ชะเอมเทศประโยชน์และข้อเสีย (Licorice Root’s Benefits and Downsides)

ชะเอมเทศประโยชน์และข้อเสีย (Licorice Root’s Benefits and Downsides)

02.11
1564
0

ชะเอมเทศ คือ สมุนไพรที่จัดว่าเป็นสมุนไพรที่เก่าแก่ที่สุดในโลกตัวหนึ่ง ชะเอมเทศได้มาจากรากของต้นชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra

ชะเอมเทศเป็นสมุนไพรดั้งเดิมอยู่ที่เอเชียตะวันตกและยุโรปใต้ เป็นสมุนไพรที่ได้นำมาใช้รักษาโรคหลายชนิดและเป็นลูกอมรสอร่อย เครื่องดื่มและยารักษาโรค

ชะเอมเทศมีประโยชน์อย่างไร 

การนำชะเอมเทศมาใช้เป็นยาต้องย้อนกลับไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ ในยุคนั้นชะเอมเทศถูกนำมาเป็นเครื่องดื่มรสหวานสำหรับกษัตริย์ฟาร์โรห์

ชะเอมเทศถูกนำมาใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง ลดการอักเสบและรักษาปัญหาระบบทางเดินหายใจส่วนบนในประเทศจีนตั้งแต่สมัยโบราณ รวมไปถึงในตะวันออกกลางและกรีก

การนำมาใช้ในยุคปัจจุบัน

ทุกวันนี้หลายๆคนได้นำเอาชะเอมเทศมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาอาการเจ็บป่วยเช่น อาการแสบร้อนกลางอก โรคกรดไหลย้อน อาการร้อนวูบวาบ ไอ และโรคติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย มีให้พบเห็นได้ในรูปแบบของอาหารเสริมทั้งชนิดแคปซูลและน้ำ 

ยิ่งกว่านั้น ชาชะเอมเทศยังสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ ในขณะที่เจลชนิดทาสามารถรักษาโรคผิวหนังเช่น สิวหรือโรคผื่นอักเสบ

ชะเอมเทศมีประโยชน์ในการปรุงแต่งรสให้กับอาหารและเครื่องดื่มบางชนิด

ที่น่าประหลาดใจกว่านั้น ลูกอมชะเอมเทศทั้งหลายที่มีรสชาติแสนอร่อยกลับไม่ได้ทำมาจากชะเอมเทศแต่กลับเป็นน้ำมันสัตตบุษย์ -น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากต้นสัตตบุษย์ที่มีรสชาติใกล้เคยงกับชะเอมเทศมาก 

ส่วนประกอบพืช

ในขณะที่ชะเอมเทศมีสารประกอบพืชนับร้อยเป็นส่วนประกอบ แต่ส่วนประกอบหลักๆของชะเอมเทศก็คือสารไกลเซอร์ไซริน

สารไกลเซอร์ไซริน เป็นสารที่มีส่วนทำให้รากชะเอมเทศมีรสหวาน รวมไปถึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและมีคุณสมบัติต้านจุลินทรีย์

แต่อย่างไรก็ตาม สารไกลเซอร์ไรซีนมีส่วนเกี่ยวกับผลข้างเคียงของชะเอมเทศ ผลที่ได้นั้นทำให้ผลิตภัณฑ์บางตัวที่ใช้สารสกัดจากชะเอมนั้นมีการนำเอาสารไกลเซอร์ไรซินออกไป

ประโยชน์จากชะเอมเทศ

ช่วยเรื่องโรคผิวหนัง

ชะเอมเทศมีสารประกอบมากกว่า 300 ชนิด บางชนิดมีผลต้านการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์และส่งผลต้านไวรัส

โดยเฉพาะ จากการทดลองในสัตว์และในหลอดทดลองพบว่าสารไกลเซอร์ไรซีนสามารถต้านการอักเสบและต้านจุลินทรีย์

สารสกัดชะเอมเทศใช้เพื่อรักษาโรคผิวหนังหลายชนิด ซึ่งรวมไปถึงสิวและโรคผื่นผิวหนัง

จากการศึกษาผู้ใหญ่จำนวน 60 คนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ การทาเจลที่เป็นสารสกัดจากชะเอมเทศสามารถช่วยทำให้โรคผื่นผิวหนังดีขึ้น

ชะเอมเทศที่ไว้ทาเฉพาะที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาสิว จากการวิจัยพบว่าสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ผสมร่วมกับอย่างอื่นและไม่มีข้อจำกัด

อาจช่วยลดกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย

สารสกัดชะเอมเทศมักถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยเช่น กรดไหลย้อน ปวดท้องและแสบร้อนกลางหน้าอก

จากการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องอาหารไม่ย่อยจำนวน 50 คนเป็นเวลา 30 วัน โดยให้รับประทานชะเอมเทศชนิดแคปซูลปริมาณ 75 มก. วันละ 2 ครั้งส่งผลให้อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับคนในกลุ่มที่ทายาหลอก

สารสกัดชะเอมเทศอาจช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนซึ่งรวมไปถึงอาการแสบร้อนกลางอก

จากการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีภาวะกรดไหลย้อนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ปริมาณกรดกลีเซอริทินิกต่ำร่วมกับการรักษามาตราฐานส่งผลให้อาการดีขึ้น 

อาจช่วยรักษาโรคแผลในทางเดินอาหาร

โรคแผลในทางเดินอาหารจะเกิดอาการปวดท้องที่กระเพาะอาหาร หลอดอาหารส่วนล่างหรือลำไส้เล็ก ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการอักเสบที่เป็นผลมาจากเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร

สารสกัดชะเอมเทศและไกลเซอร์ไรซินอาจช่วยรักษาโรคแผลในทางเดินอาหาร

จากการศึกษาในหนูพบว่าสารสกัดชะเอมเทศ 91 มก.ต่อ 453 กรัม (200 มก.ต่อหนึ่งกิโล) จะช่วยปกป้องการเกิดแผลเป็นได้ดีกว่ายาโอเมพราโซล ซึ่งมักนำมาใช้เป็นยารักษาโรคแผลในทางเดินอาหาร

จากการศึกษาผู้ใหญ่จำนวน 120 รายเป็นเวลาสองสัปดาห์พบว่าการบริโภคสารสกัดชะเอมเทศส่งผลช่วยในลดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร

Licorice Root's Benefits and Downsides

มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง

เพราะสารประกอบพืชที่มีมากมายในชะเอมเทศเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและส่งผลต้านการอักเสบ สารสกัดชะเอมเทศยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้

สารสกัดชะเอมเทศมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องทำให้เซลล์โรคมะเร็งผิวหนัง หน้าอก ลำไส้ใหญ่และมะเร็งต่อมลูกหมากเจริญเติบโตช้าลงกับการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

ยิ่งกว่านั้นสารสกัดชะเอมเทศอาจช่วยรักษาภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ -คืออาการเจ็บปากอย่างรุนแรงที่เป็นผลข้างเคียงของคนเป็นโรคมะเร็งที่บางครั้งอาจเกิดขึ้นจากการทำคีโมบำบัดหรือการฉายแสง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมาก

ช่วยบรรเทาภาวะเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจส่วนบน

เพราะชะเอมเทศช่วยต้านการอักเสบและส่งผลต้านจุลินทรีย์ ทั้งสารสกัดชะเอมเทศและชาชะเอมเทศทั้งสองตัวนี้จึงอาจช่วยเรื่องระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้

จากการศึกษาพบว่าสารไกลเซอร์ไรซินสกัดที่ได้จากชะเอมเทศจะช่วยบรรเทาอาการหอบหืด โดยเฉพาะเมื่อถูกนำไปเสริมในการรักษาหอบหืด

ชาชะเอมเทศและสารสกัดอาจช่วยต้อต้านคออักเสบและป้องกันคอเจ็บหลังการผ่าตัด 

ช่วยป้องกันฟันผุ

ชะเอมเทศอาจช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุของฟันผุ

จากการศึกษาเด็กก่อนวัยเข้าเรียนจำนวน 66 คนเป็นเวลา 3 สัปดาห์โดยให้ทานอมยิ้มปราศจากน้ำตาลที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ 15 มก. วันละ 2 ครั้ง พบว่าการบริโภคอมยิ้มช่วยลดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฟันผุได้

ประโยชน์อื่นๆ

สารสกัดชะเอมเทศมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายเช่น:

  • ช่วยโรคเบาหวาน จากการศึกษาในหนูเป็นเวลา 60 วัน การได้รับสารสกัดชะเอมเทศเป็นประจำทุกวันส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดและสุขภาพไตดีขึ้น 
  • ลดอาการในสตรีวัยทอง สารสกัดชะเอมเทศช่วยรักษาอาการร้อนวูบวาบในช่วงระหว่างหมดประจำเดือนได้ 
  • ช่วยในการลดน้ำหนัก จากการศึกษาพบว่าสารสกัดชะเอมเทศช่วยลดค่าดัชนีมวลกายลงได้และช่วยทำให้น้ำหนักลด 
  • ช่วยรักษาโรคตับอักเสบซี จากการศึกษาพบว่าการนำเติมไกลเซอร์ไรซินเข้าไปในการรักษาตับอักเสบซีมาตราฐานช่วยลดการแพร่กระจายของไวรัสอย่างเห็นได้ชัด 

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง

องค์การอาหารและยาจัดให้ชะเอมเทศมีความปลอดภัยในการนำมาใช้ในอาหาร

การใช้อาหารเสริมชะเอมเทศและชาในระยะสั้นถือว่ามีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามการใช้ในปริมาณสูงก็อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงได้ และคนที่มีโรคประจำตัวบางชนิดควรหลีกเลี่ยง

การใช้ชะเอมเทศเกินขนาด

การใช้ผลิตภัณฑ์ชะเอมเทศทั้งแบบเรื้อรังและปริมาณมากอาจทำให้ไกลเซอร์ไรซินสะสมอยู่ในร่างกาย

การมีระดับไกลเซอร์ไรซินสูงเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนคอร์ติซอที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้ของเหลวในร่างกายและระดับอิเล็กโทรไรด์เกิดความไม่สมดุล

ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชะเอมเทศยาวนานหรือปริมาณมากอาจไปกระตุ้นอาการอันตรายได้หลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึง:

  • ระดับโปแตสเซียมต่ำ
  • ความดันโลหิตสูง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแอ
  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ

แม้จะพบได้ยากแต่ก็เคยได้พบว่ามีภาวะชะเอมเทศเป็นพิษเกิดขึ้น ส่งผลทำให้ไตวาย หัวใจล้มเหลวแต่กำเนิด หรือเกิดของเหลวสะสมในปอดมากเกินไป (น้ำท่วมปอด) 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะไตวาย

การเกิดปฏิกิริยาต่อยา

ชะเอมเทศมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดซึ่งรวมไปถึง:

  • ยาความดันเลือด
  • ยาเจือจางเลือด
  • ยาลดคอเรสเตอรอล ซึ่งรวมไปถึงยาสแตติน
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ
  • ยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์

ปริมาณและรูปแบบของชะเอมเทศ

ในรูปของอาหารเสริม สารสกัดชะเอมเทศมีมากมายหลายรูปแบบซึ่งรวมไปถึงชนิดแคปซูล ผง สารสกัด เจลเฉพาะที่และชา  ตัวรากชะเอมเทศเองนั้นสามารถหาซื้อได้ทั้งแบบสดหรือแห้ง

ยังไม่มีปริมาณมาตราฐานที่แน่ชัด ทางองค์การอนามัยโลกและคณะกรรมการอาหารของยุโรป ได้ออกแนะนำให้บริโภคไกลเซอร์ไรซีนได้แต่ต้องไม่เกิน 100 มก

ผลิตภัณฑ์หลายตัวมักไม่บอกว่ามีสารไกลเซอร์ไรซีนเป็นส่วนประกอบ จึงยากที่ระบุเรื่องของความปลอดภัยได้ สิ่งสำคัญในเรื่องนี้คือการไปปรึกษาแพทย์  .

บทสรุป

ชะเอมเทศถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยมานานหลายพันปีก่อน ซึ่งรวมไปถึงโรคระบบทางเดินหายใจและโรคทางเดินอาหาร

ส่วนประกอบของพืชชนิดนี้คือสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและส่งผลต้านจุลินทรีย์ ทำให้ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน โรคผื่นผิวหนัง โรคแผลในกระเพาะอาหารและปัญหาสุขภาพอื่นๆ

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *