โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

22.03
4075
0

ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) หรือ scarlatina เป็นความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับผื่นสีชมพูขแดง ที่มีลักษณะเฉพาะ

ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็ก บางครั้งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ที่ผ่านมาโรคนี้เป็นโรคร้ายแรงในวัยเด็ก แต่ยาปฏิชีวนะสมัยใหม่ทำให้โรคนี้กลายเป็นโรคที่หายากและมีการอุบัติขึ้นน้อยลง

อย่างไรก็ตาม คงยังมีการระบาดใหญ่ๆ ที่มีนัยสำคัญให้เห็นเป็นครั้งคราว

เด็กอายุ 5 – 15 ปี มีความเสี่ยงต่อการเป็นไข้อีดำอีแดงมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ และประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของคนที่เป็นโรคนี้ เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี

ภาพรวม

ไข้อีดำอีแดงเกิดจากสารพิษที่แบคทีเรีย Streptococcus pyogenes (S. pyogenes)ปล่อยออกมาจาก  ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคคออักเสบ

ผู้ป่วยส่วนน้อยที่ติดเชื้อ Strep เช่น คออักเสบ หรือโรคแผลพุพอง จะมีพัฒนาการของโรคไปเป็นไข้อีดำอีแดง

คำว่า scarlatina ถูกใช้แทนกันได้กับไข้อีดำอีแดง แต่ scarlatina มักหมายถึงรูปแบบที่เฉียบพลันน้อยกว่า

อาการไข้อีดำอีแดง

โดยทั่วไปจะปรากฏสัญญาณและอาการของโรคให้เห็นในช่วงประมาณ 1 – 4 วัน หลังการติดเชื้อครั้งแรก อาการเบื้องต้นของไข้อีดำอีแดงมักเป็นดังนี้

  • ตัวแดง เจ็บคอ บางครั้งจะพบสีขาวหรือเหลืองเป็นหย่อมๆ ตามตัว

  • มีไข้สูงประมาณ38.3 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่านั้น ส่วนใหญ่จะมีอาการหนาวสั่น

หลังจากมีอาการตามที่กล่าวไว้แล้ว ประมาณ 12-48 ชั่วโมง จะมีผื่นเกิดขึ้นตามตัว

จากนั้น จ้ำแดงๆ จะปรากฏบนผิวหนัง และจะกลายเป็นผื่นสีชมพูอมแดงทำให้ดูเหมือนผิวไหม้ เมื่อสัมผัสจะรู้สึกหยาบเหมือนกระดาษทราย

ผื่นจะกระจายไปที่หู คอ ข้อศอก ต้นขาด้านในและขาหนีบ หน้าอก และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

โดยปกติแล้วจะไม่ปรากฏผื่นบนใบหน้า แต่แก้มของผู้ป่วยจะแดงและบริเวณรอบปากจะซีด

หากใช้แก้วกดลงบนผิวหนัง ผื่นจะเปลี่ยนเป็นสีขาว

หลังจากผ่านไปประมาณ 6 วันผื่นมักจะจางลง ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง การมีผื่นอาจเป็นอาการเดียวที่พบ

อาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น

  • กลืนลำบาก

  • รู้สึกไม่สบาย

  • ปวดศีรษะ 

  • คัน

  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดท้อง

  • หลอดเลือดในรอยพับของร่างกายแตก เช่น รักแร้ ขาหนีบ ข้อศอก หัวเข่า และคอหรือที่เรียกว่าเส้นพาสเทีย  (Pastia’s lines)

  • ต่อมคอหรือต่อมน้ำเหลืองบวม สัมผัสดูจะรู้สึกนุ่มๆ

  • ลิ้นมีเคลือบสีขาวและลอกออก ทำให้ลิ้นมีสีแดงและบวม เกิดภาวะ “ลิ้นสตรอเบอรี่” (strawberry” tongue)

หากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาเจียน หรือท้องร่วง แพทย์จะทำการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ เช่น อาการช็อกจากพิษ (TSS)

ผิวหนังของมือและเท้าจะลอกนานถึง 6 สัปดาห์หลังจากที่ผื่นหายไป

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในระยะเริ่มต้นสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

สาเหตุของไข้อีดำอีแดง

ไข้อีดำอีแดงเกิดจากแบคทีเรีย S. pyogenes หรือกลุ่ม A beta-hemolytic Streptococcus ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดคออักเสบ

เมื่อแบคทีเรียปล่อยสารพิษอาการไข้อีดำอีแดงก็จะเกิดขึ้น

โรคมีการแพร่กระจายได้อย่างไร

ไข้อีดำอีแดงส่งผ่านของเหลวจากปากและจมูก เมื่อคนที่เป็นไข้อีดำอีแดงไอหรือจามแบคทีเรียจะถูกส่งผ่านโดยละอองฝอยที่ออกมาจากการไอหรือจาม แล้วลอยอยู่ในอากาศ

คนอื่นๆ จะได้รับเชื้อโดยการสูดดมละอองฝอยเหล่านี้ หรือโดยการสัมผัสกับสิ่งที่ละอองฝอยเหล่านั้นตกลงไป เช่น มือจับประตู เป็นต้น จากนั้นคือการเอามือมาสัมผัสจมูกและปากของตนเอง

โรคไข้อีดำอีแดงสามารถแพร่เชื้อด้วยสัมผัสผิวหนังของผู้ที่ติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสได้เช่นกัน การใช้ผ้าขนหนูอาบน้ำ เสื้อผ้า หรือผ้าปูที่นอนร่วมกับผู้ติดเชื้อจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

ผู้ที่มีไข้ผื่นแดงที่ไม่ได้รับการรักษา อาจแพร่เชื้อให้กับคนอื่นได้นานหลายสัปดาห์แม้ว่าอาการจะหายไปแล้วก็ตาม

เฉพาะผู้ที่ตอบสนองต่อสารพิษเท่านั้นที่จะแสดงอาการของโรคออกมาให้เห็น ส่วนในผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อสารพิษ จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่สามารถเป็นพาหะนำโรคและส่งต่อได้

ทำให้ยากที่บางคนที่เป็นโรคนี้จะรู้ตัวว่าตัวเองกำลังแพร่เชื้ออยู่

การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัส หรือกินอาหารที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นม ได้น้อยมาก

แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นในกลุ่มผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด เช่น ที่โรงเรียน บ้านหรือที่ทำงาน.

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถวินิจฉัยไข้อีดำอีแดงได้โดยวิเคราะห์จากสิ่งที่เห็นและอาการแสดงให้เห็น

ไม้ป้ายลำคอ อาจเป็นตัวช่วยให้แพทย์ตรวจหาแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งบางครั้งแพทย์อาจต้องสั่งให้ตรวจเลือดเพื่อประกอบการวินิจฉัยด้วย

การรักษาไข้อีดำอีแดง

ไข้อีดำอีแดงที่อาการไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะหายได้เองภายในหนึ่งสัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษา

อย่างไรก็ตามการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยเร่งการฟื้นตัวและลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

การรักษาโดยปกติจะใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน 10 วัน ซึ่งมักเป็น เพนิซิลลิน

ไข้มักจะหายไปภายใน 12 – 24 ชั่วโมงหลังจากกินยาปฏิชีวนะครั้งแรก และผู้ป่วยจะหายเป็นปกติภายใน 4 – 5 วัน หลังจากเริ่มรักษา

ผู้ป่วยที่แพ้เพนิซิลลินอาจใช้ยา erythromycin หรือยาปฏิชีวนะชนิดอื่นแทนได้

สิ่งสำคัญคือจะต้องกินยาปฏิชีวนะให้ครบตามปริมาณที่กำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปก่อนที่ยาจะหมดก็ตาม ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการกำจัดการติดเชื้อและลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติจากโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (post-strep disorder)

หากผู้ป่วยไม่รู้สึกดีขึ้นภายใน 24 – 48 ชั่วโมง หลังจากเริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะควรไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยจะไม่แพร่เชื้ออีกต่อไป อย่างไรก็ตามควรอพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน และควรกินยาปฏิชีวนะให้ครบตามปริมาณที่กำหนด

การรักษาตัวที่บ้าน

ในขณะที่ทำการติดตามผลการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยังมีแนวทางการรักษาอื่น ๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้อีก

การดื่มน้ำมากๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยไม่มีความอยากอาหาร และควรรักษาสภาพแวดล้อมให้เย็นอยู่เสมอ

หากมีอาการปวดเมื่อยหรือเป็นไข้ การกินยาไทลินอลหรืออะเซตามิโนเฟนอาจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและลดไข้ได้

โลชั่นคาลาไมน์จะช่วยลดอาการคันได้

Scarlet Fever

ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่จะไม่พบภาวะแทรกซ้อน แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • การติดเชื้อในหู รวมถึงหูชั้นกลางอักเสบ
  • ปอดบวม
  • ฝีในลำคอ
  • ไซนัสอักเสบ
  • การอักเสบของไตเนื่องจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อ strep bacteria และในระยะยาวอาจเป็นโรคไตได้
  • ไข้รูมาติก
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง

อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้เกิดขึ้นได้ แต่น้อยมาก

  • ไตวายเฉียบพลัน

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง

  • โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือโรคเนื้อเน่า (necrotizing fasciitis) ซึ่งเป็นโรคกินเนื้อที่ร้ายแรง

  • โรคกลุ่มอาการท็อกสิกช็อค (TSS)

  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ คือ การติดเชื้อที่เยื่อบุชั้นในของหัวใจ

  • การติดเชื้อของกระดูกและไขกระดูกหรือที่เรียกว่า osteomyelitis

ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งของการเกิดโรคที่เกิดจากการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส (PANDAS)  เรียกว่า ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนวัติในเด็กอายุ 3-14 ปี

งานวิจัยบางชิ้นระบุว่าการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรป อาจเป็นตัวกระตุ้นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเองซึ่งเป็นโรคของความผิดปกติในวัยเด็กให้มีอาการรุนแรงขึ้น

รวมไปถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) กลุ่มอาการทรูเร็ตต์ (Tourette syndrome) และโรคสมาธิสั้น (ADHD)

โดยทั่วไป อาการต่างๆ เหล่านี้จะหายไปหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ หรือหลายเดือน

การป้องกัน

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่กระจายของไข้อีดำอีแดงและโรคติดเชื้ออื่น ๆ ได้แก่

  • การแยกตัวจากผู้อื่น หรืออยู่ห่างจากผู้อื่น รวมถึงการไม่ไปโรงเรียนด้วย

  • ซักหรือทิ้งผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วทันที และล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่

  • ล้างมือให้ถูกวิธีและบ่อยครั้งด้วยน้ำอุ่นและสบู่

  • ไม่ใช้แก้วน้ำหรือช้อนส้อมร่วมกัน

  • ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม โดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือยกศอกปิดปากเวลาไอหรือจาม

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้อีดำอีแดง

นี่คือประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับไข้ผื่นแดง โดยรายละเอียดเพิ่มเติมจะอยู่ในบทความหลัก

  • ไข้ผื่นแดงพบได้น้อยกว่าในอดีต แต่ยังคงมีการระบาดอยู่

  • แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคคออักเสบ เป็นสาเหตุของไข้อีดำอีแดงด้วย

  • สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

  • อาการเบื้องต้น คือ มีผื่น เจ็บคอ และมีไข้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *