กระเพาะอาหารทะลุ (Gastrointestinal Perforation) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กระเพาะอาหารทะลุ (Gastrointestinal Perforation) : อาการ สาเหตุ การรักษา

29.04
7265
0

ระบบทางเดินอาหารประกอบไปด้วยกระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก, และลำไส้ใหญ่ และมีความเป็นได้ว่าอาจเกิดการทะลุ เป็นรูขึ้นที่ผนังของทางเดินอาหารเหล่านี้ ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า กระเพาะอาหารทะลุ

กระเพาะอาหารทะลุ (Gastrointestinal Perforation) เป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดที่สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ ดังนั้นการผ่าตัดเร่งด่วนอาจเป็นเรื่องจำเป็น

ในบทความนี้จะอธิบายสาเหตุและอาการของกระเพาะอาหารทะลุ รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย การรักษาและเมื่อไรควรต้องไปพบแพทย์

โรคกระเพาะอาหารทะลุคืออะไร

กระเพาะอาหารทะลุ คือการเกิดรูขึ้นที่ผนังทางเดินอาหาร หรืออาจรู้จักกันในชื่อดังต่อไปนี้:

  • การแตกของระบบทางเดินอาหาร
  • ลำไส้ทะลุ
  • กระเพาะอาหารทะลุ

คนส่วนใหญ่ที่เกิดภาวะกระเพาะอาหารทะลุคือการเกิดรูขึ้นที่กระเพาะอาหารหรือที่ลำไส้เล็ก

การเกิดรูในลำไส้ใหญ่ หรือที่รู้จักกันว่าคือลำไส้ตอนปลาย มักเกิดขึ้นน้อยที่สุด เฉลี่ยจากประชากรในยุโรปพบแค่ 4 ใน 100,000 คนเท่านั้นที่เป็นโรคลำไส้ตอนปลายทะลุ 

การทะลุมีสาเหตุมาจากส่วนประกอบภายในกระเพาะอาหาร  ลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีการไหลซึมเข้าไปในช่องท้อง ทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ นำไปสู่โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้และมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบคือการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ที่เป็นส่วนเนื้อเยื่อบางๆในช่องท้อง หากไม่ได้รับการรักษา โรคเยื่อบุช่องท้องอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้อวัยวะล้มเหลว (Organ Failure) ได้

คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารทะลุ มีความจำเป็นต้องรีบพบแพทย์ทันที โรคลำไส้ทะลุเป็นโรคที่ส่วนใหญ่แล้วต้องรีบทำการผ่าตัดฉุกเฉิน

อาการกระเพาะอาหารทะลุ

อาการเบื้องต้นของโรคกระเพาะอาหารทะลุคืออาการปวดท้องรุนแรงและกดเจ็บ บริเวณหน้าท้องนูนหรือรู้สึกแข็งเมื่อสัมผัส

หากเกิดรูขึ้นในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กผู้ป่วยจะรู้สึกปวดในทันที แต่หากเกิดรูขึ้นที่บริเวณลำไส้ใหญ่อาการปวดจะค่อยๆแสดงอาการ แต่เมื่อเริ่มปวดแล้วอาการปวดจะยังอยู่ตลอดเวลา

อาการปวดจะรุนแรงและแย่หนักกว่าเดิมเมื่อผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเมื่อมีอะไรไปกดโดนบริเวณหน้าท้อง  แต่จะรู้สึกปวดน้อยลงหากผู้ป่วยนอนราบลง

อาการอื่นๆของโรคกระเพาะอาหารทะลุเช่น:

หากผู้ป่วยที่มีภาวะกระเพาะอาหารทะลุแล้วพัฒนาไปเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบอาจมีอาการอื่นๆตามมาเช่น:

หากโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบนำไปสู่ภาวะโลหิตเป็นพิษ อาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้น
  • หายใจเร็ว
  • มีไข้
  • สับสน

Stomach perforation

สาเหตุกระเพาะทะลุ

มีโรคหลายโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดกระเพาะอาหารทะลุได้ เช่น:

  • โรคลำไส้บิดเกลียว – ลำไส้อุดตันที่เกิดขึ้นเพราะลำไส้ใหญ่มีการบิดเป็นเกลียว
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ – คือการอักเสบของกระเปาะบริเวณเยื่อบุลำไส้ใหญ่ 
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร
  • ภาวะลำไส้ขาดเลือด – เกิดการอักเสบที่บริเวณลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการขาดเลือด
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • ถุงน้ำดีติดเชื้อ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • ปฏิกิริยาที่เกิดจากการรับประทานยาต้านการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs เช่นไอบูโรเฟน
  • ได้รับการบาดเจ็บในช่องท้อง เช่นมีดบาดหรือกลืนของมีคมเข้าไป

แม้จะพบได้ไม่บ่อยแต่ก็อาจเกิดขึ้นได้นั่นคือการได้รับอุบัติเหตุจากการผ่าตัดทางการแพทย์ ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะกระเพาะอาหารทะลุได้ เช่น:

  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร- ด้วยการใช้กล้องเล็กๆส่องเข้าไปดูบริเวณลำไส้ 
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ – เพื่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารทะลุหรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ผู้ป่วยที่มีอาการกระเพาะอาหารทะลุมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และโดยเฉพาะยิ่งต้องเป็นเรื่องฉุกเฉินสำหรับรายที่มีอาการภาวะโลหิตเป็นพิษ เพราะอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคแพทย์จะระบุโรคได้โดยตรวจสิ่งต่อไปนี้:

  • เอกซเรย์ทรวงอกและหน้าท้อง เพื่อตรวจหาอากาศในช่องท้องที่เป็นสัญญานของภาวะกระเพาะอาหารทะลุ
  • การตรวจซีทีสแกน จะช่วยให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งที่อาจเกิดรูได้
  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาสัญญานการติดเชื้อและภาวะการสูญเสียเลือด

การรักษากระเพาะทะลุ

คนที่เป็นกระเพาะอาหารทะลุมักมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน

ด้วยการผ่าตัดเปิดช่องท้องและเข้าไปซ่อมแซมรูที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร

แพทย์จะเอาสสารบางอย่างจากกระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก, หรือลำไส้ใหญ่ออก เพื่อช่วยรักษาโรคเยื่อบุท้องอักเสบและป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นต้องตัดเอาลำไส้บางส่วนออกไป การผ่าตัดลักษณะนี้อาจนำไปสู่การทำโคลอสโตมี คือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกมาเปิดทางหน้าท้องเก็บไว้ในถุงโดยแปะไว้ที่บริเวณหน้าท้อง 

แม้จะพบได้ไม่บ่อยแต่ก็มีในบางรายที่โรคกระเพาะอาหารทะลุสามารถเยียวยาตัวเองได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ในรายที่เป็นแบบนี้การใช้แค่ยาปฏิชีวนะเท่านั้นก็สามารถรักษาโรคได้

ในรายที่เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีความจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนจากกระเพาะอาหารทะลุนอกจากการมีเลือดออกภายในและภาวะโลหิตเป็นพิษแล้วนั้น โรคกระเพาะอาหารทะลุยังอาจทำให้เกิดฝีในช่องท้องหรือลำไส้เสียหายถาวร ที่เกิดจากบางส่วนของลำไส้ตาย

ในคนไข้บางรายอาจมีบาดแผลที่ยากต่อการรักษาด้วยการผ่าตัด หรืออาจเกิดอาการติดเชื้อขึ้น การใช้ชีวิตบางอย่างอาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นมากขึ้นได้ เช่นสูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปและมีภาวะโรคอ้วน

อาจมีโรคบางชนิดที่มีผลทำให้แผลยากต่อการรักษาได้เช่น:

  • โรคขาดสารอาหาร
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ
  • การบำบัดด้วยคอร์ดิโคสเตียรอยด์

โรคกระเพาะอาหารทะลุเป็นโรคที่มีความรุนแรงมีหลายสาเหตุแตกต่างกันออกไป บางชนิดสามารถป้องกันได้มากกว่าบางชนิด

หากผู้ป่วยมีอาการไม่สบายอื่นๆที่อาจนำไปสู่กระเพาะอาหารทะลุ ควรปฏิบัติตามแผนการรักษาตามคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าว

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *