนการวิ่ง การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องในขณะเกิดอาการบาดเจ็บยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น

ภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงขึ้น

เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บที่ขาจะส่งผลให้เกิดอาการบวม และเกิดความดันในกล้ามเนื้อในระดับที่เป็นอันตรายอาจนำไปสู่ภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังขึ้นได้

อาการที่อาจเกิดขึ้นหากมีการแตกหักหรือมีรอยช้ำที่รุนแรง

การบวมที่เกิดจากแรงกระแทกที่ส่งผลให้เลือดที่ต้องไปเลี้ยงกล้ามเนื้อถูกตัดขาด ทำให้ออกซิเจนในกล้ามเนื้อและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการปวดไม่สามารถบอกได้ว่ารุนแรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจเกิดแค่อาการปวดในช่วงแรกและตามมาด้วยอาการชาและเป็นอัมพาตได้เนื่องจากความเสียหายของกล้ามเนื้อระดับถาวร

อาการปวดเส้นประสาทไซอาติก

อาการปวดเส้นประสาทไซอาติกเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ มักพบบ่อยที่บริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดร้าวตั้งแต่ขา สะโพกไปถึงปลายเท้า

อาการนี้เกิดขึ้นได้เมื่อเส้นประสาทโดนกดทับจนมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหรือที่เราเรียกว่ากระดูกทับเส้น

มะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่อาจทำให้เกิดอาการปวดและบวมที่บริเวณขาได้เช่นกัน.

สาเหตุของการปวดขา

อาการปวดขาส่วนใหญ่มักจะแบ่งออกได้โดยดูจากระบบประสาท กล้ามเนื้อและกระดูกหรือเส้นเลือด หรือการกดทับกันของเส้นประสาท

อาการเจ็บจากกล้ามเนื้อและกระดูก: เช่น ภาวะเข่าเสื่อมคือเวลาขยับหรือเดินมักมีเสียงกรอบแกรบเกิดขึ้นที่หัวเข่า หรือข้ออักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเองที่ส่งผลต่อข้อต่อกระดูกสะโพก หัวเข่าหรือข้อเท้า หากกล้ามเนื้อ เอ็นและเส้นเอ็นเกิดอาการตึงแลัวเกิดอาการเจ็บปวดก็จัดเป็นอาการเจ็บจากกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นต้น

อาการเป็นตะคริวในตอนกลางคืน โรคภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงขึ้น และภาวะกระดูกหักล้า ก็อยู่ในกลุ่มอาการเจ็บจากกล้ามเนื้อและกระดูก

อาการปวดจากเส้นเลือด:เช่นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (PAD), ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT), เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ, การติดเชื้อ,เส้นเลือดขอดและโรคผิวหนังอักเสบจากหลอดเลือดขอด อาการเจ็บปวดดังกล่าวนี้อาจพบสีของผิวหนังที่เปลี่ยนไปร่วมด้วย

อาการปวดจากเส้นประสาท: เช่นกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข อาการขากระตุกไม่สามารถควบคุมได้, โรคปลายประสาทอักเสบ, เส้นประสาทเสียหายและอาการปวดเส้นประสาทไซอาติก้า การปวดจากเส้นประสาทอาจเกิดขึ้นได้แม้อยู่ในช่วงพักผ่อนก็ตาม

การรักษาตัวที่บ้าน

ในหลายรายที่มีอาการปวดขาอาจแก้ไขได้เองที่บ้าน โดยไม่มีความจำเป็นต้องมาพบแพทย์

การช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดอาการเป็นตะคริว

หากตัดอาการเป็นตะคริวที่รุนแรงออกไป นี่คือวิธีดูแลตนเองอย่างเหมาะสมได้อย่างง่ายๆ

ยาแก้ปวดไม่สามารถแก้อาการเป็นตะคริวที่ขาได้ เพราะอาการจะเกิดขึ้นอย่างไม่ทันให้ตั้งตัว แต่การยืดเส้นและนวดกล้ามเนื้ออาจช่วยได้

วิธีลดอาการปวดเวลาเป็นตะคริวคือ:

  • จับปลายเท้าไว้แล้วดึงเข้าหาตัวในขณะเดียวกันก็ยืดเท้าให้ตรง
  • เดินบนส้นเท้าจนกว่าอาการตะคริวจะหายไป

วิธีป้องกันการเกิดตะคริว:

  • ยืดเส้นยืดสายเตรียมร่างกายให้พร้อมทั้งก่อนและหลังเล่นกีฬา.
  • พยายามอย่าให้เกิดภาวะขาดน้ำ โดยดื่มน้ำวันละ8ถึง12แก้วทุกวัน
  • ยืดเส้นและนวดขาอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเล็กๆน้อยๆ เช่นขาเคล็ดขัดยอก สามารถรกษาด้วย R.I.C.E

  • R คือการพักผ่อน: เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บในอนาคตและใช้เวลาช่วยเยียวยาในการลดอาการบวม
  • Iคือน้ำแข็ง: เพื่อช่วยลดอาการบวม การอักเสบและอาการปวด ใช้ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งประมาณ20นาทีโดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งก่อนประคบ ห้ามใช้น้ำแข็งโดยตรงกับผิวเด็ดขาด
  • C การรัด: ใส่ผ้ารัดขา แค่พอประคองไว้ไม่ควรรัดแน่นจนเกินไป เพื่อช่วยลดอาการบวมและปวด
  • E ยกเท้าให้สูง: ด้วยการยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อช่วยลดอาการปวดและบวม

การใช้ยาเช่น กลุ่มอะเซตามิโนเฟน หรือยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ก็สามารถช่วยลดอาการปวดได้ แต่หากอาการยังไม่บรรเทาลงเกินกว่า72ชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์

การกลับไปทำกิจกรรมต่างๆควรศึกษาเรื่องวิธีเสริมสร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความทนทานเพื่อความปลอดภัยเพิ่มเติม

ข้อควรรู้ของอาการปวดขา

  • สาเหตุของอาการปวดขาอาจเกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อและกระดูก ระบบประสาท หรือเส้นเลือด
  • อาการปวดหน้าแข้งและภาวะกระดูกหักล้าอาจเป็นผลมาจากการเล่นกีฬารูปแบบซ้ำๆ เช่นการวิ่ง
  • อาการปวดขาบางครั้งอาจบ่งชี้ไปยังโรคที่เกี่ยวของกับปัญหาหลอดเลือดที่รุนแรงได้ อาจถึงแก่ชีวิตได้แม้จะพบไม่บ่อยนักก็ตามจึงจำเป็นต้องรีบปรึกษาแพทย์อย่างทันท่วงที
  • รูปแบบอาการปวดส่วนใหญ่มักจะดูแลตัวเองที่บ้านได้ แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือไม่สามารถทนไหวให้คาดเดาไว้ก่อนว่าอาจเป็นภาวะที่อาจรุนแรงมากกว่าที่คิด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *