

ต่อมน้ำเหลืองโต (Enlarged lymph nodes) บ่งบอกถึงการติดเชื้อที่ได้พบบ่อย และยังสามารถสื่อถึงอาการได้ เช่น โรคภูมิคุ้มกันหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีโครงสร้างลักษณะกลมและเล็ก มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
บทความนี้จะบอกถึงสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโต เมื่อไรควรไปพบแพทย์และทางเลือกในการรักษาโรค
ทำไมถึงเกิดต่อมน้ำเหลืองโต
เซลล์ภูมิคุ้มกันในต่อมน้ำเหลืองจะช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองจะรวบรวมและกรองของเหลว ของเสีย และเชื้อโรคที่เป็นอันตราย ซึ่งร่างกายมนุษย์มีต่อมน้ำเหลืองหลายร้อยต่อม
ต่อมน้ำเหลืองหลักที่คนทั่วไปอาจมองเห็นหรือรู้สึกได้แก่:
- ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกร
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอแต่ละข้าง
- ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
- ต่อมน้ำเหลืองด้านใดด้านหนึ่งของขาหนีบ
น้ำเหลืองไหลเข้าและออกจากต่อมน้ำเหลืองไปทั่วร่างกายก่อนที่จะไหลกลับมาที่หน้าอก ในขณะเดียวกันจะรวบรวมและดักจับสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และของเสียจากร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองจะกรองของเหลวและปล่อยกลับเข้าสู่กระแสเลือดพร้อมกับเกลือและโปรตีน ต่อมน้ำเหลืองยังมีเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อโดยจะโจมตีเชื้อโรคที่น้ำเหลืองของร่างกายสะสมไว้ ต่อมน้ำเหลืองอาจโตได้เมื่อมีการติดเชื้อชั่วคราว การโตของต่อมน้ำเหลืองเกิดจากการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันในต่อมน้ำเหลือง
ตำแหน่งของการโตมักเกี่ยวข้องกับบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ตัวอย่าง เช่น การติดเชื้อในหูอาจทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองโตหลังบริเวณหู ในขณะที่คนที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนอาจสังเกตเห็นต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโต
ภาวะหลาย ๆ อย่างทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองที่ศีรษะและคอ รวมถึงความผิดปกติของภูมิต้านทาน เนื้อเยื่อมะเร็งบางชนิด และการติดเชื้อที่พบบ่อย เช่น ไข้หวัด ยาบางชนิด เช่น ยาต้านมาลาเรียและยาฆ่าเชื้ออาจก่อให้เกิดการโตของต่อมน้ำเหลืองได้เช่นกัน อาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ สาเหตุที่เป็นไปได้ของต่อมน้ำเหลืองโตโดยละเอียด
การติดเชื้อ
หวัดและไข้หวัดใหญ่อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต การติดเชื้อที่อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส การติดเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ :
- โรคไข้หวัดทั่วไป
- ไข้หวัด
- การติดเชื้อไซนัส
- โรคโมโนนิวคลิโอซิส (Infectious Mononucleosis) คือโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย
- ต่อมทอนซิลอักเสบ
- ฟันหรือเหงือกติดเชื้อ
- การติดเชื้อ Staphylococcus Aureus
- คออักเสบ
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง
- การติดเชื้อรา
การติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้นอาจทำให้เกิดอาการโตในบริเวณต่อมน้ำเหลืองหนึ่งหรือหลายจุด ได้แก่ :
- โรคอีสุกอีใส
- วัณโรค
- โรคหัด
- หัดเยอรมัน
- โรคเริม
- โรคลายม์ (Lyme disease)
- โรคเอดส์
- โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
- โรคไข้แมวข่วนอาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณใกล้กับรอยแมวข่วน
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ได้แก่:
- โรคเอสแอลอีหรือลูปัส (SLE, Lupus)
- โรคไขข้ออักเสบ
- โรคปากแห้ง ตาแห้ง (Sjogren’s syndrome)
- มะเร็ง
ต่อมน้ำเหลืองโตยังสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติหรือมะเร็ง ได้แก่ :
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
- การแพร่กระจายของมะเร็ง
- มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma)
ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะมีปัญหามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งรวมถึงปัจจัยดังต่อไปนี้:
- มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
- เพศชาย
- มีผิวขาว
ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจสังเกตเห็นว่าต่อมน้ำเหลืองแข็งหรือลักษณะเป็นลูกหนู นอกจากนี้ยังอาจพบอาการทางระบบเช่น ไข้เหงื่อออกตอนกลางคืนและน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ต่อมน้ำเหลืองโตที่ขาหนีบ
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เช่น ซิฟิลิสและหนองใน อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้ โดยปกติจะอยู่ที่บริเวณขาหนีบ การติดเชื้อในร่างกายส่วนล่าง และการบาดเจ็บที่ขา อาจทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองโตที่ขาหนีบได้
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
ในหลาย ๆ กรณีอาการอาจจะลดลงและหายไปภายใน 2 ถึง 3 สัปดาห์ เมื่อร่างกายสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้สำเร็จ หากยังมีปัญหานานกว่า 2-3 สัปดาห์อาจต้องไปพบแพทย์
เหตุผลอื่น ๆ ที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่ :
- ต่อมน้ำเหลืองที่รู้สึกแข็งหรือลักษณะเป็นลูกหนูเมื่อสัมผัส
- ไม่เคลื่อนที่อย่างอิสระ
- มีเส้นผ่านศูนย์กลางหนึ่งนิ้วขึ้นไป
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดท้อง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุหรือมีไข้สูง
วิธีการตรวจต่อมน้ำเหลืองโต
สามารถตรวจสอบได้ว่าต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่โดยกดเบา ๆ บริเวณนั้น เช่น ด้านข้างของลำคอ เมื่อต่อมน้ำเหลืองโตจะรู้สึกเหมือนมีก้อนกลม ๆ นิ่ม ๆ และอาจมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วหรือผลองุ่น เมื่อสัมผัสอาจรู้สึกนิ่มๆ ซึ่งบ่งบอกถึงการอักเสบ ในบางกรณีต่อมน้ำเหลืองจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติด้วย
ต่อมน้ำเหลืองปรากฏขนานกันทั้งสองข้างของร่างกาย สามารถเปรียบเทียบเพื่อดูว่าต่อมน้ำเหลืองมีขนาดใหญ่กว่าอีกด้านหรือไม่ หลายคนมักมีอาการจะรู้สึกเจ็บปวดหรือตึง ขณะเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน การเคลื่อนไหวดังกล่าวรวมถึงการหันคออย่างรวดเร็ว การก้มศีรษะหรือการรับประทานอาหารที่เคี้ยวยาก
ต่อมน้ำเหลืองโตมักเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัญหาพื้นฐาน แต่อาจรวมถึงอาการเจ็บคอ ไอ หรือ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
การวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองโต
แพทย์มักจะวินิจฉัยสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโตได้ โดยทำการตรวจร่างกายโดยเน้นที่บริเวณที่เป็นและโดยมีการพูดคุยเกี่ยวกับอาการและประวัติทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามอาจมีการทดสอบทางการแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการเพิ่มเติม อาจรวมถึงการตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ
การทดสอบสามารถช่วยให้แพทย์ตรวจดูต่อมน้ำเหลืองและโครงสร้างโดยรอบของร่างกายได้อย่างใกล้ชิด การทดสอบรวมถึง:
- อัลตราซาวนด์
- CT scan
- MRI scan
หากยังมีอาการเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือมีอาการเตือนอื่น ๆ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง ในระหว่างขั้นตอนนี้แพทย์จะทำให้ชาบริเวณนั้นทำการตัดเล็ก ๆ และนำส่วนของเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองออกเพื่อส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรืออาจเลือกใช้เข็มเจาะ ซึ่งการใช้เข็มเพื่อขจัดเซลล์บางส่วนออกจากต่อมน้ำเหลืองเพื่อทำการวิเคราะห์
วิธีรักษาต่อมน้ำเหลืองโต
การดื่มเครื่องดื่มมาก ๆ จะช่วยลดอาการที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ อาการของต่อมน้ำเหลืองโตมักจะหายไปเมื่อการติดเชื้อหายไป อาจหายไปเมื่อใช้ยาตามใบสั่งแพทย์เช่น ยาปฏิชีวนะหรือ ยาต้านไวรัส แพทย์อาจสั่งจ่ายยาต้านการอักเสบหากมีอาการบวมของเนื้อเยื่อ หากอาการป่วยที่เป็นสาเหตุทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตการรักษาอาการนี้ควรลดอาการบวม
การบรรเทาอาการของต่อมน้ำเหลืองโตสามารถทำได้ที่บ้านได้แก่ :
- รับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ เช่น acetaminophen หรือ ibuprofen
- ใช้ลูกประคบ
- ดื่มเครื่องดื่มมาก ๆ เช่น น้ำเปล่าและน้ำผลไม้สด
- พักผ่อนเพื่อช่วยให้ร่างกายหายจากอาการเจ็บป่วย
สรุปบทความ
ต่อมน้ำเหลืองโตมักเกิดจากภาวะอื่น เช่น การติดเชื้อและมักจะหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ หากต่อมน้ำเหลืองโตควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการนานเกิน 3 สัปดาห์หรือเกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น มีไข้สูงปวดท้อง หรือ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโตจะเป็นตัวกำหนดการรักษา
แหล่งที่มาของบทความ
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swollen-lymph-nodes/symptoms-causes/syc-20353902
- https://www.webmd.com/cancer/when-swollen-lymph-nodes-mean-cancer
- https://www.cancer.org/cancer/cancer-basics/lymph-nodes-and-cancer.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก