Hyoscine คืออะไร
Hyoscine (ไฮออสซีน) มีชื่อทางการค้าว่า Buscopan (บุสโคพาน) ใช้สำหรับลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง อวัยวะในช่องท้องที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินปัสสาวะ ใช้เพื่อลดอาการเกร็งและอาการปวดในโรคลำไส้แปรปรวน ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ไฮออสซีนเป็นยาที่ได้รับการยอมรับในการนำมาใช้ในวงการแพทย์อย่างมาก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขของไทยได้บรรจุยานี้ลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อยานี้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป และมีใช้ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ ยาไฮออสซีนจัดอยู่ในหมวดยาอันตราย มีข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้ในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไป ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งก่อนการใช้ยา เพื่อใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กลไกการออกฤทธิ์ของยา Hyoscine
ไฮออสซีนเป็นยากลุ่มต้านอาการหดเกร็ง มีกลไกการออกฤทธิ์โดยเป็นสารกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิกจะเข้ายับยั้งตัวรับมัสคารินิกได้อย่างสมบูรณ์ มีการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย จะออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบเกิดการคลายตัว ลดการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ มีกลไกการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดท้อง เมื่อยาไฮออสซีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเป็นระยะเวลาประมาณ 10 นาที ตัวยาก็จะออกฤทธิ์ และออกฤทธิ์ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งตัวยาจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีโดยตับ ร่างกายจะต้องใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงในการกำจัดยานี้ออกจากร่างกายครึ่งหนึ่งโดยขับออกทางน้ำปัสสาวะ
สรรพคุณของยา Hyoscine
ยาไฮออสซีนใช้เป็นยารักษาอาการปวดเกร็งหรืออาการบิดเกร็งของอวัยวะในช่องท้อง ที่มีสาเหตุมาจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะอาหารหรือกระเพาะปัสสาวะ เช่น อาการท้องเสีย อาการท้องเดิน อาการอุจจาระร่วง อาการนิ่วในท่อไต อาการปวดท้องเนื่องจากนิ่วในน้ำดี อาการโรคลำไส้แปรปรวน การปวดประจำเดือน และสามารถใช้เพื่อลดการหลั่งของเหลวในปอดได้
วิธีใช้ยา Hyoscine
สำหรับรักษาอาการปวดเกร็งของอวัยวะในช่องท้องที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางเดินอาหารรวมถึงระบบทางเดินปัสสาวะ
- การรับประทานยาเม็ดในผู้ใหญ่ ให้รับประทานยาครั้งละ 10-20 มิลลิกรัม
- การรับประทานยาเม็ดส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้รับประทานยาครั้งละเศษ 1/4 ช้อนชาถึง1/2 ช้อนชา
- การรับประทานยาเม็ดในเด็กอายุ 1-4 ปี ให้รับประทานยาครั้งละ1/2 ช้อนชาถึง 1 ช้อนชา
- การรับประทานยาเม็ดในเด็กอายุ 4-7 ปี ให้รับประทานยาครั้งละ 1-2 ช้อนชา หรือ ½ ช้อนชาถึง 1 เม็ด
- การรับประทานยาเม็ดในเด็กอายุ 7-12 ปี ให้รับประทานยาครั้งละ 2 ช้อนชา หรือครั้งละ 1 เม็ด
เมื่อมีอาการให้รับประทานยาและสามารถรับประทานซ้ำได้ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง โดยผู้ใหญ่ให้รับประทานไม่เกินวันละ 4 ครั้ง และเด็กให้รับประทานไม่เกินวันละ 3 ครั้ง
- ยาฉีดสำหรับผู้ใหญ่ให้ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หรือผสมน้ำตาลกลูโคสฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้า ๆ ครั้งละ 1 หลอด
- ยาฉีดสำหรับเด็กให้ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือผสมน้ำตาลกลูโคสฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้า ๆ ครั้งละ ¼ หรือ 1/2 หลอด
รูปแบบยา Hyoscine
- ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- ยาฉีด 20 mg./ml.
- ยาน้ำเชื่อม ขนาด 5 mg./5 ml.
ตัวอย่างยา Hyoscine
- คานิน (Kanin)
- เซ็นโคแพน (Cencopan)
- บัสโคโน (Buscono)
- บาโคแทน (Bacotan)
- บุสโคพาน / บัสโคแพน (Buscopan)
- บูทิล (Butyl)
- วาโคแพน (Vacopan)
- เวสโคโพลามายด์ อินเจ็กชั่น (Vescopolamine Injection)
- สโคพาส (Scopas)
- สพาสโคแพน (Spascopan)
- สพาสกอน-เอ็น (Spasgone-H)
- สพาสโม (Spasmo)
- มายสปา (Myspa)
- ยูออสแพน (Uospan)
- ยู-ออสซีน (U-Oscine)
- แอนตี้สปา (Antispa)
- แอมโคแพน (Amcopan)
- ไฮบูทิล (Hybutyl)
- ไฮออสซิน บีเอ็ม (Hyoscin BM)
- ไฮออสซิน ลิควิด (Hyoscine liquid)
- ไฮออสซิน-เอ็น-บูทิลโบรมายด์ จีพีโอ (Hyoscine-N-butylbromide GPO)
- ไฮ-สปา 10 (Hy-Spa 10)
- ไฮออสเมด (Hyosmed)
- ไฮออสแทน (Hyostan)
- ไฮออสแพน (Hyospan)
- ไฮออสแมน (Hyosman)
- ไฮออสแมน ลิควิด (Hyosman liquid)
- ไฮโอซิน (Hyozin)
ตัวอย่างยี่ห้อของยา Hyoscine ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย
- Amcopan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- Antispa ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาฉีด ความเข้มข้น 20 mg./ml.
- Buscono ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาฉีด ความเข้มข้น 20 mg./ml.
- Bacotan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 mg./5 ml.
- Buscopan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- Cencopan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- Higan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- Hyoscine-N-butylbromide GPO ยาฉีด ความเข้มข้น 20 mg./ml.
- Hyosman ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 mg./5 ml.
- Hyosmed ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- Hyospan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- Hyozin ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 mg./5 ml.
- Kanin ยาฉีด ขนาด 20 mg.
- Myspa ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
- Scopas ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 mg./5 ml.
- Spasmo ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาเม็ด ขนาด 20 mg.
- Uospan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาฉีด ความเข้มข้น 20 mg./ml.
- Vacopan ยาเม็ด ขนาด 10 mg.
ยาฉีด ขนาด 20 mg.
- Vescopolamine Injection ยาฉีด ความเข้มข้น 20 mg./ml.
ข้อควรระวังในการใช้ยา Hyoscine
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคหลอดเลือด
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีแผลในลำไส้
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีชีพจรเต้นเร็ว (เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคต้อหิน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเลือดออกแบบเฉียบพลัน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ผู้สูงอายุ
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
- การใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาแก้ซึมเศร้า ยาแก้แพ้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
การเก็บรักษายา Hyoscine
- ควรเก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา และควรปิดให้สนิท
- เก็บยาให้พ้นจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ควรเก็บยานี้ในอุณหภูมิห้อง
- เก็บยาให้พ้นแสงแดด ไม่ควรเก็บยาในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส
- ไม่ควรเก็บยาในรถยนต์หรือบริเวณใกล้หน้าต่าง
- ไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น หือห้องน้ำ
- เมื่อยาเสื่อมสภาพหรือหมดอายุแล้ว หรือไม่มีการใช้ยาแล้ง ควรทิ้งให้ถูกวิธีและเหมาะสม
ผลข้างเคียงของยา Hyoscine
- มีอาการปวดศีรษะวิงเวียน มึนงง
- ง่วงนอน ง่วงซึม
- อ่อนเพลีย อ่อนแรง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องอืด แน่นอึดอัดในท้อง
- ท้องผูก
- ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะคั่ง หรือเจ็บเวลาปัสสาวะ
- ความจำเสื่อม สูญเสียความทรงจำ
- ปากแห้ง คอแห้ง กลืนลำบาก มีการหลั่งน้ำลายน้อยกว่าปกติ
- มีอาการหน้าแดง
- ผิวหนังแดง
- แพ้แสงแดด ทนความร้อนไม่ได้
- ผิวแห้ง ผิวหนังขึ้นผื่นจากการแพ้ยา
- รูม่านตาขยาย (ตาพร่ามัว) ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดกระบอกตา
- ตาแดง การมองเห็นผิดปกติ
- ความดันโลหิตต่ำ
- ใจสั่น (หัวใจเต้นเร็ว) หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- บวมน้ำ
- น้ำมูกไหลแน่นจมูก จมูกแห้ง
- อาจทำให้เกิดต้อหินมุมปิด
- มีอาการคัน
- มีอาการสั่น
- กดระบบประสาทส่วนกลาง
- การหายใจล้มเหลว หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นโคม่า
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก