ประโยชน์ของกระเทียม (Garlic Health Benefits)

ประโยชน์ของกระเทียม (Garlic Health Benefits)

31.07
489
0

กระเทียม ถูกใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารอย่างแพร่หลายและก็ยังถูกใช้เป็นยาโดยมีให้เห็นในประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการนำกระเทียมมาใช้เป็นยารักษาโรค เพราะมันถูกเชื่อว่าสามารถรักษาโรคและอาการต่างๆได้มากมาย

กระเทียมอยู่ในพืชตระกูล Allium และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหัวหอม ต้นหอม กุ้ยช่าย กระเทียมหอม และหอมแดง กระเทียมถูกใช้โดยมนุษย์มาเป็นเวลาหลายพันปี ตั้งแต่ในอียิปต์โบราณเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำอาหาร และเพื่อสุขภาพและการรักษาโรคต่างๆ

บทความนี้จะกล่าวถึงประโยชน์ต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กระเทียม 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระเทียม

  • ในหลายๆประเทศกระเทียมถูกใช้เป็นยารักษาโรคมานานหลายศตวรรษ 
  • กระเทียมนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย ทั้งแบบสุกและดิบ
  • กระเทียมมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะที่สำคัญ

ความเป็นมาของกระเทียม

เนื่องจากกระเทียมนั้นมีสรรพคุณมากมาย จึงมีการใช้อยู่ทั่วทุกมุมโลกมาเป็นหลายพันปี รายงานระบุว่ากระเทียมนั้นถูกใช้ตั้งแต่ Pyramid giza ถูกสร้าง นั่นคือตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว 

จากอียิปต์ กระเทียมแพร่กระจายไปยังอารยธรรมโบราณขั้นสูงของหุบเขาสินธุ (ปัจจุบันคือปากีสถานและอินเดียตะวันตก) จากนั้นมันก็มาถึงประเทศจีน

ตามที่ผู้เชี่ยวชาญที่ Kew Gardens ศูนย์กลางความเป็นเลิศทางพฤกษศาสตร์ของอังกฤษ ผู้คนในอินเดียโบราณให้คุณค่ากับคุณสมบัติในการรักษาโรคของกระเทียม และยังคิดว่ามันเป็นยาโป๊ ชนชั้นสูงหลีกเลี่ยงกระเทียมเพราะพวกเขาเกลียดชังกลิ่นที่ฉุน ในขณะที่พระภิกษุ “…หญิงหม้าย วัยรุ่น และบรรดาผู้ที่ถือศีลอด ก็ไม่กินกระเทียมเพราะมีคุณสมบัติกระตุ้นอารมณ์ความกำหนัด”

การใช้กระเทียม

ในปัจจุบัน กระเทียมได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในสภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคหลอดเลือด (หลอดเลือดแข็งตัว) คอเลสเตอรอลสูง หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูง

กระเทียมยังถูกใช้ในปัจจุบันสำหรับบางคนในการป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำไส้

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจด้วยว่าการใช้งานเหล่านี้บางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการสนับสนุนจากการวิจัย

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food and Chemical Toxicology เตือนว่าการนำกระเทียมไปถูกความร้อนในระยะเวลาสั้นอาจรดทอนฤทธิ์ในการลดการอักเสบของกระเทียมสด ซึ่งนี่อาจเป็นปัญหาสำหรับบางคนที่ไม่ชอบหรือไม่สามารถทนต่อรสชาติหรือกลิ่นของกระเทียมสดได้

สรรพคุณของกระเทียม

ด้านล่างนี้ คือ ตัวอย่างการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประโยชน์ในการรักษาของกระเทียม

ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด 

ผู้ที่กินกระเทียมดิบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งในช่วงระยะเวลาการศึกษา 7 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดลดลง 44% จากการศึกษาที่ดำเนินการที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประจำมณฑลเจียงซูในประเทศจีน

นักวิจัยซึ่งตีพิมพ์ผลการศึกษาของพวกเขาในวารสาร Cancer Prevention Research ได้ทำการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับผู้ป่วยมะเร็งปอด 1,424 รายและบุคคลที่มีสุขภาพดีปกติ 4,543 พวกเขาถูกถามเกี่ยวกับอาหารและวิถีชีวิต รวมทั้งคำถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และความถี่ในการกินกระเทียม

ผู้เขียนกล่าวว่า: “ความสัมพันธ์ในการป้องกันระหว่างการบริโภคกระเทียมดิบกับมะเร็งปอดได้รับการสังเกตด้วยรูปแบบการตอบสนองต่อขนาดยา ซึ่งบ่งชี้ว่ากระเทียมอาจทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งปอด”

มะเร็งสมอง

นักวิทยาศาสตร์จาก Medical University of South Carolina รายงานในวารสาร Cancer ว่าสารประกอบออร์กาโน-กำมะถันบริสุทธิ์สามชนิดจากน้ำมันกระเทียม ได้แก่ DAS, DADS และ DATS “แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็งสมอง แต่ DATS พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด”

คุณ Ray Swapan, Ph.D. ผู้เขียนร่วม กล่าวว่า “งานวิจัยชิ้นนี้เน้นย้ำถึงความเชื่อมั่นสารประกอบที่มีต้นกำเนิดจากพืชเป็นยาธรรมชาติในการควบคุมการเจริญเติบโตที่ร้ายกาจของเซลล์เนื้องอกในสมองของมนุษย์ แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ก่อนที่จะใช้กลยุทธ์การรักษานี้กับผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

โรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้หญิงที่รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผักตระกูลอัลเลียมมีโรคข้อเข่าเสื่อมในระดับที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน ทีมงานที่ King’s College London และ University of East Anglia ทั้งในอังกฤษรายงานในวารสาร BMC Musculoskeletal Disorders ว่าตัวอย่างของผักตระกูล Allium ได้แก่ กระเทียม กระเทียมหอม หอมแดง หัวหอม  

ผู้เขียนกล่าวว่าการค้นพบของพวกเขาไม่เพียงแต่เน้นที่ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของอาการที่มีผลต่อโรคข้อเข่าเสื่อมเท่านั้น หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้สารประกอบที่มีอยู่ในกระเทียมเพื่อพัฒนาการรักษาโรค

การศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับหญิงฝาแฝดที่มีสุขภาพดีปกติมากกว่า 1,000 คน พบว่าผู้ที่มีนิสัยชอบรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ “โดยเฉพาะพืชผักในตระกูลอัลเลียม เช่น กระเทียม” มีอาการข้อเข่าเสื่อมในระยะเริ่มแรกน้อยลงในข้อสะโพก

Garlic Health Benefits

เป็นยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพ

Diallyl sulfide ซึ่งเป็นสารประกอบในกระเทียมมีประสิทธิภาพมากกว่ายาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กันถึง 100 เท่าในการต่อสู้กับแบคทีเรีย Campylobacter ตามการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Antimicrobial Chemotherapy

แบคทีเรีย Campylobacter เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการติดเชื้อในลำไส้ 

ปกป้องหัวใจ

นักวิจัยจาก Emory University School of Medicine พบว่า Diallyl trisulfide ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำมันกระเทียมช่วยปกป้องหัวใจระหว่างการผ่าตัดหัวใจและหลังหัวใจวาย พวกเขายังเชื่อว่า diallyl trisulfide สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

และยังมีการค้นพบอีกว่า GasHydrogen sulfide  ที่สามารถปกป้องหัวใจจากความเสียหายต่างๆได้ 

แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นสารประกอบที่ระเหยง่าย และยากต่อการรักษา

ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงตัดสินใจมุ่งเน้นไปที่ Diallyl Trisulfide ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำมันกระเทียม เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าในการนำประโยชน์ของไฮโดรเจนซัลไฟด์ไปสู่หัวใจ

ในการทดลองโดยใช้หนูทดลอง ทีมงานพบว่าหลังจากที่หนูหัวใจวาย หนูที่ได้รับ Diallyl Sulfide มีความเสียหายต่อหัวใจน้อยกว่า 61 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับการรักษา

คอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอังการาได้ศึกษาผลของการเสริมสารสกัดจากกระเทียมต่อระดับไขมันในเลือด ของผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง การศึกษาของพวกเขา 

การศึกษานี้มีอาสาสมัคร 23 คน ทุกคนมีคอเลสเตอรอลสูง มี 13 คนเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม:

  • กลุ่มคอเลสเตอรอลสูง (ความดันโลหิตปกติ)
  • กลุ่มความดันโลหิตสูงที่มีคอเลสเตอรอลสูง

พวกเราใช้สารสกัดจากกระเทียมเป็นระยะเวลา 4 เดือน รวมถึงการตรวจสอบค่าไขมันในเลือด และการทำงานของตับและไตอย่างสม่ำเสมอ

ในสิ้นเดือนที่ 4 นักวิจัยสรุปว่า “…การเสริมสารสกัดจากกระเทียมช่วยเพิ่มระดับไขมันในเลือด เพิ่มศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในเลือด และทำให้ความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การลดลงของระดับของกระบวนการออกซิเดชัน (MDA) ในตัวอย่างเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ลดลงในร่างกาย”

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สารสกัดจากกระเทียมนั้นช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวเสริมอีกว่าการศึกษาของพวกเขาเป็นเพียงแค่การศึกษาขนาดเล็กเท่านั้น จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ 

ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก

แพทย์ที่แผนกระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น ปักกิ่ง ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักตระกูล Allium กับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก 

จากการศึกษาผู้เขียนได้ระบุว่า “ผักตระกูลแอลเลียม โดยเฉพาะกระเทียมงั้นมีความสัมพันธ์ต่อการลดลงของความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

ทีมงานยังให้ความเห็นอีกว่า เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องมากนัก จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวิจัย

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *