ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dystonia) คือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อหดเกร็งเองโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจเกิดอาการกระตุก ตัวสั่นหรือมีท่าทางผิดปกติ
บางครั้งร่างกายทั้งหมดอาจเกิดการเคลื่อนไหวบางส่วนแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งเป็นร่างกายบางส่วนที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติเท่านั้น บางครั้งภาวะนี้เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเฉพาะบางอย่าง เช่นการเขียน ซึ่งเรียกว่าอาการตะคริวของนักเขียน
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งคืออะไร
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นความผิดปกติของระบบประสาทกลุ่มหนึ่ง
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นโรคระบบประสาทที่ส่งผลกระทบต่อสมองและเส้นประสาท อย่างไรก็ตามความผิดปกติชนิดนี้ไม่ได้ส่งผลต่อทักษะการรู้คิด (สติปัญญา) ความจำและทักษะด้านการสื่อสาร
โดยภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นความผิดปกติที่มีแนวโน้มเกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี
อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งเกิดจากพันธุกรรมได้เช่นกัน มีสารพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ได้รับการยืนยันและระบุว่าเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามมีสาเหตุอื่นที่ได้รับการระบุเช่นกัน ตัวอย่างเช่นการใช้ยาบางประเภท โรคบางชนิดเช่นการเกิดมะเร็งปอดเป็นโรคที่มีสัญญาณอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
การรักษาได้แก่การใช้ยานอนหลับหรือยาโดพามีน บางครั้งสามารถใช้การผ่าตัดช่วยได้เช่นกัน
แม้ว่าภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัยได้เช่นกัน
อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
อาการของภาวะกล้ามเนื้อเกร็งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อาการปานกลางไปจนถึงรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อส่นต่างๆของร่างกาย สำหรับอาการเริ่มแรกได้แก่
- ตะคริวที่เท้า
- กระพริบตาเอง
- พูดลำบาก
- คอบิดเองแบบไม่ตั้งใจ
สัญญาณและอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งหลายประเภท ตัวอย่างเช่น
โรคคอบิดเกร็ง
โรคคอบิดเกร็งหรือเรียกว่าโรคคอเอียงแต่กำเนิดเนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นภาวะกล้ามเนื้อคอบิดเกร็งที่พบได้มากที่สุดและเกิดขึ้นกับส่วนเดียวของร่างกาย โดยปกติมักเกิดขึ้นช่วงที่คนเรามีอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อคอเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
โรคคอบิดมีอาการที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงรุนแรง ถ้าหากเกิดกล้ามเนื้อเป็นตะคริวและหดเกร็งและมีอาการที่รุนแรงเพียงพอ ผู้ที่มีอาการดังกล่าวอาจเคยมีอาการกล้ามเนื้อตึงและเจ็บปวดได้
ตากะพริบค้าง
อาการตากระพริบค้างเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อตา
เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อรอบดวงตา ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น
- โรคกลัวแสง (อ่อนไหวต่อแสง)
- มีอาการระคายเคืองในดวงตา
- กระพริบตาบ่อยเกินไปจนควบคุมไม่ได้
- หลับตาแบบควบคุมไม่ได้
ผู้ที่มีอาการตากระพริบค้างรุนแรงอาจไม่สามารถลืมตาได้เป็นเวลาหลายนาที
โดยส่วนใหญ่คนที่มีอาการตากระพริบค้างรุนแรงมักมีอาการตากระตุกรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกที่ตอบสนองต่อยาบางชนิด
ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกชนิดนี้มีอาการหลักเกิดขึ้นกับขา โดยสามารถเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 5-30 ปี ซึ่งภาวะกล้ามเนื้อกระตุกประเภทนี้ตอบสนองดีต่อยากลุ่ม levodopa ได้แก่ยาโดพามีน
อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นได้แก่ กล้ามเนื้อตึง เดินผิดปกติด้วยปลายเท้าหรือเท้าเบนออกจากกัน ในบางกรณีปลายเท้าและเข่าอาจหันเข้าหากัน
ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก
ผู้ที่เคยมีอาการใบหน้ากระตุกครึ่งซีกด้านใดด้านหนึ่ง อาการนี้อาจเกิดขึ้นถาวรเมื่อมีอาการเครียดหรือร่างกายอ่อนเพลียร่วมด้วย
โรคสายเสียงตึง
เกิดจากกล้ามเนื้อเส้นเสียงเป็นตะคริว สำหรับผู้ที่เป็นโรคสายเสียงตึงจะพูดเสียงเบามากคล้ายเสียงหายใจขณะผู้หรือมีเสียงพูดแปลกๆ โดยความผิดปกติของเสียงขึ้นอยู่กับบริเวณของกล้ามเนื้อของสายเสียงที่เกิดตะคริว
โรคกล้ามเนื้อมือเกร็ง
โรคกล้ามเนื้อมือเกร็งหรือโรคนิ้วขัดของคนเขียนหนังสือมีอาการได้แก่กล้ามเนื้อเป็นตะคริวและกล้ามเนื้อแขนหรือขากระตุกเอง การทำงานบางประเภทก่อให้เกิดกล้ามเนื้อหดเกร็งเฉียบพลันได้เช่นผู้ที่เขียนหนังสือมากเกินไปหรือทำกิจกรรมบางประเภทเป็นประจำจนก่อให้เกิดอาการบิดเกร็งเช่นตีกอล์ฟหรือเล่นดนตรี
กล้ามเนื้อหดเกร็งทั่วทั้งร่างกาย
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งทั่วร่างกายเกิดขึ้นกับเด็กวัยรุ่นเริ่มต้น โดยทั่วไปมักมีอาการชักกระตุกเกิดขึ้นกับลำตัวและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย
อาการทั่วไปได้แก่
- กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
- เกิดความผิดปกติเช่น ร่างกายบิดเนื่องจากกล้ามเนื้อลำตัวบิดหรือหดเกร็ง
- ลำตัวหรือเท้าบิดเข้าด้านใน
- บางส่วนของร่างกายอาจจะกระตุกอย่างฉับพลันและรวดเร็ว
ภาวะกล้ามเนื้อบิดแบบหัวใจเต้นเร็วเป็นครั้งคราว
พบได้น้อยมากที่ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งหรือกล้ามเนื้อเป็นตะคริวเฉียบพลันจะเกิดขึ้นกับการเคลื่อนเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ภาวะกล้ามเนื้อบิดแบบหัวใจเต้นเร็วเป็นครั้งคราวมีอาการคล้ายกับโรคลมชักหรือลมบ้าหมู อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อบิดประเภทนี้จะยังไม่หมดสติและรู้สึกตัว ซึ่งแตกต่างจากโรคลมบ้าหมู
- สภาพจิตใจตึงเครียด
- อ่อนล้าหรือหมดแรง
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
- ดื่มกาแฟ
- ขยับร่างกายเองแบบเฉียบพลัน
ประเภทของกล้ามเนื้อหดเกร็ง
โรคกล้ามเนื้อหดเกร็งแบ่งออกด้วยสาเหตุของการเกิดโรคได้แก่
โรคกล้ามเนื้อหดเกร็งจากพันธุกรรมเป็นความผิดปกติที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ และยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดความผิดปกตินี้ได้
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้แก่พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทหรืออาการบาดเจ็บ
นอกจากนี้อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งยังสามารถเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่างๆของร่างกายได้แก่
- กล้ามเนื้อหดเกร็ง ผิดรูปร่างเฉพาะที่ – เกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
- กล้ามเนื้อหดเกร็ง ผิดรูปร่างเฉพาะส่วน – เกิดขึ้นกับบางส่วนของร่างกายหรืออวัยวะที่เชื่อมต่อกันกับบริเวณที่เกิดกล้าเนื้อกระตุก
- กล้ามเนื้อหดเกร็งหลาย – เกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่เชื่อมต่อกัน
- กล้ามเนื้อหดเกร็งทั่วร่างกาย – มักเกิดขึ้นที่บริเวณขาทั้ง 2 ข้างและส่วนอื่นของร่างกายที่กล้ามเนื้อชักกระตุก
- กล้ามเนื้อกระตุกครึ่งซีก – เกิดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งบนร่างกายครึ่งซีก
สาเหตุของกล้ามเนื้อหดเกร็ง
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งหรือกระตุกมีอาการแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับประเภทของโรค
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งจากพันธุกรรม
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งที่มีสาเหตุความผิดปกติทางพันธุกรรม ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเกิดปัญหาขึ้นกับสมองบางส่วนที่เรียกว่า ปมประสาท ( Basal ganglia) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวหรือการตอบสนองของร่างกายโดยอัตโนมัติ
บริเวณปมประสาทอาจจะไม่สารที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทเพียงพอหรือมีสารส่งสัญญาณผิดประเภทส่งผลทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าอาจมีการผลิตสารนำส่งสัญญาณที่ผิดปกติหรือไม่เพียงพอทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ทั้งนี้นักวิจัยเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสมองส่วนอื่นด้วยเช่นกัน
ซึ่งภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งบางประเภทเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนส์เช่นกัน
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อเกร็งที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ
การเกิดกล้ามเนื้อหดเกร็งประเภทนี้เกิดจากหลายปัจจัยหรือโรครวมกัน เช่น
- เนื้องอกในสมอง
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์หรือพิษจากโลหะหนัก
- ขาดแคลนออกซิเจน
- ภาวะสมองพิการ
- โรคฮิลลิงตัน
- การติดเชื้อเช่นโรคเท้าช้าง โรควัณโรค หรือ (HIV)
- อาการชัก
- อาการบาดเจ็บที่สมองหรือกระดูกสันหลัง
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากระบบประสาทชนิดหนึ่งที่เกิดจาก
ยาที่ก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ยาบางประเภทสามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งได้ โดยปกติอาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาเพียงชนิดเดียวและการตอบสนองของกล้ามเนื้อต่อยาที่ผิดปกตินี้สามารถรักษาได้
อย่างไรก็ตาม บางครั้งภาวะกล้ามเนื้อชักกระตุกอาจเกิดขึ้นหลังจากทานยาทันที โดยภาวะนี้เรียกว่า กลุ่มอาการยึกยือ (tardive dystonia) โดยส่วนใหญ่แล้วอาการนี้เกิดขึ้นจากการใช้ยาที่ใช้รักษาอาการทางจิต ซึ่งนำมาใช้รักษาโรคจิตเภท โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและโรคที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ยาที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อกระตุกได้แก่
- ยา acetophenazine (Tindal)
- ยา loxapine (Loxitane, Daxolin)
- ยา piperacetazine (Quide)
- ยา thioridazine (Mellaril)
- ยา trifluoperazine (Stelazine)
- ยา trimeprazine (Temaril)
การรักษาด้วยยา
ยาที่ใช้สำหรับรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมีดังต่อไปนี้
ยากลุ่ม (Levodopa)
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งจากการตอบสนองต่อยา dopa อาจได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม เลโวโดปา (Levodopa) โดยยาชนิดนี้เป็นยาที่เพิ่มระดับของสารโดปามีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ผู้ที่ใช้ยาเลโวโดปาอาจเคยมีอาการคลืนไส้ แต่อาการนี้สามารถหายไปได้เมื่อร่างกายคุ้นชินกับยาชนิดนี้
ยาโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin)
ยาชนิดนี้เป็นสารพิษที่รุนแรง ซึ่งเป็นยาที่สามารถใช้รักษาในปริมาณที่น้อยมากที่สุดเท่านั้น โดยปกติยาชนิดนี้ใช้เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งระยะเริ่มแรกเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้สารสื่อประสาทบางชนิดสามารถส่งสัญญาไปถึงกล้ามเนื้อและป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อเป็นตระคริว
ยาโบทูลินัมท็อกซินนำมาใช้ด้วยการฉีดเข้าร่างกาย โดยปกติใช้เพียงโดสเดียวเป็นเวลา 3 เดือนหรืออาจนำมาใช้ฉีดเพื่อระงับอาการปวดกล้ามเนื้อชั่วคราวได้
ยา (Anticholinergics)
ยากลุ่มนี้ใช้เพื่อปิดกั้นการส่งสัญญาณของสารสื่อประสาทที่มีชื่อเรียกว่า (Acetylcholine) เป็นสารสื่อประสาทที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดกล้ามเนื้อเป็นตะคริวซึ่งเป็นอาการของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งบางประเภท บางครั้งยากลุ่มนี้อาจใช้ไม่ได้ผลดีเสมอไป
ยาคลายกล้ามเนื้อ
โดยปกติยาคลายกล้ามเนื้อสามารถนำมาใช้ได้เมื่อใช้ยาชนิดอื่นๆไม่ได้ผล ซึงยาคลายกล้ามเนื้อจะเพิ่มระดับของ (GABA) (กรด gamma-aminobutyric) เป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย โดยยาคลายกล้ามเนื้อที่มักนำมาใช้ได้แก่ยา (Diazepam) และ ยา clonazepam ซึ่งยาเหล่านี้มีทั้งชนิดรับประทานและฉีด
การผ่าตัด
หากใช้การรักษาชนิดอื่นๆไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัด ซึ่งมีวิธีการผ่าตัดที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
การผ่าตัดเส้นประสาทส่วนปลายชนิดสั่งการ (Selective peripheral denervation)
บางครั้งการผ่าตัดประเภทนี้นำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง ศัลยแพทย์จะทำการผ่านตัดโดยเจาะเข้าไปในคอเพื่อตัดเส้นประสาทส่วนปลายที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อที่เกิดอาการบิดเกร็ง หลังจากการผ่านตัด ผู้ป่วยอาจสูญเสียความรู้สึกที่คอได้
การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก
เป็นการผ่าตัดผ่ารูขนาดเล็กที่เจาะเข้าไปในกระโหลกและฝั่งขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กใน (Globus pallidus) เป็นส่วนหนึ่งของปมประสาท
สำหรับการผ่าตัดประเภทนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษาในระยะยาว เนื่องจากเป็นเทคนิคการรักษาแบบใหม่ ซึ่งการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึกนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ของการรักษาที่ชัดเจน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งไม่ได้เกิดจากอาการเดียวแต่เกิดจากความผิดปกติหลายอย่าง
- สาเหตุของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมีหลายอย่าง ได้แก่การใช้ยาหรือภาวะขาดแคลนออกซิเจนและโรคฮันติงตัน (Huntington’s disease)
- การวินิจฉัยโรคได้แก่การตรวจร่างกายและการเอ็กซเรย์ภาพร่างกาย
- การรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ได้แก่การใช้ยารักษา การทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัด
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/brain/dystonia-causes-types-symptoms-and-treatments#1
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dystonia/symptoms-causes/syc-20350480
- https://www.ninds.nih.gov/disorders/patient-caregiver-education/fact-sheets/dystonias-fact-sheet
- https://dystonia-foundation.org/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก