ประจำเดือนมาก (Menorrhagia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ประจำเดือนมาก (Menorrhagia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

13.03
11682
0

ประจำเดือนมากผิดปกติ (Menorrhagia) คือ การมีประจำเดือนมากและนาน จนมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

ในรอบประจำเดือนหนึ่ง จะเสียเลือดประมาณ 30-40 มิลลิลิตร หรือ 2-3 ช้อนโต๊ะ ในช่วงการมีประจำเดือน 4-5 วัน แต่การมีประจำเดือนเยอะผิดปกติ คือมีเลือดออกมากกว่า 80 มิลลิลิตรในหนึ่งรอบเดือน หรือปริมาณสองเท่าของปกติ

แต่ส่วนใหญ่ปัญหาที่ผู้หญิงไปพบแพทย์ คือการที่ประจำเดือนมามาก มีกระทบต่อการดำเนินชีวิต ในบางคนประจำเดือนมานานผิดปกติ

คำจำกัดความอีกอย่างหนึ่ง น่าจะเป็น “การมีประจำเดือนมามากกว่าที่ ผู้หญิงจะจัดการได้” คือนานเกิน 7 วันและต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชั่วโมงหรือมากกว่า

และมักมีก้อนเลือดขนาดเท่าเหรียญสิบบาทหรือใหญ่กว่าออกมากับประจำเดือนด้วย อาจมีภาวะเลือดจางจากการเสียเลือดด้วย

ประจำเดือนมากผิดปกติ พบได้บ่อย ผู้หญิงครึ่งหนึ่งที่มีอาการนี้หาสาเหตุไม่พบ แต่ก็อาจเป็นอาการของโรคร้ายแรงได้

ประจำเดือนมาก

สาเหตุของประจำเดือนมามาก

ประจำเดือนมากผิดปกติ จะเกิดในรอบประจำเดือนที่ไม่มีการผลิตไข่ (anovulation) ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลย์ เกิดบ่อยในผู้ที่:

  • เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน

  • กำลังจะหมดประจำเดือน

สาเหตุอื่นๆของประจำเดือนมากผิดปกติ อาจเกิดจาก

  • ฮอร์โมนไม่สมดุล : หากมีการเปลี่ยนแปลงของโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน เยื่อบุมดลูกจะหนาขึ้น ทำให้ประจำเดือนออกมากขึ้น

  • ความผิดปกติของรังไข่: หากรังไข่ไม่ผลิตไข่ในรอบเดือนนั้น โปรเจสเตอโรนจะไม่หลั่ง ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล

  • เนื้องอกในมดลูก

  • ติ่งเนื้อในมดลูก: ติ่งเนื้อทำให้ระดับฮอร์โมนสูงขึ้น

  • มดลูกโต: จากการที่ต่อมในชั้นผนังมดลูกเติบโตเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก

  • การใส่ห่วงคุมกำเนิดแบบไม่มีฮอร์โมน: กระตุ้นให้เกิดประจำเดือนมากผิดปกติได้

  • การอักเสบในช่องเชิงกราน: การอักเสบของระบบสืบพันธุ์ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์: เช่นการแท้ง หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • มะเร็ง:มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งรังไข่ มีผลต่อระบบสืบพันธุ์

  • ภาวะเลือดออกผิดปกติจากพันธุกรรม: เช่นVon Willebrand’s ซึ่งมีความผิดปกติของเกล็ดเลือด(ที่ช่วยให้เลือดหยุด)

  • ยา: เช่นยาต้านการอักเสบ และยาต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดออกมาก

ภาวะสุขภาพอื่นๆที่กระตุ้นการมีประจำเดือนมากผิดปกติ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และโรคตับหรือโรคไต

อาการประจำเดือนมามาก

อาการและอาการแสดง เช่น

  • เลือดออกมากทางช่องคลอด จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมงติดต่อกันหลายชั่วโมง

  • เลือดออกมากจนต้องใช้ผ้าอนามัยซ้อนกันสองผืน

  • ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยกลางดึก

  • เลือดออกนานกว่าหนึ่งสัปดาห์

  • มีก้อนเลือดขนาดเท่าเหรียญสิบบาทหรือใหญ่กว่าออกมาจากช่องคลอด

  • ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติได้เพราะประจำเดือนออกมาก

  • มีอาการและอาการแสดงของโลหิตจาง เช่นเหนื่อยอ่อน กล้ามเนื้อล้าและหายใจตื้น

  • ปวดท้องและบริเวณเชิงกรานตลอดเวลา

หากการมีเลือดออก รบกวนการใช้ชีวิตและการสังคมตามปกติ หรือทำให้มีปัญหาด้านอารมณ์ ควรไปพบแพทย์

การรักษาอาการประจำเดือนมามาก

การรักษาประจำเดือนไม่ปกติขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยแต่ละคน

การให้ยา

  • ยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อแก้ปัญหาเลือดจาง

  • Tranexamic acid หรือ Lysteda ในขณะที่มีเลือดออก ช่วยลดการสูญเสียเลือด

  • ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน เพื่อปรับรอบเดือน และลดจำนวนและเวลาของการเลือดออก

  • โปรเจสเตอโรนชนิดรับประทาน เพื่อปรับสมดุลย์ฮอร์โมน และลดเลือดออก

  • ใส่ห่วงคุมกำเนิดชนิดมีฮอร์โมน เพื่อทำให้ผนังมดลูกบาง ลดเลือดออกและการเกร็งของมดลูก

ผู้หญิงที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น Willebrand’s disease หรือฮีโมฟิเลียอย่างอ่อน การใช้ยาพ่นจมูก Desmopressin หรือ Stimate ช่วยเพิ่มระดับโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว

ยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ เช่น ibuprofen หรือ Advil ใช้รักษาการปวดประจำเดือน และช่วยลดการเสียเลือด แต่ยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเลือดออกได้

กระบวนการทางศัลยกรรม

กระบวนการทางศัลยกรรมหลายชนิดช่วยรักษาหรือลดอาการประจำเดือนมากผิดปกติ เช่น

  • การขูดมดลูก คือการขูดเยื่อบุมดลูกช้ันในออก

  • การอุดเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูก รักษาเนื้องอกมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุของประจำเดือนมากผิดปกติ โดยการอุดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก

  • การส่องกล้องเข้าไปในมดลูก เพื่อดูความหนาของเยื่อบุ ช่วยตัดเนื้องอก ติ่งเนื้อ หรือเยื่อบุมดลูก

  • อัลตราซาวด์ ใช้คลื่นอัลตราซาวด์ เพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอก

  • การตัดเนื้องอกมดลูก โดยวิธีผ่าตัดทางช่องท้องแบบรูเล็ก แบบปกติ หรือผ่านทางช่องคลอด

  • การจี้ที่เยื่อบุมดลูก เพื่อทำลายเยื่อบุมดลูกอย่างถาวร

  • การเลาะเยื่อบุมดลูกออก โดยใช้เครื่องมือลวดไฟฟ้า เพื่อเอาเยื่อบุมดลูกออก

  • การตัดมดลูก ตัดมดลูกและปากมดลูก บางครั้งตัดรังไข่ด้วย

การเลือกใช้วิธีใด ขึ้นกับสาเหตุ อาการ อายุและสุขภาพของผู้ป่วย รวมทั้งความชอบและความคาดหวังของผู้ป่วยด้วย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *