ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าปอดรั่วนับเป็นอาการที่สร้างความเจ็บปวด และน่าเป็นห่วง
ในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปอดจะขยายจนสัมผัสกับผนังของหน้าอก แต่ในผู้ที่เกิดภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด จะมีอากาศเข้าไปสร้างช่องว่างระหว่างผนังหน้าอกและปอดเรียกส่วนที่เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด
ความดันของอากาศบริเวณนี้จะทำให้ปอดยุบตัวลง ปอดอาจยุบลงเต็มที่ แต่ส่วนมากมักยุบลงเพียงบางส่วน การยุบตัวนี้ยังสามารถกดดันหัวใจทำให้เกิดอาการได้ด้วย
ด้วยปัจจัยด้านสุขภาพทำให้ผู้ป่วยภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดมีอาการที่แตกต่างกัน แพทย์จึงต้องวินิจฉัยและรักษาภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดตามอาการผู้ป่วยแต่ละคน
สาเหตุของภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
สาเหตุของปอดรั่วทั้งแบบเกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิ เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิ และเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ
กรณีเกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิ
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิ (PSP) เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติโรคปอดมาก่อนเลย แต่เกิดอาการโดยไม่ทราบสาเหตุโดยตรง
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสำหรับภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิ ได้แก่ :
- ผู้สูบบุหรี่ หรือกัญชา
- ผู้ชายตัวสูง
- คนอายุ 15-34 ปี
- ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคปอดบวม
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิคือการสูบบุหรี่ จากผลการทบทวนในวารสารทางการแพทย์ BMJ ระบุว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิมากกว่าผู้ชายที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 22 เท่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิมากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 9 เท่า
หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต
กรณีเกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิ
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิ (SSP) คือภาวะของโรคที่เกิดจากโรคปอด และความผิดปกติของร่างกายต่าง ๆ
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิมีอาการร้ายแรงกว่าภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับปฐมภูมิ และมีแนวโน้มที่จะทำให้เสียชีวิตได้
โรคปอดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด ได้แก่ :
- โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- โรคปอดเรื้อรัง
- โรคหอบหืดรุนแรง
- การติดเชื้อที่ปอด เช่น วัณโรค และโรคปอดบวมบางประเภท
- โรคซาร์คอยด์
- ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดในขณะที่มีประจำเดือน
- พังผืดที่ปอด
- มะเร็งปอด และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับปอด
ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางอย่างอาจทำให้เกิด ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิ ได้แก่ :
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และ โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ
- โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด
- ภาวะเส้นเลือดตีบ
- โรคหนังยืดผิดปกติ
- กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan syndrom)
ปัจจัยบางประการในเด็ก ยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิ ได้แก่ :
- ความผิดปกติ แต่กำเนิด
- การสูดดมสิ่งแปลกปลอม
- โรคหัด
- โรคพยาธิตัวตืด
ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นหากมีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นภาวะเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิมาก่อน
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากการบาดเจ็บ
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากการบาดเจ็บเป็นผลมาจากร่างกายได้รับการกระแทก หรือบาดเจ็บ แต่จะส่งผลให้เกิดโรคได้เมื่อเป็นการบาดเจ็บจากของไม่มีคม หรืออาการบาดเจ็บที่ทำลายผนังหน้าอก และช่องเยื่อหุ้มปอด
วิธีหนึ่งที่พบได้บ่อยคือเมื่อได้รับบาดเจ็บจนกระดูกซี่โครงหัก ส่วนที่แหลมคมของกระดูกหักอาจทิ่มแทงผนังหน้าอก และทำลายเนื้อเยื่อปอดได้ สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุทางรถยนต์ และบาดแผลจากการเจาะหรือแทง
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากบาดแผลสามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่ปรากฎบาดแผลให้เห็นที่หน้าอกเลยก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องปกติในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิด
นักดำน้ำต้องใช้ความระมัดระวังเมื่ออยู่ใต้น้ำเพื่อป้องกันโรคปอดบวม เมื่อนักดำน้ำหายใจจากถังอัดอากาศ พวกเขาจะสัมผัสกับระดับความดันที่แตกต่างระหว่างแรงดันของน้ำ และอากาศ แรงดันที่แตกต่างกันนี้สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อปอด หรือเกิดภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดได้
ขั้นตอนทางการแพทย์บางอย่างก็สามารถทำให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณทรวงอกจนเกิดภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดได้ การใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดดำที่หน้าอก หรือการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อปอดอาจทำให้เกิด ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดได้ แพทย์สามารถตรวจติดตามผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุเริ่มต้นที่แท้จริงเพื่อทำการรักษา
แรงดันจากภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดทุกประเภท สามารถทำให้เกิดแรงดันได้ สาเหตุนี้เกิดจากการรั่วไหลในช่องเยื่อหุ้มปอดที่มีลักษณะคล้ายวาล์วทางเดียว
เมื่อผู้ป่วยหายใจเข้าไปอากาศจะรั่วเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดและติดค้างอยู่ ร่างกายไม่สามารถปล่อยออกมาได้ในขณะที่หายใจออก ลักษณะการเคลื่อนไหวของอากาศนี้นำไปสู่การเพิ่มความดันอากาศในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต และต้องรีบทำการรักษาทันที
อาการของภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
อาการของภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดเกือบจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงแรก และอาจแยกกับอาการผิดปกติอื่น ๆ ไม่ออก
อาการของภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดในแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป เริ่มจากอาการเพียงเล็กน้อยไปจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งอาจรวมถึง:
- หายใจถี่
- เจ็บหน้าอก ความเจ็บอาจรุนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของหน้าอก
- ปวดเมื่อหายใจเข้า
- ความดันในหน้าอกจะแย่ลงห่างปล่อยไว้นาน
- สีผิวหรือสีบริเวณริมฝีปากคล้ำขึ้น
- อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
- หายใจถี่
- สับสน หรือวิงเวียนศีรษะ
- หมดสติ หรืออาการวิกฤต
ภาวะปอดรั่วบางกรณีเกือบไม่มีอาการให้สังเกตเลย แพทย์จึงต้องวินิจฉัยด้วยการ X-ray หรือการสแกนประเภทอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีอาการตามที่กล่าวมาแล้วควรติดต่อแพทย์ทันที
การรักษาภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดส่วนมากควรรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ รูปแบบการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามอาการที่ผิดปกติ
การรักษาทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานคือการสอดท่อขนาดเล็ก เข้าไประหว่างกระดูกซี่โครง หรือใต้กระดูกไหปลาร้าเพื่อปลดปล่อยก๊าซที่ค้างเอาไว้ออกมาก วิธีนี้จะทำให้ปอดบีบตัวได้อย่างช้า ๆ
แพทย์อาจให้ยาแก้ปวด ชา ขจัดสารพิษ หรือป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย บางคนอาจต้องให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มความจุในปอดให้มากขึ้น
การรักษาโดยการผ่าตัดอาจนำมาใช้ในบางกรณี โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดแบบซ้ำ ๆ
ผู้ที่เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิมีแนวโน้มที่จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการที่ร้ายแรงของโรคปอดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ผู้ที่มี ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองระดับทุติยภูมิที่มีอาการรุนแรง มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย และเสียชีวิตได้
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ขนาดเล็กมาก อาจสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แพทย์อาจให้แนะนำแนงทางการรักษาแก่ผู้ป่วย เพื่อรักษาภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยตนเอง
ผู้ที่มีอาการภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดควรรายงานให้แพทย์ทราบ แพทย์จะพิจารณาความจำเป็นในการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงของอาการที่ลุกลามด้วย
สรุปภาพรวมภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดสามารถวินิจฉัยและรักษาได้ยาก ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างเต็มที่จึงจะมีโอกาสสำเร็จ
การรักษาภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดแต่แรกจะช่วยลดอาการที่รุนแรงที่ตามมาได้ และควรดำเนินการรักษาภายใต้แนวทางที่เหมาะสมด้วย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumothorax/symptoms-causes/syc-20350367#
- https://www.healthline.com/health/collapsed-lung
- https://www.webmd.com/lung/what-is-a-collapsed-lung
- https://medlineplus.gov/ency/article/000087.htm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก