

Radish คืออะไร
หัวไชเท้า Radish (หัวไชเท้า) เป็นที่รู้จักในชื่อหัวผักกาดแดงหรือหัวผักกาดฝรั่ง เป็นพืชเมืองหนาวอีกชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Raphanus raphanistrum subsp sativus เป็นจัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae หรือจัดอยู่ในตละกูลกะหล่ำ หัวไชเท้าเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก อายุสั้น มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอียิปต์ และได้แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศจีน และญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยได้นิยมนำมาปลูกมากขึ้นในภาคเหนือของไทยเพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสม เนื่องจากหัวไชเท้าเป็นพืชสองฤดู แต่มักนิยมปลูกในฤดูหนาว ในปัจจุบันการปลูกหัวไชเท้าของไทยยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากสภาพพื้นที่และสภาพอากาศในการปลูกไม่เอื้ออำนวยในการเจริญเติบโตของหัวไชเท้ามากเท่าที่ควร
ลักษณะของหัวไชเท้า
หัวไชเท้าเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะเป็นทรงพุ่มใบเล็ก ลำตันเป็นลำต้นเดี่ยวลักษณะกลมเป็นข้อสั้นๆ มีก้านใบเลี้ยงเดี่ยวยาวสีเขียวอ่อนแทงออกจากโคนของลำต้น ใบเป็นทรงรีมีปลายใบมนใหญ่ ขอบใบมีรอยหยัก ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาดเล็กสีชมพูหรือขาวมีลักษณะสี่แฉก มีก้านช่อยาว ผลจะเป็นฝักทรงรี โคนจะอวบปลายจะรีแหลม และมีเมล็ดแข็งสีน้ำตาลเล็กๆ เรียงกันอยู่ในฝักสีเขียวหรือสีน้ำตาล รากเป็นรากแก้วที่พองโตสามารถเก็บสะสมอาหารได้ มีลักษณะทรงกลมใหญ่รูปไข่ ผิวบางและเรียบ แบ่งเป็นสายพันธุ์สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีม่วง สีขาว และสีดำ เนื้อมีสีขาวหรือชมพู มีปลายรากแก้วเล็กจะแทงลงดิน
จุดเด่นของหัวไชเท้า
- หัวไชเท้ามีรสสัมผัสที่กรอบและฉ่ำน้ำ
- มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
- มีรสชาติเผ็ดนิดๆ
สารอาหารในหัวไชเท้า
- คาร์โบไฮเดรต
- โปรตีน
- ไขมัน
- น้ำตาล
- โซเดียม
- ไฟเบอร์
- วิตามินเอ
- วิตามินบี 1
- วิตามินบี 2
- วิตามินบี 3
- วิตามินอี
- วิตามินเค
- แคลเซียม
- แมกนีเซียม
- โพแทสเซียม
- แคโรทีน
- ฟอสฟอรัส
- แมงกานีส
- สังกะสี
- เหล็ก
สรรพคุณหัวไชเท้า
ในหัวไชเท้ามีคาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโน อุดมด้วยวิตามินซีทำให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนและสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเกิดริ้วรอยและทำให้บาดแผลสมานตัวและหายได้เร็วขึ้น และช่วยป้องกันหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟัน ในหัวไชเท้ามีกลูโคซิโนแลต ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง มีแคลเซียม ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรง ช่วยทำให้นอนหลับได้สนิท มีฟอสฟอรัสซึ่งทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดีและช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยรักษาความสมดุลของวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญแป้งและไขมันได้ดี และหัวไชเท้ามีเส้นใยอาหาร ช่วยดักจับไขมันส่วนเกิน ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยให้ระบบการขับถ่ายทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของหัวไชเท้า
- มีวิตามินซีสามารถช่วยป้องกันหวัด
- ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากในหัวไชเท้ามีวิตามินซีสูง
- รักษาอาการเจ็บคอและอาการคออักเสบ ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
- มีสารอนุมูลอิสระ ช่วยในการลดริ้วรอย ทำให้ดูอ่อนเยาว์ ช่วยบำรุงผิวพรรณ
- ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
- ช่วยลดไขมันในเลือด
- ช่วยต้านมะเร็ง เนื่องจากในหัวไชเท้ามีสารไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) ช่วยกำจัดสารในร่างกายที่เป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็ง ซึ่งสารไอโซไทโอไซยาเนตเป็นสารที่ได้จากสารประกอบบางชนิดในหัวไชเท้าที่ผสมกับน้ำแล้วเกิดการแตกตัว
- สารไอโซไทโอไซยาเนตในหัวไชเท้าช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเนื้องอก
- ช่วยลดความดันโลหิต เนื่องจากมีการอ้างอิงว่าหัวไชเท้ามีสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง ฟลาโวนอยด์ แทนนิน ซาโปนิน ฟีนอล และอัลคาลอยด์ที่อาจช่วยในการรักษาความดันโลหิตสูง
- ช่วยต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ช่วยรักษาโรคดีซ่าน
- ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ
- ช่วยกระตุ้นปัสสาวะให้ขับออกมา
- มีฤทธิ์เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การปลูกหัวไชเท้า
ในการปลูกหัวไชเท้าควรปลูกในดินร่วนซุยปนทราย เนื่องจากมีอินทรีย์วัตถุสูง จะได้ประสิทธิภาพที่ดี หน้าดินควรลึก ระบายน้ำและอากาศได้ดี ดินที่ใช้ปลูกควรมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 ในการปลูกหัวไชเท้าควรเพาะต้นกล้าให้มีอายุประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อต้นกล้างอกแล้วจึงถอนต้นกล้าออกเหลือเพียง 1 ต้นระยะห่างประมาณ 15 cm แล้วย้ายต้นกล้าไปปลูกในดินที่ย่อยละเอียดแล้ว ไม่มีเศษหิน หรือดินที่เป็นก้อนแข็งก้อนใหญ่ หรือมีปุ๋ยคอกที่เป็นก้อนควรทำให้ปุ๋ยคอกสลายตัวก่อน เพราะจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพต่ำ หรือจะใช้วิธีหยอดเมล็ดพันธุ์ลงในหลุม หัวไชเท้าเป็นพืชที่ชอบแสงแดด ควรปลูกให้แสงแดดส่องถึง และหมั่นรดน้ำในเวลาเช้าและเย็นทุกวัน โดยใช้อุณหภูมิในการปลูกอยู่ระหว่าง 15-21’C เพื่อการเจริญเติบโตได้ดีและมีการลงหัว หากใช้อุณหภูมิสูงเกินไป การเจริญเติบโตของหัวไชเท้าจะเน้นออกทางใบมากกว่า และการลงหัวจะมีขนาดเล็ก ทำให้หัวไชเท้ามีเนื้อฟ่ามและแข็ง มีกลิ่นฉุน หากใช้อุณหภูมิประมาณ 2-7’C เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 4 วัน จะทำให้หัวไชเท้าออกดอกโดยไม่มีการลงหัว เนื่องจากหัวไชเท้ามีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพราะมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เมื่อหัวไชเท้ามีอายุประมาณ 30 ถึง 35 วันหลังปลูกลงแปลง ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยให้สังเกตที่ต้นที่โตเต็มที่หัวไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ให้ถอนออกมาทั้งต้น แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด ล้างดินออกอย่างระมัดระวัง และตัดใบออก เมื่อถอนหัวไชเท้าแล้วไม่ควรให้หัวไชเท้าโดนความร้อนหรือแสงแดดเพราะจะทำให้เหี่ยวได้ โดยให้เก็บไว้ในกล่องและแช่ตุ้เย็นไว้จะสามารถเก็บหัวไชเท้าไว้ได้นาน
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก