นอนกรน (Snoring) อาการ สาเหตุ การรักษา

นอนกรน (Snoring) อาการ สาเหตุ การรักษา

02.11
1202
0

การนอนกรน (Snoring) คือการหายใจที่มีเสียงดังระหว่างการนอนหลับเพราะเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนมีการสั่น เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปซึ่งส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในบางช่วงชีวิต

การนอนกรนมักไม่เป็นอันตรายและสามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่หากแาการไม่ดีขึ้นอาจจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ บางครั้งการนอนกรนอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพอื่นๆที่ร้ายแรง หากอาการกรนส่งผลกระทบอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์

Snoring

สาเหตุนอนกรน

ในช่วงเช้า เนื้อเยื่อในคอและทางเดินอาหารส่วนบน จะเปิดออกเพื่อให้อากาศสามารถเข้าสู่ปอดได้ง่าย

ระหว่างการนอนหลับ เนื้อเยื่ออ่อนนและลิ้นจะคลายตัว ทำให้อาจปิดกั้นทางเดินหายใจได้

ถ้าอากาศที่เข้าและออกจากทางเดินหายใจทำให้เกิดการสั่น ก็อาจทำให้กรนได้

ความอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีอาการคัดจมูกบ่อยๆ จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกรน จนกลายเป็นนิสัย การกรนสามารถพบได้ในผู้ชาย 44% และ 28% ในผู้หญิง ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี

อาการกรนสามารถบอกถึงอาการอื่นๆได้ เช่น :

  • การหยุดหายใจขณะที่หลับ
  • โรคเบาหวานประเภทที่2
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคอ้วน
  • โรคไซนัสหรือปัญหาในโพรงจมูก

การนอนกรนอาจมีผลมาจากการที่ผนังเลือดแดงมีความหนาขึ้น เป็นภาวะเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอง

การหยุดหายใจขณะนอนหลับ

การหยุดหายใจขณะนอนหลับเปนสาเหตุหนึ่งของการกรน ที่ทำให้เหมือนว่ามีการหยุดหายใจระหว่างการกรนเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง และอาจทำให้เกิดอาการสำลักหรือหายใจหอบ

นอกเหนือจากการกรนเสียงดังแล้ว ภาวะการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ :

  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน
  • นอนไม่หลับ
  • มีอาการปวดหัวในตอนเช้า
  • มีปัญหาด้านสมาธิหรือความจำ
  • มีอาการหงุดหงิด
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เนื่องจากการหยุดหายใจขณะหลับอาจจะเป็นสัญญาณของอาการอื่นๆเช่น ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคอะโครเมกาลี

การนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ มักจะทำให้การนอนหลับถูกรบกวนและนำไปสู่ความเหนื่อยล้าและยากลำบากในการมีสมาธิ และยังเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางสุขภาพจิตอีกด้วย

แพทย์หรือทันตแพทย์ อาจสามารถช่วยหาสาเหตุที่แท้จริงและช่วยรักษาอาการนอนกรนได้

วิธีการรักษาด้วยตนเอง

มีหลายวิธีในการรักษาอาการนอนกรน

หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการรับประทานยากล่อมประสาท

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าหรือยากล่อมประสาทส่งผลให้กล้ามเนื้อได้รับการผ่อนคลายและยุบตัวลง ส่วนแอลกอฮอล์ทำหน้าที่คล้ายยารักษาโรคซึมเศร้า ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงของเหล่านี้อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน โดยยาที่ทำหน้าที่ช่วยในการนอนหลับนั้น ควรได้รับการสั่งจากแพทย์และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ลดอาการแน่นจมูก

อาจจะใช้ยาหรือวิธีการอื่นๆในการบรรเทาอาการแน่นจมูก

ตัวอย่างเช่น :

  • แผ่นแปะจมูกท่ช่วยรักาาอาการนอนกรน
  • ยาหรือสเปรย์ที่ใช้พ่นจมูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับโพรงจมูก
  • ยาแก้แพ้
  • เครื่องเพิ่มความชื้นในห้อง

เครื่องเพิ่มความชื้นสามารถหาซื้อได้ทั่วไป

เปลี่ยนท่าทางการนอน

ท่าทางการนอนอาจทำให้เกิดการกรนได้ การนอนหงานอาจทำให้ลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ

ท่านอนที่แนะนำมีดังนี้ :

  • นอนตะแคง
  • นอนหัวสูงขึ้น 2-3 นิ้ว
  • ใช้หมอนสำหรับผู้ที่นอนกรนโดยเฉพาะ

วิธีอื่นในการหลีกเลี่ยงการนอนกรนคือ เย็บลูกเทนนิสหรือวัสดุอื่นๆที่นิ่มไว้ด้านหลังของชุดนอน เพื่อที่จะได้ป้องกันการพลิกนอนหงาย

หมอนป้องกันการกรนหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป

เลิกสูบบุหรี่

ควันบุหรี่จะทำให้เนื้อเยื้ออักเสบ ทางเดินหายใจส่วนบนจะมีลักษณะแคบ เมื่อเกิดการอักเสบเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของอากาศได้

การเลิกบุหรี่ สามารถอาการอักเสบของเนื้อเยื่อ และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่นๆได้

การรักษาด้วยยา

ถ้าการนอนกรนมีภาวะการหยุดหายใจ แพทย์อาจจำเป็นที่จะต้องสั่งจ่ายยาหรือรักษาด้วยวิธีต่างๆ

เครื่องอัดอาการแรงดันบวก (CPAP)

สำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการปิดกั้นในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง แพทย์จะใช้วิธีส่งอากาศที่มีแรงดันผ่านเข้าทางจมูกด้วยการสวมใส่หน้ากากขณะนอนหลับ

การผ่าตัด

การนอนกรนอย่างรุนแรงอาจไม่ได้ผลในการรักษาแบบทั่วไป ดังนั้นแพทย์อาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดในการรักษา

ตัวอย่างเช่น :

การผ่าตัดต่อมทอนซอลและต่อมอะดีนอยด์ : เป็นการกำจัดต่อมที่มีการขยายใหญ่ขึ้นทิ้ง

การผ่าตัดเพื่อใส่เครื่องมือ: แพทย์จะใส่พลาสติกที่มีขนาดเล็กบริเวณโพรงจมูกเพื่อให้เนื้อเยื่อแข็งแรงมากขึ้น

การผ่าตัดผนังกั้นช่องจมูก: เป็นการซ่อมแซมโพรงจมูกที่เบี้ยว

การผ่าตัดลิ้นไก่ (UPPP): เป็นการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกินออกจากเพดานและลิ้นไก่

การใช้คลื่นวิทยุ: เป็นการทำให้เนื้อเยื่อมีความหย่อนมากขึ้น โดยการส่งพลังงานวิทยุเข้าไปบริเวณโคนลิ้น

การผ่าตัดลิ้นไก่ด้วยเลซอร์ (LAUP): เป็นการใช้เลเซอร์ตัดให้ลิ้นไก่มีขนาดสั้นลง เลเซอร์จะทำให้เกิดบาดแผลเล็กๆบริเวณเพดาน เมื่อบาดแผลหายแล้วเนื้อเยื่อรอบๆจะแข็งแรงขึ้นและสามารถรักษาอาการสั่นสะเทือนได้

การผ่าตัดมีอัตราความสำเร็จที่ต่ำและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงเป็นทางเลทอกสุดท้ายในการรักษา

การนอนกรนอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ แต่ก็สามารถรบกวนต่อผู้อื่นและสร้างความอับอายให้กับผู้ที่นอนกรนได้

วารสาร Neurology ได้กว่าวไว้ว่า ปัญหาการหายใจระหว่างการนอนหลับเช่นการกรนอย่างหนัก และการหยุดหายใจขณะหลับอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความจำและคิดช้าลงได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *