กล้ามเนื้อกระตุก (Muscle Twitching) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กล้ามเนื้อกระตุก (Muscle Twitching) : อาการ สาเหตุ การรักษา

05.12
9651
0

การมีประสบการณ์กล้ามเนื้อกระตุกก่อให้เกิดความหงุดหงิดรำคาญ แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกนี้บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้หรือไม่

กล้ามเนื้อกระตุก (Muscle twitching) เกิดจากการที่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหดเกร็งเองโดยไม่รู้ตัว

เส้นประสาททำหน้าที่ควบคุมเส้นใยกล้ามเนื้อ เมื่อมีบางอย่างมากระตุ้นหรือทำลายเส้นประสาท เป็นสาเหตุทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งและเกิดอาการกระตุ้นเอง โดยปกติอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งมักเกิดขึ้นที่บริเวณใต้ผิวหนัง

ในบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุหลายประการของอาการกล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอันตรายและบางปัจจัยก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรักษาและป้องกันการเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก

กล้ามเนื้อกระตุก

สาเหตุทั่วไป

กล้ามเนื้อกระตุกหรือชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า fasciculation มีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากปัจจัยดังต่อไปนี้

การออกกำลังกายมากเกินไป

เมื่อผู้ที่ออกกำลังกายอย่างเฉียบพลันหรือนานเกินไป พวกเขามักมีอาการกล้ามเนื้อชักกระตุกเกิดขึ้น

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

สารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาททำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและยืดของกล้ามเนื้อ

ภาวะขาดแคลนการนอนหลับส่งผลต่อตัวรับสารสื่อประสาท หมายถึงว่ามีสารสื่อประสาทเกิดขึ้นในสมองมากเกินไป

ผลกระทบที่เกิดจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสารสื่อประสาททำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อชักกระตุก 

ซึ่งบริเวณที่เกิดกล้ามเนื้อกระตุกทั่วไปได้แก่ความเหนื่อยล้าของเปลือกตา

คาเฟอีน

การดื่มกาแฟ ชาหรือเครื่องดื่มชูกำลังที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีนมากเกินไปเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้

คาเฟอีนทำให้เกิดอาการตื่นตัว ดังนั้นเมื่อเราดื่มคาเฟอีนมากเกินไป คาเฟอีนสามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้ที่บริเวณใดก็ได้ของร่างกาย

ภาวะขาดแคลนแคลเซียม

ร่างกายจำเป็นต้องการแคลเซียมเพื่อช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ ดังนั้นภาวะขาดเเคลนแคลเซียมจึงทำให้เกิดกล้ามเนื้อกระตุกได้ ซึ่งภาวะขาดแคลนแคลเซียมมีชื่อเรียกว่าภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) 

ภาวะขาดแคลนแมกนีเซียม

แมกนีเซียมมีหน้าที่รักษาเส้นประสาทและกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและสุขภาพดีเสมอ โดยธาตุแมกนีเซียมช่วยในการลำเลียงแคลเซียมส่งไปยังเยื่อหุ้มเซลล์จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งเพื่อช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ 

ถ้าหากเกิดภาวะขาดแคลนเเคลเซียมสามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกบริเวณใดก็ตามของร่างกายอย่างเช่นใบหน้า ซึ่งเรียกว่าภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (hypomagnesemia)

ขาดแคลนวิตามินดี

เมื่อเส้นประสาทขาดแคลนวิตามินดีที่ทำหน้าที่นำสารจากสมองส่งไปยังกล้ามเนื้อของร่างกายจึงส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเกิดอาการกระตุกเนื่องจากขาดแคลนวิตามินดี

สาเหตุของภาวะขาดแคลนวิตามินดีได้แก่การสัมผัสกับแสงแดดน้อยและการทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ

ภาวะขาดน้ำ

น้ำหนักของกล้ามเนื้อ 75 เปอร์เซนต์คือน้ำ นอกจากน้ำจะช่วยนำสารอาหารและแร่ธาตุไปหล่อเลี้ยงร่างกายเเล้ว ยังช่วยในการทำงานภายในกล้ามเนื้ออีกด้วย 

ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้

ความเครียดและความกังวล

เมื่อมีเกิดภาวะความเครียดทางจิตใจหรือเกิดความวิตกกังวลใจมากสามารถทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตึงเฉียบพลัน ซึ่งอาการนี้ส่งผลทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้

กล้ามเนื้อกระตุกบริเวณใดก็ตามของร่างกายสามารถเกิดจากความเครียดได้

การใช้ยาบางประเภท

การใช้ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อกระตุกเองได้ ซึ่งอาจเป็นปฏิกริยาตอบสนองหรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ผู้ป่วยสามารถสอบถามให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับผลข้างเคียงและการตอบสนองของร่างกายการใช้ยาเมื่อต้องเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดใหม่

สาเหตุร้ายแรงที่เป็นไปได้

อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่ไม่สามารถอธิบายตามสาเหตุที่กล่าวมาด้านบน อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้

ปัญหาสุขภาพที่สามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้แก่

เส้นประสาทถูกกดทับ

อาการบาดเจ็บจากโรคหมอนรองกระดูกสามารถทำให้เกิดอาการเส้นประสาทกดทับได้ เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดความเสียหายและเกิดแรงบีบคั้นที่รากประสาท

โรคกล้ามเนื้ออ่อนเเรง 

เซลล์ประสาททำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ทำให้เราสามารถเคลื่อนที่ได้ เมื่อเซลล์ประสาทหยุดทำงานจึงทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้จามปกติเป็นสาเหตุทำงให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้ออ่อนล้า
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • สูญเสียกล้ามเนื้อ

โรครอยต่อประสาทกล้ามเนื้อ (Isaacs’ syndrome)

โรครอยต่อประสาทกล้ามเนื้อเป็นโรคกล้ามเนื้อร่วมประสาทที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดกล้ามเนื้อกระตุก

ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อร่วมประสาทเกิดจากปลายเส้นประสาททำงานมากเกินไปหมายความว่าเส้นประสาทกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการหดเกร็งแม้แต่ในขณะที่หยุดเคลื่อนไหวร่างกาย

อาการของโรคกล้ามเนื้อร่วมประสาทอื่นๆได้แก่ 

  • กล้ามเนื้อแข็งตัว
  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
  • มีเหงื่อออก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

โรคแพ้ภูมิตัวเองลูปัส

อาการกล้ามเนื้อกระตุกอาจเป็นสาเหตุของการเกิดจากโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือลูปัสซึ่งเป็นอาการที่ผิดปกติ

โรคผื่นภูมิแพ้ลูปัสเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันระยะยาวที่ร่างกายเกิดความเข้าใจผิดและทำให้ระบบภูมิกันโจมตีเนื้อเยื่อสุขภาพดี

โรคภูมิแพ้ตนเองลูปัสอาจทำให้กล้ามเนื้อบางกลุ่มเกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งอาการอักเสบนี้เรียกว่าอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังและมีอาการกล้ามเนื้อชักกระตุกตามเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้น

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ในกรณีที่พบได้น้อยมากที่อาการกล้ามเนื้อกระตุกเกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมสภาพของระบบประสาทส่วนกลาง

อาการปกติของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้แก่ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการหดตัวอย่างไม่ตั้งใจและอาการกล้ามเนื้อกระตุกเป็นสัญญาณของอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง

การรักษาและการดูแลตอนเองที่บ้าน

สาเหตุทั่วไปของอาการกล้ามเนื้อกระตุกสามารถรักษาเองได้ด้วยวิธีง่ายๆทั่วไปที่บ้านด้วยการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเพื่อรักษาการทำงานของกล้ามเนื้อประสาทและกล้ามเนื้อให้ทำงานตามปกติ ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้แก่

  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีสารอาหารที่สมดุล
  • ทานอาหารเสริมเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการขาดเเคลนสารอาหาร
  • ออกกำลังกายด้วยวิธีที่ถูกต้องที่เริ่มต้นด้วยการอบอุ่นร่างกายและจบด้วยการคลายกล้ามเนื้อ
  • ลดการดื่มคาเฟอีน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงหรือจัดการกับความเครียดด้วยการทำโยคะ ทำจิตใจให้สงบหรือนั่งสมาธิ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ถ้าหากมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก แพทย์จะทำการวาวแผนรักษาผู้ป่วยเป็นรายบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *