ภาวะหลอดเลือดสมองขนาดเล็ก หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว Transient ischemic attack (TIA) เกิดขึ้นเมื่อเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ชั่วคราว
มีเหตุการณ์หรือโรคหลายอย่างที่อาจเป็นสามารถทำให้สมองขาดออกซิเจน อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวมีความคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมอง แตกต่างตรงที่มักเกิดขึ้นไม่นานเท่าไร
เพราะอาการที่จางหายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากแพทย์ แต่อย่างไรก็ตามก็พบว่ามีผู้ป่วยภาวะTIA ราว 10-15 เปอร์เซ็นต์ต้องประสบกับโรคหลอดเลือดสมองเต็มรูปแบบภายใน 3 เดือน สิ่งนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรจดจำสัญญานของภาวะ TIA ไว้ให้ดีและการไปพบแพทย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
การประเมินแบบฉับไวและการรักษาผู้ป่วยที่เคยมีอาการโรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็ก ทั้งสองอย่างนี้จะรวมกันอยู่ในคลีนิค TIA หรือในห้องฉุกเฉิน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่ตามมาภายหลัง
โรค (TIA) คืออะไร
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) คือภาวะที่มีความเหมือนกับโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากมีอาการคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ภาวะ (TIA) จะเกิดอาการขึ้นเพียงแค่สองสามนาทีเท่านั้น และมักไม่มำให้สมองเกิดความมเสียหายอย่างถาวร ซึ่งทำให้ในบางครั้งถึงเรียกภาวะนี้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็ก
สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อออกซิเจนไม่เลี้ยงสมองไม่เพียงพอ มักเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดลิ่มเลือดหลงเหลืออยู่เพียงชั่วขณะ
เมื่อลิ่มเลือดนั้นสลายหรือเคลื่อนต่อไปได้ อาการก็จะบรรเทาลง
สาเหตุของโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะ TIA เกิดขึ้นเมื่อออกซิเจนที่มาเลี้ยงสมองถูกขัดขวาง
เลือดที่มาเลี้ยงถูกหยุดชะงัก
เส้นเลือดหลักๆ 2 เส้นที่เรียกว่า หลอดเลือดคาโรติดที่ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง หลอดเลือดนี้จะแตกแขนงไปเป็นเส้นเลือดย่อยๆมากมาย ภาวะ TIA จะเกิดขึ้นหากหนึ่งในเส้นเลือดย่อยๆนี้ถูกอุดตันหรือถูกกีดกันไม่ให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
โรคหลอดเลือดแดงแข็งมีาสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบแคบ เนื่องจากสารไขมันไปสะสมอยู่ที่เนื้อเยื่อชั้นในของหลอดเลือด และทำให้มันเริ่มแข็งตัว, หนาและขาดความยืดหยุ่น ซึ่งยิ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายเป็นไปได้ยาก
ลิ่มเลือด
ลิ่มเลือดสามารถทำให้ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองหยุดชะงักได้ ลิ่มเลือดมักเกิดมาจาก:
- โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ, เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
- ปัญหาเกี่ยวกับเลือด ที่รวมไปถึงโรคลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) และโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
- การติดเชื้อ
ลิ่มเลือดขนาดเล็กคือ ลิ่มเลือดที่มาจากส่วนหนึ่งของร่างกายที่เริ่มหลุดออกมาและเดินทางเข้าไปในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ลิ่มเลือดนี้สามารถทำให้เกิดภาวะ (TIA) ได้
การตกเลือด (การมีเลือดออกภายใน)
ภาวะเลือดออกในสมองน้อย (จำนวนเลือดที่ออกในสมองในปริมาณเล็กน้อย) สามารถก่อให้เกิดภาวะ TIA ได้ แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
อาการต่างๆ
คนที่ประสบกับภาวะ (TIA) มักมีอาการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าส่งผลกับส่วนใดของสมอง
สัญญานและอาการต่างๆของภาวะ (TIA) คือแสดงเห็นจากตัวอักษรย่อ (FAST) (Face, Arms, Speech, Time):
- ใบหน้า คือใบหน้าอาจตกลงมาข้างหนึ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเป็นอัมพาต ดวงตาหรือปากอาจห้อยลง และไม่สามารถยิ้มได้
- แขน คือแขนขาอ่อนแรงหรือชา ซึ่งทำให้ยากที่จะยกแขนขาใดขาหนึ่งขึ้นหรือทั้งสองข้าง
- พูด การพูดอาจพูดไม่เป็นคำ อ้อแอ้และไม่สามารถเข้าใจได้
- เวลา หากแม้ว่าพบเพียงแค่หนึ่งอาการข้างต้น ควรรีบโทรเรียกฉุกเฉินในทันที
เมื่อสามารถระบุสัญญานและอาการของตัวแทน (FAST) แล้ว คือถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆหากคุณอาศํยอยู่กับคนที่มีความเสี่ยง เช่น คนสูงอายุ หรือคนที่มีระดับความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน (FAST) คือตัวย้ำเตือนว่าหากได้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสในการกลับมาฟื้นตัวได้ดีมากเท่านั้น
สัญญานและอาการอื่นๆของภาวะ (TIA) คือ:
- มึนงง
- มีปัญหาในการพูด
- มีความยุ่งยากในการทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- มีปัญหาการกลืน
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- เป็นอัมพาต,เหน็บชา, หรืออ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
- ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจหมดสติ
หากพบสัญญานและมีอาการต่างๆดังที่กล่าวไว้หรือหากพบเจอใครที่มีอาการ ควรรีบพบแพทย์ทันที อาการของภาวะ TIA เป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและควรหายไปภายใน 24 ชั่วโมง อาการจะอยู่ไม่เกิน 2-15 นาที
โรคที่เลียนแบบภาวะ TIA คือโรคอะไรได้บ้าง?
ต้องยอมรับว่าภาวะ (TIA) นั้นสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะเมื่อโรคอื่นๆนั้นมามีอาการและส่งผลต่อร่างกายที่เหมือนกัน เช่น
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ไมเกรน
- อาการชัก
แนวทางในการตัดโรคอื่นๆออกคือหากมีภาวะ (TIA) ตามปกติแล้วนั้นอาการที่เกิดมักส่งผลกระทบอย่างหนักกับร่างกายเพียงส่วนเดียว เช่นส่งผลต่อความรู้สึกและการเคลื่อนไหวในแขนขาหรือการมองเพียงข้างเดียว ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการอุดตันในเส้นเลือดเส้นเดียว แต่กับโรคอื่นๆที่เหมือนภาวะ (TIA) จะเกิดอาการทางระบบประสาทไปทั่วร่างกาย เช่น ความรู้สึกซ่าหรือหน้ามืด
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ภาวะ TIA พัฒนาโรคต่อสู่โรดหลอดเลือดสมองเต็มรูปแบบ จึงจำเป็นต้องตรวจเช็คทุกๆอาการของภาวะ
ปัจจับความเสี่ยง
ปัจจัยความเสี่ยงของภาวะ (TIA) บางอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ บางอย่างก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้
ปัจจัยความเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่น:
- ประวัติครอบครัว: คนที่มีญาติใกล้ชิดเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะ (TIA)
- อายุ: คนที่มีอายุเกินกว่า 55 ปีขึ้นไปเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ (TIA) ทั้งสิ้น
- เพศ: เพศชายมีโอการเสี่ยงเป็นภาวะนี้ได้สูงกว่าเล็กน้อย
- ชาติพันธุ์: คนเชื้อชาติคนผิวดำแอฟริกันมีความเสี่ยงสูงกว่าคนเชื้อชาติอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้:
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: คนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะ TIA ซึ่งรวมไปถึงความผิดปกติของหัวใจ, หัวใจล้มเหลว, หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- โรคหลอดเลือดแดงคาโรติด: เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดบริเวณคอที่นำเลือดไปสู่สมองมีการอุดตัน
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (PAD): คือภาวะที่หลอดเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงแขนและขาเกิดการอุดตัน
- การสูบบุหรี่: คนที่สูบบุหรี่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและปัญหาอีกมากมาย ซึ่งรวมไปถึงภาวะ (TIA) และโรคหลอดเลือดสมอง
- รูปแบบการใช้ชีวิตเนือยนิ่ง: คนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางร่างกายจะมีความเสี่ยงสูง
- โรคเบาหวาน: คนที่เป็นโรคเบาหวานคือคนที่มีแนวโน้มว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (ภาวะหลอดเลือดแคบเนื่องจากสารไขมันสะสมอุดตัน)
- พฤติกรรมการบริโภคที่แย่: คนที่บริโภคอาหารไขมันเลวหรือเกลือมากเกินไปมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและภาวะ (TIA)
- ระดับคอลเลสเตอรอลในเลือด: หากมีระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดสูงจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ (TIA) หรือโรคหลอดเลือดสมอง
- ระดับโฮโมซิสเตอีนสูง: โฮโมซิสเตอีนคือกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นในร่างกายเมื่อมีการบริโภคอาหารประเภทเนื้อ เมื่อมีระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดมีความหนาขึ้นและมีแผลเป็น ซึ่งยิ่งทำให้ง่ายต่อการอุดตันมากขึ้น
- น้ำหนักตัว: คนที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ (TIA) หรือ โรคหลอดเลือดสมอง
- แอลกอฮอล์: คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำมีความเสี่ยงสูง
- ยาเสพติด: คนที่ใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือ (TIA) ได้หากมีการใช้ยาบ่อย
การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่มำให้เกิดภาวะ TIA แพทย์อาจสั่งยาเพื่อไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด หรืออาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดหรือการทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ
ยารักษาภาวะ (TIA)
รูปแบบยาที่สั่งจ่ายจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิด (TIA) และความรุนแรงของโรค รวมถึงว่าโรคนี้ส่งผลกระทบต่อส่วนใดของสมอง
ยาต้านเกล็ดเลือด: ยาจะทำให้เกล็ดเลือดในเลือดไม่เกาะกลุ่มกันและเป็นลิ่ม ซึ่งสามารถไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือดเช่น:
ยาแอสไพรินและยาไดไพริดาโมล: แพทย์บางท่านอาจสั่งยาแอกกรีน็อก ซึ่งเป็นยาที่รวมยาแอสไพรินและยาไดไพริดาโมลไว้ด้วยกัน แพทย์บางท่านอาจสั่งยาทิโคลพิดีน (Ticlid)
ผลข้างเคียงของยาแอสไพรินคือ:
- อาหารไม่ย่อย
- คลื่นไส้
- มีเสียงในหู
- กระเพาะอาหารเกิดอาการระคายเคืองและมีเลือดออก
ผลข้างเคียงของยาไดไพริดาโมลคือ:
ยาโคลพิโดเกรล: หากยาแอสไพรินมีผลข้างเคียงที่รุนแรง, หรือมีการใช้ยาเพื่อรักษาโรคหัวใจ แพทย์อาจสั่งยาโคลพิโดเกรล (Plavix) แทน
ผลข้างเคียงของยาโคลพิโดเกรลคือ:
- ปวดท้อง
- มีเลือดออก
- มีรอยฟกช้ำ
- ท้องเสีย
- อาหารไม่ย่อย
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด: ยาชนิดนี้มีไว้ใช้กับโรคอื่นๆอีกหลายโรค, ยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป,และยาสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น:
ยาวาร์ฟาริน (Coumadin) และยาเฮพาริน: ยาวาร์ฟารินสามารถใช้ได้ในระยะยาว ในขณะที่ยาเฮพารินใช้ในระยะสั้น
ผลข้างเคียงของยาวาร์ฟาริน: ผลข้างเคียงที่รุนแรงมากที่สุดของยาวาร์ฟารินคือการมีเลือดออก ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที:
ผลข้างเคียงอื่นๆเช่น:
- มีเลือดในปัสสาวะ
- มีเลือดในอุจจาระ (อาจเป็นจุดเลือดหรืออุจจาระเป็นสีดำ)
- มีรอยฟกช้ำที่รุนแรง
- มีเลือดกำเดาไหลนานกว่า 10 นาที
- อาเจียนเป็นเลือด
- ไอเป็นเลือด
- ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีเลือดออกจากช่องคลอด
- มีประจำเดือนเพิ่มขึ้นหรือมีเลือดออกมาก
ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง: มียารักษาความดันโลหิตมากมายหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นคนที่ไม่แข็งแรงและมีน้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสามารถลดลงได้โดยการลดน้ำหนัก, ออกกำลังกาย,และพักผ่อนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงทุกคืน และรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพให้มีความสมดุล
ยารักษาเรื่องคอเรสเตอรอล: ยาคอเรสเตอรอล เช่นเดียวกับโรคความดันโลหิตสูง การลดน้ำหนัก,การรับประทานอาหารที่ดีและสมดุล, ออกกำลังกายและการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงทุกคืนก็สามารถทำให้ระดับคอเรสเตอรอลกลับคืนสู่สภาวะปกติได้ บางครั้งการใช้ยาอาจมีความจำเป็นและบางรายแพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดไขมันในกลุ่ม statin ซึ่งนำมาใช้เพื่อช่วยลดคอเรสเตอรอล
การผ่าตัด
การผ่าตัดที่เรียกว่าการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอคือ การผ่านำเอาเนื้อเยื่อของหลอดเลือดแดงคาโรคติดส่วนที่เสียหายออกไป รวมถึงส่วนอุดตันที่สะสมในหลอดเลือดด้วย
การผ่าตัดนี้อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับคนที่หลอดเลือดมีการตีบตันจนเกือบหมด รวมถึงคนที่มีการตีบตันบางส่วนก็อาจไม่เหมาะสมในการผ่าตัดเพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองในระหว่างผ่าตัด
การวินิจฉัย
ทุกคนที่มีสัญญานและอาการของภาวะ (TIA) ควรพบแพทย์โดยด่วน เนื่องด้วยภาวะ (TIA) นั้นอยู่ไม่นานจึงอาจเป็นไปได้ว่าอาการอาจหายไปเสียก่อนที่จะไปพบแพทย์ได้ทั
แพทย์อาจมีความจำเป็นต้องตรวจระบบประสาท แม้อาการจะหายไปแล้วก็ตาม ซึ่งอาจตรวจเช็คเรื่องทักษะร่วมด้วย เช่นเรื่องความทรงจำและการให้ความร่วมมือ
ในขณะตรวจ แพทย์อาจซักถามคนไข้เกี่ยวกับอาการเช่น:
- เป็นครั้งล่าสุดนานเท่าไร?
- รู้สึกอย่างไร?
- อาการที่ส่งผลกระทบเป็นอย่างไรบ้าง?
คำตอบที่ได้จะช่วยให้แพทย์สามารถตัดโรคอื่นๆที่อาจมีอาการเหมือนกันออกไป
หากแพทย์เชื่อว่าผู้ป่วยมีภาวะของTIA แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์ด้านระบบประสาท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อระบุปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะ (TIA)
การตรวจมีดังต่อไปนี้:
- ตรวจเลือด: การตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับความดันเลือด, ระดับคอเรสเตอรอลและความสามารถในการแข็งตัว
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) :เป็นการบันทึกกระแสไฟฟ้าและจังหวะการเต้นของหัวใจ
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง: เป็นการสแกนด้วยอัลตราซาวน์เพื่อตรวจเช็คการบีบตัวของหัวใจ
- การเอกซเรย์ทรวงอก:เพื่อช่วยให้แพทย์ตัดโรคอื่นๆออกไปได้
- การทำซีทีสแกน: เป็นการสแกนสร้างภาพแบบสามมิติที่สามารถแสดงให้เห็นผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง, เลือดออก,หรือเส้นเลือดภายในสมองผิดปกติ
- การสแกนเอ็มอาร์ไอ: การสแกนเอ็มอาร์ไอจะทำให้เห็นภาพของสมองที่มีรายละเอียดมากกว่าซีทีสแกน และยังช่วยระบุส่วนที่เสียหายของสมองได้
- การอัลตราซาวน์:เพียงแค่โบกไม้เหนือหลอดเลือดแดงคาโรติดที่บริเวณคอก็สามารถสร้างภาพที่แสดงให้เห็นการตีบตันหรือการแข็งตัวได้แล้ว
การป้องกัน
วิธีต่อไปนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ (TIA) ,โรคหลอดเลือดสมอง,หรือการกลับมาเกิดซ้ำของภาวะ (TIA):
- การเลิกบุหรี่สามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง, (TIA), และโรคอื่นๆ
- รับประทานอาหารให้มีความสมดุล ด้วยการรับประทานผักและผลไม้มากๆ, โฮลเกรน, ปลา, เนื้อไก่,และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารขยะและอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันที่ไม่ดีเช่นกรดไขมันอิ่มตัวก็สามารถช่วยได้
- ลดปริมาณการบริโภคเกลือ (โซเดียม) คนที่มีแนวโน้มจะเป็นความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เต็มไปด้วยเกลือ และไม่ควรเติมเกลือใส่อาหารที่ทำหรือปรุงเอง
- ควรออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อย 30 นาที 5ครั้งต่อสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรลองปรึกษาแพทย์ก่อนการเริ่มต้นเข้าโปรแกรมการออกกำลังกาย
- ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลง อาจไม่ดื่มเลยหรืออาจดื่มในปริมาณที่จำกัดตามคำแนะนำ
- การลดน้ำหนักและการทำให้ตัวเองมีน้ำหนักลดลงสู่ระดับปกติจะช่วยลดความเสี่ยงได้
- การใช้ยาเสพติด เช่นโคเคน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและภาวะ (TIA)
- ควบคุมโรคเบาหวานด้วยการรับประทานยาที่มีความเหมาะสมและเคร่งครัดตามแผนการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและภาวะ (TIA)
- ควรนอนอย่างมีคุณภาพอย่างต่ำวันละ 7 ชั่วโมง และควรเข้านอนตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ (TIA)
- โรดหลอดเลือดขนาดเล็กเกิดขึ้นเมื่อเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกตัดขาดลงชั่วคราว
- มีชาวอเมริกันราว 500,000 รายมีภาวะโรคหลอดเลือดสมองในแต่ละปี ๆ
- การได้รับการรักษาแบบฉับไวคือสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
- เป้าหมายหลักของการรักษาภาวะ TIA คือการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกในอนาคต
- หนึ่งในยาที่นิยมนำมาใช้ในการป้องกันภาวะ TIA คือ ยาวาร์ฟาริน เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/transient-ischemic-attack/symptoms-causes/syc-20355679
- https://medlineplus.gov/transientischemicattack.html
- https://www.stroke.org/en/about-stroke/types-of-stroke/tia-transient-ischemic-attack
- https://www.healthline.com/health/stroke/signs-symptoms-tia-mini-stroke
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก