ภาวะตาสู้แสงไม่ได้ หรือ “ตาแพ้แสง” (Photophobia) คือการที่ดวงตาของคุณมีความอ่อนไหวต่อแสง ทั้งจากแสงแดด และแสงสว่างภายในที่อยู่อาศัยก็สามารถทำให้เกิดความไม่สบายตา และอาจมีอาการเจ็บปวดตามมา
ภาวะตาแพ้แสงไม่ใช่โรค อาจมีอาการร่วมกับปัญหาอื่นๆ เช่น ปวดหัวไมเกรน ตาแห้ง(Dry eyes) หรือด้านในดวงตามีอาการบวม ซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะตาแพ้แสงได้ทั้งสิ้น
ภาวะดังกล่าวที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดจะเกิดขึ้น เมื่อเจอแสงจ้าจากแสงอาทิตย์หรือแสงในที่พักอาศัย ผู้ป่วยอาจอยากกระพริบตาหรือหลับตา ในบางรายอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
การวินิจฉัยตาแพ้แสง
ภาวะตาแพ้แสงควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะสอบถามอาการ และโรคประจำตัวของคุณ จากนั้นแพทย์จะตรวจตาของคุณ และอาจดูเรื่องของสมองร่วมด้วย
การตรวจสอบของแพทย์จะใช้วิธีการต่อไปนี้
-
การตรวจตาด้วยเครื่อง Slit-lamp คือ เครื่องมือที่ใช้ไมโครสโคปชนิดพิเศษที่มีลำแสงในการตรวจดวงตาของคุณ
-
การตรวจด้วยเครื่อง MRI คือ การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงและคลื่นความถี่วิทยุในการสร้างภาพเหมือนจริงที่ดวงตาของคุณ
-
การตรวจด้วยฟิล์มน้ำตา คือ การตรวจเช็คจำนวนน้ำตาที่ทำให้คุณมองเห็นหากคุณมีภาวะตาแห้ง
สาเหตุและอาการตาแพ้แสง
ภาวะตาแพ้แสงเกิดจากผลกระทบของเซลล์ที่เชื่อมต่อกับดวงตาที่รับแสง และเส้นประสาทก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองเมื่อตาได้รับแสงจ้า
อาการปวดไมเกรนส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการไม่สามารถสู้แสงได้ มากกว่า 80 % ของผู้ที่มีภาวะตาแพ้แสงมักมีอาการปวดหัวร่วมด้วยเสมอ แต่ในบางรายอาจมีภาวะตาแพ้แสงโดยไม่มีอาการปวดหัวก็ได้
อาจมีรูปแบบอื่นๆของอาการปวดศีรษะที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะตาไม่สู้แสงได้ เช่น เมื่อคนรู้สึกเครียด และเกิดอาการปวดศีรษะแบบครัสเตอร์ จะยิ่งทำให้รู้สึกอาการแย่ลงหากต้องเจอกับแสงจ้า
โรคทางสมองบางอย่างที่สามารถเป็นสาเหตุของการแพ้แสงได้
-
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เกิดขึ้นเมื่อบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังอักเสบบวม)
-
การได้รับบาดเจ็บที่สมองขั้นรุนแรง
-
โรคก้านสมองเสื่อม (โรคทางสมองที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาด้านการทรงตัว การเดินและการกลอกตา)
-
เป็นเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
ปัญหาทางตาบางโรคก็อาจเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว เช่น
-
ตาแห้ง
-
ภาวะม่านตาอักเสบ (เกิดอาการบวมของเนื้อเยื่อกลางภายในลูกตา)
-
ภาวะกระจกตาอักเสบ (เกิดอาการบวมที่แก้วตา เนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่คลุมม่านตา และรูม่านตา)
-
โรคต้อกระจก (ภาวะเลนส์ตาขุ่นมากขึ้น)
-
กระจกตาถลอก (เกิดรอยขีดข่วนในกระจกตา)
-
โรคตาแดง (เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา ที่เป็นเนื้อเยื่อบางใสที่คลุมอยู่ด้านในเปลือกตาและบนตาขาว)
-
เกิดความเสียหายที่จอประสาทตา (เป็นอวัยวะที่เป็นแผ่นบางๆอยู่ด้านในสุดและหลังสุดของดวงตา)
-
ตากระพริบค้าง (เป็นโรคที่ไม่สามารถควบคุมการปิดลงของเปลือกตาได้)
ภาวะตาไม่แพ้แสงอาจส่งผลต่อคนที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น
-
โรคกลัวที่ชุมชน Agoraphobia (คือ อาการกลัวเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางที่สาธารณะ)
-
โรคอารมณ์สองขั้ว
นอกจากนี้เราอาจมีอาการแพ้แสงได้ภายหลังการทำเลสิค หรือหลังการผ่าตัดแก้ไขปัญหาด้านการมองเห็น จะทำให้ตาไม่สู้แสงชั่วระยะหนึ่ง
ความยาวคลื่น เช่น การปล่อยแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์และหน้าจอโทรศัพท์มือถือก็สามารถเป็นสาเหตุของอาการตาแพ้แสงได้
การรับประทานยาบางชนิดก็เป็นสาเหตุของภาวะตาแพ้แสงได้เช่นกัน เช่น
-
ยาปฏิชีวนะ เช่น ด็อกซิไซคลีนและเตตร้าซัยคลิน
-
ยาฟูโรซีไมด์ (ลาซิกซ์) เป็นยาขับปัสสาวะชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการรักษาโรคภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตับ โรคไต และโรคอื่นๆ
-
ยาควินิน:เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย
การรักษาภาวะตาแพ้แสง
การรักษาที่ดีที่สุดในการบรรเทาภาวะตาแพ้แสง คือ การรักษาดูแลโรคที่เป็นอยู่ หรือหยุดรับประทานยาที่เป็นสาเหตุของภาวะดังกล่าว
หากคุณยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะตาแพ้แสงอยู่ การสวมแว่นสีชาอาจช่วยได้ แต่การใช้เลนส์ย้อมสีอาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน บางคนอาจทำให้เกิดการไวต่อแสงมากขึ้นกว่าเดิมได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ดีที่สุด
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก