ยาโพรพาโนลอล (Propranolol)

ยาโพรพาโนลอล (Propranolol)

24.09
25951
0

Propranolol คืออะไร

ยาโพรพาโนลอล Propranolol เป็นยาในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ในการปิดกั้นตัวรับเบต้า (Beta Blocker) ใช้ในการรักษาอาการมือสั่นจากอาการกังวล โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ใช้ป้องกันอาการเจ็บหน้าอกหรือปวดเค้นหน้าอก และอาการศีรษะข้างเดียวหรือปวดไมเกรน ใช้บรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไทรอย์เกิน โดยยามีกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายของไขมัน ลดการใช้กลูโคสของเซลล์ ลดความกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ส่งผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

ปริมาณการใช้ยา Propranolol

สำหรับใช้บรรเทาอาการมือสั่น ใจสั่น ควรรับประทานยาวันละ 2-3 ครั้ง ในปริมาณ 10 mg แล้วค่อยๆ ลดขนาดของยาและหยุดยา สำหรับใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยเริ่มต้นให้ใช้ในปริมาณ 40-80 mg และค่อยใช้ในปริมาณ 160-320 mg โดยแบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง ซึ่งใช้ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 640 mg. ใช้สำหรับโรคหัวใจเต้นผิดปกติให้แบ่งรับประทานวันละ 30-160 mg ใช้รักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลัน ควรให้วันละ 4 ครั้ง ปริมาณที่ใช้คือ 20-40 mg และสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอาการแน่นอกเรื้อรังร่วมกับยาอื่นและใช้เพื่อรักษาโรค Hypertrophic Subaortic stenosis จะใช้ยาในปริมาณ 80-160 mg และใช้วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 40 mg เพื่อป้องกันไมเกรนและบรรเทาอาการปวดเค้นอก Angina pectoris และใช้ปริมาณยา 10-40 mg วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อรักษากล้ามเนื้อหัวใจหนา Hypertrophic cardiomyopathy และคอพอกเป็นพิษ และสำหรับบรรเทาอาการวิตกกังวลและอาการมือสั่น Essential tremor ให้ใช้ยาครั้งละ 40 mg วันละ 2-3 ครั้ง และยังสามารถใช้ยาในการรักษาภาวะตับแข็งที่มีน้ำในท้องได้โดยปริมาณการใช้ยาควรได้รับการปรึกษาและแนะนำจากแพทย์

ผลข้างเคียงของยา Propranolol

ผลข้างเคียงทั่วไป

  • อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ วิงเวียน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ง่วงนอน ฝันร้าย นอนไม่หลับ สับสน
  • อ่อนล้า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เป็นตะคริว มือเท้าเย็น
  • เห็นภาพผิดปกติ
  • รู้สึกหลงๆลืมๆ
  • ท้องเสีย ท้องผูก

Propranolol

ผลข้างเคียงที่รุนแรง

  • หัวใจวาย หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก หายใจขัด 
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หลอดเลือดแขนขาตีบเพิ่มขึ้น
  • คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วงหรือท้องผูกรุนแรง
  • ลำไส้ขาดเลือด
  • มีอาการแพ้ยาแบบรุนแรง
  • หลอดลมเกร็งตัวทำให้หอบหืดกำเริบ เหนื่อยง่าย หายใจหอบ
  • เป็นผื่นลมพิษ
  • ข้อเท้าข้อมือมีอาการบวม
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม มีภาวะดีซ่าน

ข้อควรระวัง  

  • ควรแจ้งแพทย์หากมีประวัติเป็นโรคหืด หลอดลมอักเสบ โรคเบาหวาน โรคไตหรือต่อมไทรอยด์ โรคปอด โรคหัวใจ
  • ควรแจ้งแพทย์ถ้ากำลังใช้ยาอื่นอยู่ ทั้งยาที่แพทย์สั่งและยาที่ซื้อรับประทานเอง รวมทั้งวิตามินหรือสมุนไพรต่างๆ
  • ควรแจ้งแพทย์ถ้ากำลังใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และยารักษาโรคหัวใจอื่น ๆ
  • ควรแจ้งแพทย์หากกำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ช่วงให้นมบุตร เนื่องจากไม่ควรใช้ยาในผู้ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาส 2
  • ไม่ควรหยุดยากะทันหัน ควรใช้เวลาในการหยุดยา 2 สัปดาห์ เพราะอาจจะทำให้อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบกำเริบ หรืออาจเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการหยุดยา
  • ไม่ควรรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • หากมีอาการเจ็บหน้าอกไม่ควรหยุดยา
  • ไม่ควรใช้ยา Propranolol ในผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นช้า โรคหลอดเลือดตีบ โรคถุงลมโป่งพอง มีภาวะช็อกจากโรคหัวใจ น้ำท่วมปอด เป็นโรคหอบหืด  
  • ไม่ควรใช้ยา Propranolol ในผู้ที่น้ำตาลในเลือดต่ำ
Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *