ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

05.05
895
0

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) คือการกลืนมีความผิดปกติ คือการต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติในการนำเอาอาหารจากช่องปากลงไปยังกระเพาะอาหาร

ภาวะกลืนลำบากมักมีสาเหตุมาจากระบบประสาทและกล้ามเนื้อมีปัญหา ภาวะกลืนลำบากสามารถสร้างความเจ็บปวดและปัญหาต่างๆตามมาในคนสูงอายุและเด็กแรกเกิด

ศัพท์ทางการแพทย์คำว่า “ภาวะกลืนลำบาก” มักมากจากการดูอาการหรือสัญญานต่างๆที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งในบางครั้งไว้ใช้อธิบายภาวะของตัวโรคเองด้วย สาเหตุของภาวะกลืนลำบากมีมากมายหลายสาเหตุ หากสิ่งนี้เกิดขึ้นเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้นอาจจะยังไม่ถือเป็นปัญหาที่รุนแรง แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์

เพราะการเกิดภาวะกลืนลำบากอาจมาได้จากหลายเหตุผล การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ

ในบทความนี้จะอธิบายถึงสาเหตุหลายรูปแบบของภาวะกลืนลำบากร่วมกับอาการ, การวินิจฉัย และการรักษาที่มีศักยภาพ

ภาวะกลืนลำบากคืออะไร 

โดยทั่วไปคำว่า “กลืน” นั้นจะรวมไปถึงกล้ามเนื้อและระบบประสาทที่แตกต่างกันหลายๆส่วน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนจนน่าแปลกใจ ภาวะกลืนลำบากสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดความยุ่งยากได้ทุกๆที่ในกระบวนการกลืน

ภาวะกลืนลำบากทั่วๆไปมี 3 แบบ:

ภาวะกลืนลำบากทางช่องปาก Oral dysphagia (high dysphagia) — คือปัญหาที่เกิดขึ้นในช่องปาก บางครั้งมีสาเหตุมาจากลิ้นอ่อนแรงหลังจากภาวะชัก การเคี้ยวอาหารมีปัญหาหรือมีปัญหาในการลำเลียงอาหารจากปาก

ภาวะกลืนลำบากจากความผิดปกติบริเวณคอหอย Pharyngeal dysphagia — คือปัญหาที่เกิดขึ้นในลำคอ บ่อยครั้งปัญหาเกิดขึ้นในคอมักมีสาเหตุมาจากปัญหาทางระบบประสาทที่ส่งผลกระทบต่อประสาท (เช่น โรคพาร์กินสัน  โรคหลอดเลือดสมอง  หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง)

ภาวะกลืนลำบากจากความผิดปกติบริเวณคอหอย Esophageal dysphagia (Low Dysphagia) — ปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณคอหอย มักเกิดจากการอุดตันหรือการระคายเคือง อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด

สิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้คืออาการเจ็บเมื่อกลืน (อาการกลืนเจ็บ) นั้นแตกต่างกับภาวะกลืนลำบาก แต่อาจเป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นพร้อมๆกันได้  และมีความรู้สึกว่ามีก้อนหรือแน่นในลำคอ

อาการของภาวะกลืนลำบาก

ผู้ป่วยบางรายมีภาวะกลืนลำบากแต่ไม่รู้ตัว- ในกรณีเช่นนี้อาจทำให้ไม่เคยผ่านการวินิจฉัยและไม่เคยได้รับการรักษา ทำให้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการสำลักเอาอาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ (ปอดติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้หลังจากเกิดอาการสำลักเอาน้ำลายหรืออาหารเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ) 

ภาวะกลืนลำบากที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจนำไปสู่ภาวะร่างกายขาดน้ำและภาวะทุพโภชนาการ

อาการที่เกิดเนื่องจากภาวะกลืนลำบากคือ:

  • ลำสักขณะรับประทาน
  • มีการไอหรือขย้อนออกมาเมื่อกำลังกลืน
  • น้ำลายไหล
  • อาหารหรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมาที่คอ
  • อาการแสบร้อนกลางอกกำเริบ
  • เสียงแหบ (Hoarseness)
  • มีความรู้สึกเหมือนมีอาหารติดอยู่ในคอหรือหน้าอก หรือบริเวณด้านหลังกระดูกหน้าอก
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาหารย้อนกลับ (ขย้อนอาหาร5ออกมา)
  • ควบคุมอาหารในปากได้ยาก
  • กระบวนการเคี้ยวเริ่มมีความยุ่งยาก
  • โรคปอดบวมกำเริบ
  • ไม่สามารถควบคุมน้ำลายในปากได้

Dysphagia

สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากคือ:

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง – คือเสื่อมของระบบประสาทที่เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ เมื่อเวลาผ่านไปเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังและสมองจะค่อยๆสูญเสียการทำงานไปอย่างช้าๆ 
  • โรคอะคาเลเซีย- เป็นความผิดปกติร้ายแรงของหลอดอาหาร เกิดจากหูรูดหลอดอาหารไม่คลายตัวขณะที่อาหารเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารสู่กระเพาะ
  • อาการกระตุกแบบกระจาย- กล้ามเนื้อในหลอดอาหารหดตัวไม่ประสานกัน
  • โรคหลอดเลือดสมอง- เซลล์สมองตายเนื่องจากการขาดออกซิเจนเพราะการไหลเวียนของเลือดลดน้อยลง หากเกิดที่เซลล์สมองบริเวณที่ส่วนที่ควบคุมการกลืน ก็เป็นสาเหตุของภาวะกลืนลำบากได้
  • แหวนหลอดอาหาร- ส่วนเล็กๆของหลอดอาหารตีบแคบ เป็นการขัดขวางไม่ให้อาหารแข็งสามารถผ่านไปได้ในบางครั้ง
  • โรคหลอดอาหารอักเสบจากเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิล – คือภาวะที่พบเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิล (เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง) ในเยื่อบุหลอดอาหารมากกว่าปกติ เม็ดเลือดขาวอีโอโนฟิลเหล่านี้จะเติบโตอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้และจู่โจมต่อระบบทางเดินอาหาร นำไปสู่อาการอาเจียนและมีการกลืนอาหารลำบาก
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง Multiple sclerosis – เป็นโรคของระบบประสาทที่ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกัน, ทำลายเยื่อไมอิลิน ซึ่งปกติแล้วมีหน้าที่ปกป้องเส้นประสาท 
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นพักๆ – เป็นโรคที่กล้ามเนื้อที่เราควบคุมได้เริ่มมีการอ่อนแรงและอ่อนแอ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทไม่ได้ติดต่อกับกล้ามเนื้อ เป็นโรคของภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง 
  • โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคพาร์กินสันเทียม- เป็นโรคที่ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ความผิดปกติทางระบบประสาทเสื่อมที่ค่อยๆเป็นซึ่งไปบั่นทอนทักษะด้านกล้ามเนื้อของผู้ป่วย
  • รังสี- ผู้ป่วยบางรายได้รับการบำบัดทางรังสีที่บริเวณคอและศีรษะก็อาจทำให้เกิดปัญหาการกลืนได้
  • โรคปากแหว่งเพดานโหว่– เป็นรูปแบบการพัฒนาผิดปกติของใบหน้าชนิดหนึ่งเนื่องจากการรวมตัวของกระดูกที่ศีรษะไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดช่องว่าง (รอยแหว่ง) ในเพดานปากและริมฝีปากเรื่อยไปถึงบริเวณจมูก
  • โรคหนังแข็ง– จัดอยู่ในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเองที่พบได้ยาก มีอาการโรคคือที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเริ่มรัดตึงและแข็ง 
  • โรคมะเร็งหลอดอาหาร– เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในหลอดอาหาร มักมีผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เกิดจากโรคกรดไหลย้อนหรือ
  • หลอดอาหารตีบ- เกิดเมื่อหลอดอาหารเริ่มตีบแคบมักมีผลมาจากโรคกรดไหลย้อน
  • ภาวะน้ำลายแห้ง (ปากแห้ง) – คือภาวะที่ต่อมน้ำลายไม่มีมากพอใช้ในการรักษาความชุ่มชื่นในปากได้

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะกลืนลำบาก

ความเสี่ยงในการเกิดอาการกลืนลำบากคือ:

อายุ- ผู้สูงอายุมีควมเสี่ยงมากกว่าวัยอื่นๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการสึกหรอตามธรรมขาติเมื่อเวลาล่วงผ่านไป อีกทั้งภาวะโรคที่เกิดตามวัยที่สูงขึ้นก็สามารถทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากได้ เช่นโรคพาร์กินสัน

โรคทางระบบประสาท-อาการโรคทางระบบประสาทสามารถทำให้มีโอกาสเป็นภาวะกลืนลำบากมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของอาการกลืนลำบาก

โรคปอดบวมและโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน- โดยเฉพาะโรคปอดอักเสบจากการสูดสำรอก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากมีบางสิ่งถูกกลืนลงไป “ผิดทาง” และไหลลงไปสู่ปอด

ภาวะทุพโภชนาการ malnutrition -เป็นกรณีพิเศษที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นภาวะกลืนลำบากและไม่เคยได้รับการรักษา ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากโภชนาการเพื่อสุขภาพ

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)– หากไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างพอเพียง การบริโภคของเหลวไม่ที่พอก็สามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้ 

การวินิจฉัยภาวะกลืนลำบาก

นักแก้ไขการพูดจะพยายามหาปัญหาที่ทำให้กิดขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในกระบวนการกลืนจึงเป็นสาเหตุที่ยุ่งยาก

ผู้ป่วยจะถูกซักถามอาการ, ระยะเวลาที่มีอาการ, มีปัญหาเกี่ยวกับของเหลวหรือของแข็ง หรืออาจเกิดขึ้นทั้งคู่

ศึกษาเกี่ยวกับการกลืน- มักจะมีนักบำบัดการพูดเข้ามาจัดการ นักบำบัดจะตรวจสอบอาหารและของเหลวที่แตกต่างกันเพื่อมองหาว่าตัวไหนคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก นักบำบัดอาจมีการถ่ายวีดีโอการตรวจสอบการกลืนเพื่อหาตำแหน่งที่ทำให้เกิดปัญหาไป

การตรวจสอบด้วยวิธีการกลืนแบเรียม-ผู้ป่วยจะกลืนของเหลวแบเรียมลงไป แบเรียมจะไปปรากฎให้เห็นในการเอ็กซเรย์ ซึ่งจะช่วยให้แพทย๋สามารถระบุได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในหลอดอาหารอย่างละเอียด, โดยเฉพาะการทำงานของกล้ามเนื้อ

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร- แพทย์จะใช้กล้องเพื่อเข้าไปดูข้างในหลอดอาหาร แพทย์จะนำเอาชิ้นเนื้ออกมาส่งตรวจหากพบว่ามีบางสิ่งที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็ง

การตรวจการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร -ใช้หลักการการศึกษาของการวัดความดันที่เปลี่ยนไปเมื่อกล้ามเนื้อในหลอดอาหารกำลังทำงาน การตรวจนี้มักจะถูกนำมาใช้เมื่อตรวจด้วยการส่องกล้องกระเพาะอาหารแล้วไม่พบเจออะไร

การรักษาภาวะกลืนลำบาก

การรักษาขึ้นอยู่กับรูปแบบของภาวะการกลืนลำบาก:

การรักษาสำหรับภาวะกลืนลำบากบริเวณคอหอยส่วนบน

เพราะว่าภาวะกลืนลำบากบริเวณคอหอยส่วนบนมักพบปัญหาบ่อยมากเกี่ยวกับระบบประสาทที่ ทำให้การรักษาเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ผู้ป่วยที่ป่วยร่วมกับโรคพาร์กินสันมักจะตอบสนองต่อยารักษาโรคพาร์กินสันได้ดี

การบำบัดการกลืน-การบำบัดนี้จะดูแลโดยนักบำบัดการพูด ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการสอนการกลืนได้เป็นอย่างดี การออกกำลังจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อดีขึ้นและรู้วิธีการตอบสนอง

โภชนาการ- อาหารและของเหลวบางชนิดหรือสองอย่างรวมกันมีความง่ายต่อการกลืน ทำให้การกลืนอาหารง่ายมากขึ้น เพราะสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยคือการมีโภชนาการที่สมดุลย์ 

การกินอาหารผ่านทางสายยาง-หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคปอดบวมภาวะทุพโภชนาการ หรือภาวะขาดน้ำอาจมีความจำเป็นต้องให้อาหารผ่านทางสายยาง(nasogastric tube) หรือ PEG การใส่สายอาหารทางหน้าท้อง การใส่ท่อด้วยวิธีนี้เป็นการเจาะตรงสู่กระเพาะอาหารและส่งผ่านรอยผ่าเล็กๆที่บริเวณหน้าท้อง

การรักษาภาวะกลืนลำบากบริเวณหลอดอาหาร

ภาวะกลืนลำบากที่เกิดบริเวณนี้มักจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด

การขยาย- หากพบว่าหลอดอาหารมีความจำเป็นต้องได้รับการขยายเปิดกว้าง (เนื่องจากการตีบตัน ยกตัวอย่าง) ด้วยบอลลูนขนาดเล็กสอดเข้าไปข้างในและจากนั้นก็ทำให้ขยายตัวขึ้น (จากนั้นก็นำออก)

โบทูลินั่ม ท็อกซิน หรือรู้จักในชื่อ โบท็อกซ์ ซึ่งมักนำมาใช้หากพบว่ากล้ามเนื้อในหลอดอาหารเริ่มมีแข็ง (โรคอะคาเลเซีย)

หากภาวะกลืนลำบากเกิดขึ้นเพราะโรคมะเร็ง ผู้ป่วยอาจจะต้องถูกส่งต่อไปยังนักวิทยาเนื้องอกเพื่อทำการรักษาและอาจมีความจำเป็นต้องมีการผ่าตัดนำเนื้องอกออกไป

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *