ยาทรามาดอล (Tramadol) คือ อะไร
ยาทรามาดอล ชื่อภาษาอังกฤษคือ Tramadol และมีสูตรทางเคมีว่า C16H25NO2 Tramadol เป็นยาแก้ปวดชนิดแรงที่ใช้รักษาอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง เช่น อาการปวดหลังการผ่าตัด หรือการได้รับบาดเจ็บสาหัส
นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษาอาการปวดเป็นเวลานาน เมื่อยาแก้ปวดทั่วไปไม่สามารถบรรเทาได้ ยาทรามาดอลเป็นยาที่ต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์เท่านั้นนั้น ส่วนมากอยู่ในรูปแบบของยาเม็ด หรือแคปซูล
ยาทรามาดอลสามารถทำให้เกิดการเสพติดได้ แต่แพทย์จะแนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงการติดยาให้กับผู้ใช้งาน กรณีที่ต้องใช้ทรามาดอลนานกว่า 2-3 สัปดาห์ แผนการรักษาจะมีรายละเอียดที่เริ่มใช้ยา และหยุดใช้ยาในวันที่เท่าไรอย่างละเอียด
ทางที่ดีไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์กับ Tramadol เนื่องจากคุณมีแนวโน้มที่จะได้รับผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอนมากกว่า
ยาทรามาดอลมีชื่อการค้าจำนวนมาก เช่น Invodol, Larapam, Mabron, Maneo, Marol, Maxitram, Oldaram, Tilodol, Tradorec, Tramquel, Tramulief, Zamadol, Zeridame และ Zydol เป็นต้น
ยาทรามาดอลเป็นยาในกลุ่มโอปิออยด์ สำหรับใช้รักษาอาการปวดรุนแรง หรือปานกลาง โดยเริ่มแรกมีการพัฒนาในประเทศเยอรมัน ในชื่อการค้าแรกว่า Tramol ก่อนที่จะถูกขายสิทธิบัตรไปให้หลายๆ บริษัท ที่เป็นสาเหตุให้ยาทรามาดอลมีชื่อการค้าจำนวนมาก มีทั้งชนิดรับประทาน และฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ยาทรามาดอลในท้องตลาดจะอยู่ในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ ที่เราเรียกว่า “ทรามาดอลไฮโดรคลอไรด์” (Tramadol Hydrochloride)
คุณสมบัติ และสรรพคุณของยาทรามาดอล
ยาทรามาดอลไม่เหมาะกับเด็กที่อายุุต่ำกว่า 12 ปี และคนที่มีปัญหาบางประเภท ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติด้านสุขภาพก่อนเริ่มใช้ยา รวมทั้งประวัติการแพ้ยาทรามาดอล รวมทั้งยาอื่นๆ
ยาทรามาดอลออกฤทธิ์ 2 ประการ
- ออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับมิว µ-Receptor ซึ่งเมื่อกระตุ้นแล้วจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ กดประสาท ทำให้เคลิ้ม และมีความสุข ออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน แต่น้อยกว่าถึง 10 เท่า
- ออฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสารเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ในไขสันหลัง ทำให้บรรเทาอาการปวดได้
หากรับประทานเกินขนาด จนทำให้เซโรโทนินออกมามากเกินไป จะทำให้เป็นเซโรโทนินซินโดรมที่มีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มีไข้ มือสั่น และอาการทางประสาท เช่น ภาพหลอน เป็นต้น
ในขณะเดียวกันการเพิ่มมากเกินไปของนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) นั้นจะปวดศีรษะรุนแรง ใจสั่น และชักได้
ดังนั้นยาทรามาดอลจึงถูกใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นชนิดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง โดยใช้ระงับอาการปวดที่รุนแรงในศีรษะ ไมเกรน ข้อต่อ และข้อเข่า เป็นต้น ยานี้อาจใช้เพื่อรักษาโรค หรืออาการอื่นๆ ได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร
วิธีการใช้ยาทรามาดอล
การใช้ยาทรามาดอลทั่วไป
- ชนิดเม็ด/แคปซูลที่ออกฤทธิ์เร็ว และหยด วันละ 3-4 ครั้ง
- ชนิดเม็ด/แคปซูลที่ออกฤทธิ์ช้า วันละ 1-2 ครั้ง
หากเป็นผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) หรือมีปัญหาตับ และไต แพทย์จะหลีกเลี่ยงการให้ยาทรามาดอล
ยาทรามาดอลสามารถเริ่มรับประทานช่วงใดของวันก็ได้ แต่ครั้งถัดไปในแต่ละครั้ง ควรห่างเป็นระยะเวลาเท่าๆ กัน
ผลข้างเคียงในการใช้ยาทรามาดอล
ยาทรามาดอลก็เหมือนยาทั่วไปที่ปกตินั้นปลอดภัย แต่ก็สามารถสร้างผลข้างเคียงได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่
- รู้สึกไม่สบายตัว หรือป่วย
- วิงเวียนศีรษะ
- ท้องผูก
- ง่วง เพลีย
- มึนศีรษะ
- ปากแห้ง
- เหงื่อออก
- อ่อนแรง
ผลข้างเคียงที่รุนแรงได้แก่
- หายใจลำบาก
- เวียนศีรษะ อ่อนแรง
- ภาพหลอน
- มึนงง
- ปัสสาวะไม่ได้
- ชัก
หากมีอาการผลข้างเคียงดังด้านบนควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที และโดยเฉพาะผลข้างเคียงที่รุนแรงควรได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉิน
ข้อควรระวังในการใช้ยาทรามาดอล
ยาทรามาดอลไม่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เพราะจะมีผลต่อทารกในควรรภ์ แต่สำหรับการรักษาอาการปวดขณะตั้งครรภ์รุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ทรามาดอล แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่เคร่งครัดของแพทย์
สำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรสามารถใช้ทรามาดอลได้ เนื่องจากปริมาณทรามาดอลที่ส่งไปยังน้ำนมน้ำมีปริมาณต่ำมาก จนไม่มีอันตายกับลูกน้อย
สิ่งสำคัญ คือ หากมีปัญหาสุขภาพ หรือใช้ยารักษาโรค หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ควรบอกแพทย์ให้ทราบก่อนเริ่มใช้ทรามาดอล เป็นการป้องกันผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
ข้อควรระวังในการใช้ยาทรามาดอล
ยาทรามาดอลไม่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เพราะจะมีผลต่อทารกในควรรภ์ แต่สำหรับการรักษาอาการปวดขณะตั้งครรภ์รุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ทรามาดอล แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่เคร่งครัดของแพทย์
สำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรสามารถใช้ทรามาดอลได้ เนื่องจากปริมาณทรามาดอลที่ส่งไปยังน้ำนมน้ำมีปริมาณต่ำมาก จนไม่มีอันตายกับลูกน้อย
สิ่งสำคัญ คือ หากมีปัญหาสุขภาพ หรือใช้ยารักษาโรค หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ควรบอกแพทย์ให้ทราบก่อนเริ่มใช้ทรามาดอล เป็นการป้องกันผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
ยาทรามาดอลไม่เหมาะกับใคร
ข้อควรพิจารณาบางประการสำหรับผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงทรามาดอล:
- โรคภูมิแพ้หรือภูมิไวเกิน:บุคคลที่ทราบว่ามีอาการแพ้หรือภูมิไวเกินต่อ Tramadol หรือส่วนประกอบอื่นใดของยาควรหลีกเลี่ยงการใช้ ปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อยาทรามาดอลมีตั้งแต่ผื่นผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรง เช่น ภูมิแพ้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- ประวัติการใช้สารเสพติดหรือติดยาเสพติด: Tramadol มีศักยภาพในการใช้ยาในทางที่ผิดและติดยา โดยเฉพาะในบุคคลที่มีประวัติการใช้สารเสพติด ติดยาเสพติด หรือการพึ่งพาฝิ่นหรือยาอื่นๆ ดังนั้นควรใช้ tramadol ด้วยความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิงในบุคคลที่มีประวัติการใช้สารเสพติดหรือติดยาเสพติด
- ตับหรือไตบกพร่องอย่างรุนแรง: Tramadol ถูกเผาผลาญในตับและขับออกทางไตเป็นหลัก บุคคลที่มีความบกพร่องของตับอย่างรุนแรงหรือโรคไตวายระยะสุดท้ายอาจมีความผิดปกติของการเผาผลาญ ของ Tramadol ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผลข้างเคียงหรือความเป็นพิษ ควรใช้ Tramadol ด้วยความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงในบุคคลที่มีความบกพร่องทางตับหรือไตอย่างรุนแรง และอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาตามการทดสอบการทำงานของไตและตับ
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:ความปลอดภัยของการใช้ Tramadol ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างดี และการใช้ในประชากรเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์หรือทารกแรกเกิด ควรใช้ Tramadol ด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรเท่านั้น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- ผู้สูงอายุ:ผู้สูงอายุอาจไวต่อผลข้างเคียงของ Tramadol มากกว่า เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ ระงับประสาท สับสน และหายใจลำบาก ควรใช้ Tramadol ด้วยความระมัดระวังในผู้สูงอายุ และอาจแนะนำให้ใช้ขนาดเริ่มต้นที่ต่ำกว่าเพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียง
สิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่พิจารณาการรักษาด้วย Tramadol คือต้องหารือเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และข้อกังวลใดๆ กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเริ่มการรักษาด้วย Tramadol ผู้ให้บริการด้านการแพทย์สามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคลและติดตามผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก