เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

20.05
8968
0

เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic syndrome) เป็นกลุ่มอาการซึ่งบ่งชี้ว่าไตทำงานไม่เป็นไปตามปกติ เนโฟรติก ซินโดรม อาจเป็นผลจากโรคที่มีผลต่อไต หรือร่างกายทั้งหมด สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

จากข้อมูลของสถาบันโรคเบาหวานและทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติ (National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases :NIDDK) ระบุว่าโรคเบาหวานเป็นโรคเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของเนโฟรติก ซินโดรม ขณะที่โรค Focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่มีพยาธิสภาพคือ มีพังผืดเกิดขึ้นบางส่วนของโกลเมอลูลัส เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับไต ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดเนโฟรติก ซินโดรม

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่ากลุ่มอาการของโรคไต มีอะไรเป็นสาเหตุของโรค, วิธีการจัดการและการรักษา

เนโฟรติก ซินโดรม คืออะไร 

สถาบันโรคเบาหวานและทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติ(NIDDK) ระบุว่า เนโฟรติก ซินโดรม เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดเล็กๆในไต ที่เรียกว่า โกลเมอรูไล (Glomeruli) ทำงานผิดปกติ

โดยปกติโกลเมอรูไลจะทำหน้าที่กรองโมเลกุลของน้ำและของเสียออกจากเลือดและส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะในรูปของปัสสาวะ หลอดเลือดเหล่านี้ยังช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดและโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน ให้ยังอยู่ในเลือด

เมื่อโกลเมอรูไลถูกทำลายลง โปรตีนก็จะสามารถเล็ดลอดออกมาจากระบบการกรองออกมาอยู่ในปัสสาวะได้

เนโฟรติก ซินโดรม เกี่ยวข้องกับสัญญาณต่อไปนี้:

  • มีอาการไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ (Albuminuria): ภาวะที่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
  • อัลบูมินในเลือดต่ำ (Hypoalbumenia): มีระดับของโปรตีนหรือเรียกว่าอัลบูมินในเลือดต่ำ
  • มีไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia): ภาวะที่ไขมันและคอลเลสเตอรอลในเลือดพุ่งสูง

ความเสียหายที่เกิดกับโกลเมอรูไลอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ไตอักเสบ (Nephritic syndrome)  เช่นเดียวกับดนโฟนติก ซินโดรม อาการของไตอักเสบ ได้แก่การมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

อย่างไรก็ตาม ระดับโปรตีนมักจะไม่สูงเท่ากับในกลุ่มเนโฟรติก ซินโดรม ผู้ที่มีไตอักเสบอาจสังเกตเห็นเลือดในปัสสาวะ ซึ่งไม่ใช่อาการของเนโฟรติก ซินโดรม

อาการเนโฟรติก ซินโดรม

อาการของเนโฟรติก ซินโดรม ได้แก่:

การเกิดฟองในปัสสาวะเกิดจากการที่มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ มีลักษณะแตกต่างกับฟองอากาศที่อาจสังเกตเห็นได้ในปัสสาวะปกติ 

ผู้ป่วยที่เป็นเนโฟรติก ซินโดรม อาจสังเกตเห็นอาการบวมน้ำที่ขาภายหลังการยืนนานๆ หรืออาการบวมรอบดวงตาภายหลังจากตื่นนอน

ระหว่างที่อาการดำเนินไป บุคคลอาจพบว่าขาของพวกเขาบวมอยู่เสมอ หรือสังเกตเห็นอาการบวมที่ส่วนอื่นๆของร่างกาย

สาเหตุของโรคเนโฟรติก ซินโดรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้จำแนกสาเหตุของเนโฟรติก ซินโดรม ออกเป็นสาเหตุแบบปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ

สถาบันโรคเบาหวานและทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติ(NIDDK)ได้กำหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้:

ปฐมภูมิ

สาเหตุแบบปฐมภูมิของเนโฟรติก ซินโดรมคือภาวะที่ส่งผลต่อไตอย่างเดียว

ตัวอย่างของสาเหตุแบบปฐมภูมิ ได้แก่:

  • (FSGS): มีแผลเป็นเกิดขึ้นในบางส่วนของโกรเมอรูไล โดย FSGS มักพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมีความชุกสูงในกลุ่มคนแอฟริกัน อเมริกัน
  • การมีพังผืดที่ไต: ภูมิคุ้มกันได้สร้างโครงสร้างบางอย่างภายในโกลเมอรูไล สาเหตุจากการถูกทำลาย
  • Minimal change disease (MCD): ความเสียหายที่เกิดกับโกลเมอรูไลที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เพียงอย่างเดียว (MCD) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของเนโฟรติก ซินโดรมในเด็ก ส่วนในผู้ใหญ่ การแพ้, การติดเชื้อ หรือยาบางอย่างอาจทำให้เกิด (MCD)
  • Membranoproliferative glomerulonephritis (MPGN): ระบบภูมิคุ้มกันจู่โจมเซลล์ในไต, ทำลายโกลเมอรูไล จนบางครั้ง โรคอื่นๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบซีก็ทำให้เกิด (MPGN)

Nephrotic Syndrome

ทุติยภูมิ

สาเหตุแบบทุติยภูมิคือภาวะที่ส่งผลต่อภายในร่างกาย ซึ่งผลที่ตามมาคือ เนโฟรติก ซินโดรม

ตัวอย่างที่เป็นสาเหตุแบบทุติยภูมิ ได้แก่:

  • โรคเบาหวาน
  • โรคภูมิแพ้ตัวเอง (Systemic lupus erythematosus : SLE)
  • การติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี, โรคไวรัสตับอักเสบซี หรือ เอชไอวี
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง(Hodgkin disease)

เนโฟรติก ซินโดรม รักษาได้หรือไม่ 

เนโฟรติก ซินโดรม อาจรักษาได้ หากบุคคลได้รับการรักษาที่สาเหตุอย่างแท้จริง

ยกตัวอย่าง (MCD) มักไม่ค่อยก่อให้เกิดไตวาย และคนส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวและหลีกเลี่ยงการกำเริบได้

อย่างไรก็ตาม บางภาวะที่เป็นสาเหตุให้เกิดเนโฟรติก ซินโดรม อาจเป็นโรคเรื้อรังและอาจเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เช่น โรคเบาหวาน

ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำแผนการรักษา

การรักษาเนโฟรติก ซินโดรม

การรักษาเนโฟรติก ซินโดรมมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุการเกิดโรค อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มักรักษาด้วยยา รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนโภชนาการ

ยาที่ใช้ในการรักษา ได้แก่:

  • สเตียรอย (Steroids): แพทย์อาจสั่งสเตียรอยในการรักษา (MCD) ในเด็ก หรือผู้ใหญ่
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics): ยาขับปัสสาวะอาจช่วยให้ร่างกายขับน้ำส่วนเกินและลดอาการบวมลงได้
  • สารยับยั้ง Angiotensin converting enzyme (ACE) หรือ ตัวที่ไปขัดขวาง angiotensin receptor: สิ่งเหล่านี้ช่วยควบคุมความดันโลหิตและอาจลดโปรตีนในปัสสาวะ
  • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive drugs): ตัวยาจะช่วยในภาวะเช่น (FSGS) ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของบุคคลกำลังโจมตีโกลเมอรูไล
  • Statins: สามารถลดคอเลสเตอรอลได้

บุคคลควรได้รับวัคซีนป้องกันปอดบวม

การปรับเปลี่ยนโภชนาการก็มีส่วนช่วยในการรักษาเนโฟรติก ซินโดรม ได้แก่:

  • การจำกัดโซเดียม
  • รับประทานโปรตีนให้น้อยลง
  • ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของเนโฟรติก ซินโดรมมักเกิดจากการสูญเสียโปรตีนบางชนิดในปัสสาวะ

ร่างกายอาจต้องการโปรตีนเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือ ควบคุมการแข็งตัวของเลือด ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆของเนโฟรติก ซินโดรม ได้แก่:

  • โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary artery disease)
  • ความดันโลหิตสูง
  • โลหิตจาง (Anemia) ซึ่งเมื่อบุคคลไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงคุณภาพดีเพียงพอ
  • ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)เกิดเมื่อต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอ
  • การสูญเสียการทำงานของไตชั่วคราว

การวินิจฉัย

นอกเหนือจากการตรวจร่างกาย และซักประวัติทางการแพทย์แล้ว แพทย์จะวินิจฉัยเนโฟรติก ซินโดรมโดยใช้การทดสอบต่อไปนี้:

  • การตรวจปัสสาวะ: การทดสอบนี้จะช่วยค้นหาระดับโปรตีนในปัสสาวะที่สูงขึ้น
  • การตรวจเลือด: เป็นการตรวจหาระดับอัลบูมิน, คอเลสเตอรอล และส่วนประกอบของเลือดอื่นๆ
  • การเจาะชิ้นเนื้อไต: แพทย์อาจขอตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงของไตด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์
  • อัลตราซาวน์: บางครั้งแพทย์อาจใช้การถ่ายภาพประเภทนี้เพื่อดูว่าไตปกติหรือไม่

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่

ผู้ที่มีอาการเนโฟรติก ซินโดรม เช่น ปัสสาวะมีฟอง, ไม่ยากอาหาร และเกิดการบวม ควรไปพบแพทย์

ควรไปพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการใหม่เกิดขึ้น

สรุป

เนโฟรติก ซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่บ่งบอกถึงความเสียหายขอไต อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปได้แก่ อาการบวม, อ่อนเพลีย, ปัสสาวะมีฟอง, มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะปริมาณมาก และระดับอัลบูมินต่ำและคอเลสเตอรอสสูงในเลือด

การระบุสาเหตุของอาการจะช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *