โรคปากเบี้ยว Bell’s Palsy คือภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งอ่อนแรงอย่างรุนแรง
เชื่อกันว่าภาวะนี้เกิดจากเส้นประสาทที่ควมคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าเกิดการบวม
อาจเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการนี้สามารถหายไปเองได้และกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกคืออะไร
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เกี่ยวเนื่องกับการอ่อนแรงหรือการที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้าเป็นอัมพาต อาการจะปรากฏให้เห็นในตอนเช้าแบบไม่ทันตั้งตัวหลังตื่นนอน โดยผู้ที่มีอาการจะรู้สึกว่าไม่สามารถขยับหน้าซีกใดซีกหนึ่งได้
ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งได้แบบกะทันหัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นเพียงด้านเดียว และด้านที่มีอาการจะมีสภาพจะหย่อนลง ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะมีผลกระทบต่อขบวนการผลิตน้ำลายและน้ำตา รวมถึงความสามรถในการรับรสด้วย
หลายคนที่มีอาการแบบนี้ จะเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง แต่ถ้าอาการที่มีนั้นเกิดขึ้นแค่ใบหน้า ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกเท่านั้น
ในแต่ละปี มีคนประมาณ 1 ใน 5,000 คนที่ป่วยเป็นโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนี้ ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่มีอัตราการเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย
ในบางกรณีโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกก็สามารถเกิดขึ้นกับใบหน้าทั้งสองซีก แต่กรณีแบบนี้ พบได้ไม่บ่อยนัก
สาเหตุของโรคปากเบี้ยว
เส้นประสาทที่ใบหน้าจะควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของใบหน้าและบางส่วนของหู ซึ่งเส้นประสาทนี้จะส่งผ่านช่องแคบๆ ของกระดูกจากสมองตรงมาที่ใบหน้า
หากเส้นประสาทส่วนนี้เกิดการอักเสบ จะไปกดทับกับกระดูกโหนกแก้มหรือถูกบีบในจุดที่เป็นช่องแคบๆ ที่เส้นประสาทผ่าน ซึ่งจะสร้างความเสียให้กับให้ระบบป้องกันความเสียหายของเส้นประสาท
หากระบบการป้องกันของเส้นประสาทเกิดความเสียหาย อาจทำให้สัญญาณที่ส่งมาจากสมองมาที่กล้ามเนื้อของใบหน้าไม่สามารถส่งไปถึงกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้อย่างที่ควรจะเป็น ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าส่วนนั้นอ่อนแอและเป็นอัมพาต ซึ่งก็คือโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนั่นเอง
เหตุผลที่ชี้ชัดว่าทำไมจึงเกิดภาวะแบบนี้ขึ้นได้ ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด
ของอาการนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไวรัสเริม ที่ทำให้เกิดการอักเสบในเส้นประสาทส่วนนี้ ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ทำให้เกิดเริมที่ปาก และแผลที่อวัยวะเพศ
ไวรัสชนิดอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกได้ มีดังนี้
-
ไวรัสที่ทำให้เกิดเริมที่ปาก และเริมที่อวัยวะเพศ
-
Epstein-Barr virus, หรือ EBV, ที่ทำให้เกิดโรค mononucleosis
-
เชื้อไวรัสชนิด cytomegalovirus
-
ไวรัสคางทูม
-
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B
-
โรคมือ เท้า ปาก (coxsackievirus)
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
ปัจจัยเสี่ยงบางประการมีผลต่อการเกิดโรคนี้
พบว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่าง “ไมเกรน” กับการอ่อนแรงของใบหน้าและการอ่อนแรงของแขนขา ข้อมูลจากการศึกษาพบว่าในปี ค.ศ. 2015 คนที่เป็นไมเกรนมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
ภาวะที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ มีดังนี้
-
ผู้ที่มีอายุในช่วง 15-60 ปี
-
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคระบบทางเดินหายในส่วนบน
-
สตรีมีครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีอายุครรภ์ในช่วงระยะที่ 3 ของการตั้งครรภ์
-
ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงระยะ 1 สัปดาห์หลังการคลอดบุตร
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงและผู้ชายในสัดส่วนเท่ากัน
การรักษาโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
ผู้ที่เป็นโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนี้ ส่วนใหญ่จะหายจากอาการได้ภายใน 1-2 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ยังมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าได้อยู่บ้าง
การรักษาด้วยยากลุ่มคอร์ติสเตียรอยดฮอร์โมน ที่เรียกว่า เพรดนิโซโลน (prednisolone) สามารถเร่งการฟื้นตัวจากโรคนี้ได้ และจากการศึกษาพบว่า หากกินเพรดนิโซโลน ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ สามารถลดความรุนแรงของโรคได้อย่างมีนัยสำคัญ และจะลดการอุบัติการของโรคต่อไปได้อีก 12 เดือน
ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone)
ยานี้เป็นสเตียรอยด์ที่ช่วยลดการอักเสบ ช่วยเร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่ได้รับความเสียหายจากอักเสบ นอกจากนี้ Prednisolone ยังช่วยป้องกันการปล่อยสารที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เช่น prostaglandins และ leukotrienes ด้วย
ผู้ป่วยจะใช้ยานี้โดยการกินวันละ 2 เม็ด ติดต่อกัน 10 วัน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา มีดังนี้
-
มีสิว
-
ทำให้นอนหลับยาก
-
ผิวแห้ง
-
อยากอาหารมากขึ้น
-
เหงื่อออกเยอะมากขึ้น
-
อาหารไม่ย่อย
-
อารมณ์แปรปรวน
-
คลื่นไส้
-
เชื้อราในปาก (Oral thrust)
-
ทำให้แผลหายช้า
-
ทำให้ผิวบาง
ผลข้างเคียงเหล่านี้จะ]ลดความรุนแรงลงภายใน 2-3 วัน
เมื่อใช้ยานี้แล้วมีอาการแพ้ใดๆ เกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์ทันที
อาการแพ้ อาจเป็นดังนี้
-
หายใจลำบาก
-
บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
หากผู้ป่วยรู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือง่วงนอนควรงดการขับยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักรกลหนัก เนื่องจากอาการนี้อาจไม่ปรากฏในทันที ขอแนะนำให้รอ 1 วันก่อนที่จะขับรถหรือใช้เครื่องจักร
แพทย์มักจะลดขนาดยาลงเรื่อย ๆ จนหยุดการใช้ยาสเตียรอยด์นี้ ซึ่งการทำดังนี้ จะช่วยป้องกันอาการที่จะเกิดขึ้นจากการงดยา เช่น อาเจียนหรือการอ่อนเพลีย
หยอดตา
หากผู้ป่วยกระพริบตาน้อยหรือกระพริบตาผิดปกติ ตาที่เปิดออกอยู่เป็นเวลานานจะทำให้น้ำตาจะระเหยออกไป พบว่าผู้ป่วยบางรายมีน้ำตาน้อยลง การที่น้ำตาระเหยและน้ำตาน้อยลงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการติดเชื้อในตา
แพทย์อาจสั่งจ่ายน้ำตาเทียมในรูปแบบของยาหยอดตาและยาทา โดยทั่วไปแล้วยาหยอดตาควรใช้ในช่วงตื่นนอน ในและป้ายยาที่เป็นครีมก่อนเข้านอน
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการนอนลืมตาหรือหลับตาไม่สนิทในขณะนอนหลับ อาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาให้สามารถหลับตาได้ในขณะหลับ หากมีอาการรุนแรงขึ้นให้ไปแพทย์ทันที หรือหากไม่สามารถพบแพทย์ได้ให้ไปที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลใกล้บ้านที่สุด
ยาต้านไวรัส
ในบางกรณีอาจมีการใช้ยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ ควบคู่ไปกับเพรดนิโซโลน อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานยืนยันว่าการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ควบคู่กัน ยังไม่สามารถช่วยต้านไวรัสได้มากนัก
การรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน
การออกกำลังกายใบหน้า เมื่อเส้นประสาทใบหน้าเริ่มฟื้นตัว การทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าตึงสลับการผ่อนคลายสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อใบหน้าได้
การดูแลฟัน หากไม่ค่อยมีความรู้สึกในปากหรือไม่มีความรู้สึกในปากเลย จะเกิดการสะสมของเศษอาหารภายในช่องปากได้ง่าย ซึ่งจะนำไปสู่โรคเหงือกหรือฟันผุ การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันจะสามารถช่วยป้องกันปัญหานี้ได้
ปัญหาในการรับประทานอาหาร หากมีปัญหาในการกลืนอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดมากขึ้นและกินช้าๆ การเลือกอาหารอ่อนๆ เช่น โยเกิร์ต ก็สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน
ยาแก้ปวด ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถช่วยลดปวดและความอาการรู้สึกไม่สบายได้
อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
เส้นประสาทบนใบหน้าจะควบคุมการกะพริบ การเปิดและปิดตา การยิ้ม การหลั่งน้ำลาย การผลิตน้ำตา และการขมวดคิ้ว และยังเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อของกระดูกโกลนซึ่งเป็นกระดูกในหูที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน
เมื่อเส้นประสาทใบหน้าทำงานผิดปกติ อาการต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
-
อัมพาตอย่างกะทันหัน หรือด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้าอ่อนแรง
-
ปิดเปลือกตาข้างใดข้างหนึ่งได้ยาก
-
ระคายเคืองในตาเนื่องจากไม่กะพริบตาหรือตาแห้งเกินไป
-
มีการเปลี่ยนแปลงไปของปริมาณน้ำตา
-
บางส่วนของใบหน้าเช่น มุมปากด้านใดด้านหนึ่ง หย่อนลง
-
น้ำลายไหลจากมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง
-
แสดงออกทางสีหน้าได้ยาก
-
การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป
-
อาจมีเสียงวิ้งๆ ในหูข้างที่มีอาการ
-
ปวดด้านหน้าหรือด้านหลังของหูข้างที่มีอาการ
-
ปวดศีรษะ
การบริหารเพื่อการรักษา
สมาคม Bell’s Palsy ในสหราชอาณาจักรแนะนำให้ทำการบริหาร ต่อไปนี้
บริหารใบหน้า
-
นั่งสบาย ๆ หน้ากระจก
-
ยกคิ้วขึ้นเบา ๆ โดยอาจใช้นิ้วมือช่วยหากจำเป็น
-
ดึงคิ้วเข้าหากันและขมวดคิ้ว
-
หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกเร็วๆ แรงๆ
-
พยายามขยับมุมปากออกไปด้านนอก
-
ดึงปากข้างหนึ่งขึ้นจากนั้นดึงอีกข้างให้ดูเหมือนว่ากำลังยิ้ม
-
หากใช้นิ้วมือช่วย ให้ดูว่าคุณสามารถรักษารอยยิ้มไว้ได้หรือไม่หลังจากปล่อยนิ้วมือออกแล้ว
บริหารโดยการหลับตา
-
ตั้งศีรษะให้ตรง มองลงด้วยการเหลือบตาเท่านั้น
-
ใช้นิ้วมือ 1 นิ้วกดเบาๆ บนเปลือกตา 1 ข้าง และหลับตาไว้
-
ใช้มืออีกข้างหนึ่งดึงคิ้วขึ้นเบาๆ นวดตามแนวคิ้วเพื่อไม่ให้เกิดการตึง
-
พยายามกดเปลือกตาโดยการหลับตาให้แน่นๆ โดยไม่ต้องใช้มือช่วย
-
ลืมตาขึ้นมาโดยค้างไว้ครึ่งหนึ่ง
แนวโน้มของโรค
ผู้ป่วยโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกส่วนใหญ่จะสามารถหายได้ภายใน 9 เดือน หากผู้ป่ายรายใดไม่หายจากอาการภายในระยะเวลาดังกล่าวนี้ เส้นประสาทอาจได้รับความเสียหายอย่างมาก และต้องให้การรักษาต่อไปด้วย ซึ่งอาจทำด้วยวิธีดังต่อไปนี้
บำบัดแบบการเล่นละครใบ้ (Mime therapy) นี่คือการบำบัดทางกายภาพประเภทหนึ่ง ผู้ป่วยจะได้รับการสอนให้ฝึกหัดที่จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งมักจะส่งผลให้เกิดการทำงานประสานกันได้ดีขึ้นและการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น
ศัลยกรรมตกแต่ง สามารถปรับปรุงลักษณะและสมมาตรของใบหน้าได้ ผู้ป่วยบางรายจะได้รับประโยชน์อย่างมากหากสามารถยิ้มได้อีกครั้ง แต่การทำศัลยกรรมไม่สามารถรักษาปัญหาเส้นประสาทได้
การบำบัดด้วยโบท็อกซ์ การฉีดโบท็อกซ์บนใบหน้าซีกที่มีอาการ สามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้าที่ตึงและลดการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ไม่ต้องการได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bells-palsy/symptoms-causes/syc-20370028
-
https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Bells-Palsy-Fact-Sheet
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก