ปวดกราม (Jaw Pain) : สาเหตุ อาการ การรักษา

ปวดกราม (Jaw Pain) : สาเหตุ อาการ การรักษา

06.01
1739
0

อาการปวดกราม (Jaw Pain) ในบางครั้งอาจกระจายอาการปวดร้าวไปทั่วบริเวณใบหน้าซึ่งเป็นอาการที่พบได้ตามปกติทั่วไป อาการอาจแย่กว่าเดิมได้หากมีการติดเชื้อไซนัสร่วมด้วย การปวดฟันหรือมีปัญหาเกี่ยวกับ เส้นเลือดหรือเส้นประสาท หรือร่วมกับโรคอื่นๆ 

อาการปวดกรามมีหลายประเภท เป็นผลมาจากภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หลายรายที่พบเจออาการปวดกรามไม่จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที แต่ในบางกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องพบแพทย์

ในรายที่อาการรุนแรง ปวดอย่างหนักเกินกว่าที่จะทนไหวควรไปพบแพทย์

ในบทความนี้จะได้พบกับสาเหตุที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดกราม รวมไปถึงทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสม

อาการปวดกราม

อาการหลักและอาการร่วมของภาวะปวดกรามและใบหน้ามีมากมายหลายรูปแบบขึ้นอยู่สาเหตุ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • อาการปวดใบหน้ามากขึ้นเมื่อขยับกราม
  • ข้อและกล้ามเนื้อกดเจ็บ
  • เคลื่อนไหวขยับได้อย่างจำกัด
  • ตำแหน่งกรามมีปัญหา
  • มีเสียงคลิก เสียงกรุบกรับเวลาอ้าปากหุบปาก
  • มีเสียงวิ้งในหู
  • ปวดหู
  • ปวดศีรษะพร้อมอาการเจ็บหรือไม่เจ็บหูก็ได้ และรู้สึกเจ็บด้านหลังหู
  • ขากรรไกรค้าง
  • เกิดอาการปวดตั้งแต่ตื้อๆไปจนปวดแปลบ
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดฟัน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเส้นประสาท มีอาการร้อนผ่าว
  • มีไข้สูง
  • หน้าบวม

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดกราม ภาวะแทรกซ้อนนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยอื่นๆ เช่น

  • ภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรม
  • ภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัด
  • การติดเชื้อ
  • อาการปวดอย่างต่อเนื่อง
  • อารมณ์เครียด
  • ไม่อยากอาหารในระหว่างมีอาการปวดหรือกับการเคี้ยวและกลืนอาหาร

ปวดกรามเพราะอะไร

อาการปวดกรามอาจเกิดมาจากการบาดเจ็บทางร่างกาย  การเสียหายของเส้นประสาทหรือเส้นเลือด ภาวะการติดเชื้อและอีกสาเหตุอื่นๆอีกมากมาย

ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรเป็นกลุ่มอาการที่เป็นผลมาจากเรื่องของกระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของขากรรไกร เป็นสาเหตุของอาการปวดและความรู้สึกไม่สบายตัว

อาการปวดหรือเจ็บกรามมักเป็นอาการที่สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์หรือทำการรักษาใดๆ

อาการปวดกรามมีหลายอาการแต่ทั่วไปจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวดขากรรไกรหรือที่บริเวณใบหน้า
  • ขากรรไกรค้าง
  • มีเสียงคลิก เสียงเปาะหรือเสียงกรุบกรับ
  • เกิดอาการกัดฟัน
  • ไม่สามารถเคี้ยวหรืออ้าปากได้
  • รู้สึกร้อนผ่าวในปาก
  • เสียวฟัน

ข้อมูลด้านล่างเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการปวดกรามได้เช่นกัน

การบาดเจ็บ

อาการปวดกรามอาจเป็นผลมาจาก:

ขากรรไกรแตก: อาจเกิดจากการล้มหรือโดนกระแทกเข้าที่บริเวณใบหน้า

ขากรรไกรเคลื่อน: เกิดจากการอ้าปากที่กว้างเกินไปเช่นเวลาหาว

การผ่าตัดฟัน: เกิดอาการปวดกรามเพราะต้องอ้าปากเป็นเวลานานในการผ่าตัด

การบาดเจ็บหรืออาการตึงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด ส่งผลให้เกิดอาการปวดกรามด้วยเช่นกัน

การนอนกัดฟันหรือบดฟัน

หลายๆท่านมีอาการกัดฟันหรือบดฟันในขณะนอนหลับหรืออยู่ในอารมณ์เครียด ที่เราเรียกกันว่าอาการนอนกัดฟัน ส่งผลให้ฟันเสียหายและเกิดอาการปวดกราม

เรียนรู้เรื่องอาการนอนกัดฟันเพิ่มเติมได้ที่นี่

ปัญหาด้านสุขภาพฟัน

โรคเหงือกอักเสบ ช่องว่างระหว่างฟัน ฟันชำรุดเสียหายและฟันเป็นหนอง ทั้งหมดเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการปวดกรามเพิ่มขึ้นได้

ปวดประสาท

เป็นภาวะที่ร่างกายมีอาการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทเมื่อเส้นประสาทมีความเสียหายจึงส่งสัญญานความเจ็บปวดไปยังสมอง อาการนี้อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรืออาจเกิดเป็นบางครั้งบางคราว

ยกตัวอย่างโรคปวดประสาทอย่างเช่น โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า โรคงูสวัด และมะเร็งที่ส่งผลให้เกิดอาการปวด 

โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด

ในบางครั้งการมีปัญหาเกี่ยวกับระบบเส้นเลือดก็เป็นสาเหตุของอาการปวดกรามได้ ยกตัวอย่างเช่น โรคหลอดเลือดแดงเทมพอรัลอักเสบหรือภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่อักเสบ และอาการปวดเค้นในอก

โรคหลอดเลือดแดงเทมพอรัลอักเสบมักเกิดที่ศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง อาจเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ปวดศีรษะและอาการปวดกราม จัดว่าเป็นภาวะเสี่ยง

อาการปวดเค้นในอก เกิดขึ้นเมื่อหัวใจรับปริมาณออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ มีสาเหตุมาจากการอุดตันหรือหดเกร็งของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกพร้อมๆกับอาการปวดกราม คนที่มีอาการปวดเค้นในอกมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจวาย

โรคกระดูกอักเสบ

โรคกระดูกอักเสบเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก เป็นภาวะติดเชื้อที่ส่งผลต่อกระดูกขากรรไกรและเนื่อเยื่อ เป็นอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดฟันที่พบได้ไม่บ่อยนัก

การปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว

อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวเป็นผลมาจากความเครียด

สาเหตุจากโรคอื่นๆ

บางโรคอาจทำให้เกิดอาการกรามและใบหน้าปวดได้เช่น

  • โรคต่อมน้ำลาย
  • ภาวะเครียด เหนื่อยล้า และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่นโรคลูปัส
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
  • โรคไซนัสอักเสบ
  • หูติดเชื้อ
  • มีปัญหาทางด้านจิตใจบางอย่าง

การวินิจฉัย

ในการวินิจฉัยแพทย์จะทำการสอบถามอาการผู้ป่วยและตรวจร่างกาย อาจมีการตรวจเลือดหรือเอกซเรย์หรืออาจทั้งสองอย่าง

ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์

หรือหากพบว่าอาการปวดมาจากโรคอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แพทย์จะแนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางนั้นๆ

การรักษาอาการปวดกราม

การรักษาขึ้นอยู่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งมีมากมายดังต่อไปนี้

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อรักษาตามอาการเช่น

  • ยาปฏิชีวนะ หากตรวจแล้วพบว่าอาการเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • ยาบรรเทาอาการปวดแบบรับประทานหรือแบบสเปรย์
  • ฉีดสเตรียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบหรือการบวม
  • การรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อจากไวรัส เช่น งูสวัด

ในบางราย อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเอากระดูกที่เสียหายออกหรือแก้ไขขากรรไกรใหม่

ด้วยการบำบัดทางกาย เช่น:

  • ป้องกันการกระแทกของฟันเช่นยางกันกระแทกฟัน
  • ลองทำกายภาพบำบัด
  • บำบัดด้วยการผ่อนคลาย
  • ยืดเส้นเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่ยของกล้ามเนื้อ
  • ตรวจเช็คลักษณะการยืนท่าทาง เพื่อไม่ให้คอและหลังยึดเกร็ง

หรือด้วยการรักษาทางทันตกรรม เช่น:

  • รักษารากฟัน
  • การถอนฟัน
  • การบำบัดร้อนหรือเย็น

หรือด้วยการบำบัดทางเลือก:

  • รับประทานอาหารอ่อนๆเพื่อป้องกันไม่ให้กรามทำงานหนักเกินไป
  • การนวด
  • การฝังเข็ม

การป้องกัน

หากเคยมีอาการปวดกรามมาก่อน ให้ทำตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อช่วยป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ยืดระยะเวลาที่อาจกลับมาเป็นอีกครั้งออกไป

  • รับประทานอาหารนิ่มหรือเหลว เช่นซุบหรือพาสต้า
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ต้องเคี้ยวหรือบดขยี้เช่นหมากฝรั่ง
  • รับประทานอาหารคำเล็กๆ

การป้องกันระยะยาวเช่น:

  • ทำฟันเป็นประจำ
  • ลดความเครียดด้วยการบำบัด โยคะหรือการออกกำลังกายอื่น
  • นวดบริเวณกรามเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ใช้ยางกันกระแทกฟันเพื่อหยุดอาการการกัดฟันหรือบดฟัน
  • ยืนให้ถูกท่า และไม่ถือหรือสะพายกระเป๋าหนักบนบ่าเป็นเวลานาน

เมื่อไรควรต้องไปพบแพทย์

อาการปวดกรามไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ จะต้องไปก็ต่อเมื่อ:

  • การดูแลขั้นต้นที่บ้านไม่ได้ทำให้อาการปวดกรามดีขึ้น
  • อาการปวดกรามส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของกรามหรือฟัน
  • กรามมีเสียงดังคลิก กรุบกรับเวลาขยับ
  • มีอาการปวดที่ต้นคอหรือหลังส่วนบน
  • มีอาการปวดตา การมองเห็นเปลี่ยนไปหรือปวดศีรษะ
  • มีเสียงอื้อ เสียงวิ้งในหูร่วมกับอาการปวดกราม
  • มีปัญหาด้านทันตกรรมเช่นฟันแตกหัก
  • มีอาการบวมเป็นสัญญานของการติดเชื้อ
  • มีไข้สูง

บางรายควรปรึกษาหมอฟันหรือแพทย์เกี่ยวกับอาการปวดกรามเพื่อวินิจฉัยและหาทางรักษาอย่างเหมาะสมหากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *